ติดต่อเรา
 



การฝึกอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎีเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับพยาบาลวิชาชีพ
20 – 24 สิงหาคม พ.ศ. 2561
ณ ห้องประชุม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

รหัสหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง: 1002-2-000-042-08-2561 จำนวน 0.0 หน่วยกิต
 
 
   
โรคหัวใจและหลอดเลือดนับเป็นปัญหาสาธารณสุขที่มีความรุนแรงในอันดับต้นๆ ของประเทศ และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตและค่ารักษาพยาบาลเป็นจำนวนมาก และการเข้าสู่สังคมสูงอายุของประเทศไทยอย่างรวดเร็วจะส่งผลให้ปัญหาดังกล่าวทวีความรุนแรงขึ้นอย่างรวดเร็ว ด้วยจำนวนผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือดที่มากขึ้น โรคที่เป็นผลลัพธ์สุดท้ายของโรคหัวใจหลายประเภท ได้แก่ โรคหัวใจล้มเหลวก็จะเพิ่มขึ้นด้วยอัตราเร็วที่สูงมาก รายงานจำนวนผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลของรัฐในประเทศไทย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาพบว่า ผู้ป่วยต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรคพยาบาลด้วยภาวะหัวใจล้มเหลวมีจำนวนมากขึ้นอย่างต่อเนื่องและมีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยภาวะดังกล่าวเพิ่มขึ้นอีกด้วย จากงานวิจัย Thai Acute Decompensated Heart Failure Registry (Thai ADHERE Study) พบว่า การรักษาผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวยังต้องการการพัฒนา โดยเฉพาะในส่วนของการใช้ยาได้ตามมาตรฐานการรักษาที่เหมาะสม
เนื่องจากผู้ป่วยภาวะหัวใจล้มเหลวเป็นโรคที่ซับซ้อน การดูแลตัวเองที่ดีของผู้ป่วยเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เพื่อช่วยลดการกำเริบของอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ พยาบาลเป็นบุคลากรทางสาธารณสุขที่มีความใกล้ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด และมีบทบาทสำคัญในการร่วมดูแลผู้ที่มีภาวะหัวใจวายทั้งในระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลและการรักษาในระยะยาว โดยบทบาทที่สำคัญได้แก่ การส่งเสริมความสามารถในการดูแลตนเองของผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย ผ่านการให้ความรู้ การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลตนเองทั่วไปและการปฏิบัติตัวที่เหมาะสม การรับรู้และการจัดการอาการผิดปกติที่เกิดขึ้น การรับประทานยาตามแผนการรักษาและการติดตามแผนการรักษาอย่างสม่ำเสมอ การรับประทานอาหารและน้ำที่เหมาะสม การรักษาสมดุลของการทำกิจกรรมและการพักผ่อน การดูแลตนเองด้านจิตสังคม และรวมถึงการเป็นผู้ประสานความร่วมมือระหว่างบุคลากรทีมสุขภาพกับผู้ที่มีภาวะหัวใจวาย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายในการลดอัตราการเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลซ้ำ และทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
รูปแบบการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวแบบสหสาขาวิชาชีพ (multidisciplinary team) ผ่านการจัดตั้งคลินิกหัวใจล้มเหลว (heart failure clinic) ได้รับการพิสูจน์ในงานวิจัยจำนวนมากว่า เป็นรูปแบบการดูแลผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพในการเพิ่มคุณภาพการรักษาให้ได้ตามมาตรฐาน เพิ่มความร่วมมือในการใช้ยาของผู้ป่วย ช่วยลดอัตราการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวกำเริบ เพิ่มคุณภาพชีวิตผู้ป่วยและลดอัตราการเสียชีวิต สำหรับประเทศไทยโรงพยาบาลหลายแห่งเช่น โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลระยอง สถาบันโรคทรวงอก และโรงพยาบาลในสังกัดคณะแพทยศาสตร์หลายแห่ง ได้ดำเนินการจัดตั้งคลินิกหัวใจล้มเหลวมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง โดยผลงานวิจัยจากคลินิกเหล่านี้บางแห่ง แสดงให้เห็นว่า การดูแลผู้ป่วยในรูปแบบนี้ให้ผลเพิ่มคุณภาพการบริการและส่งผลดีต่อผู้ป่วยอย่างชัดเจน
ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เกิดการขยายตัวของคลินิกหัวใจล้มเหลวตามแผนพัฒนาระบบบริการสุขภาพ 2560 – 2565 ของกระทรวงสาธารณสุข จึงมีความจำเป็นเร่งด่วนที่จะต้องอบรมพยาบาลเพื่อเสริมความรู้ในการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว เพื่อให้พยาบาลเหล่านี้สามารถกลับไปทำงานเป็นส่วนหนึ่งของคลินิกหัวใจล้มเหลวในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขตามแผนดังกล่าว
ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงจัดหลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นภาคทฤษฎีเชิงปฏิบัติการขึ้นเพื่อตอบรับกับความต้องการของกระทรวงสาธารณสุขที่ต้องการสร้างคลินิกหัวใจล้มเหลว โดยการอบรมพยาบาลเสริมทักษะการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว เพื่อให้พยาบาลเหล่านี้สามารถทำงานร่วมกับแพทย์ เภสัชกรและบุคลากรสาธารณสุขอื่นๆ ในการจัดตั้งและดำเนินการคลินิกหัวใจล้มเหลวเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยไทยต่อไป

กลุ่มเป้าหมาย:

พยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จากโรคพยาบาลศูนย์และโรงพยาบาลทั่วไประดับจังหวัด /บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข

ข้อมูลการติดต่อสื่อสาร:

E-mail:ratree.pap@mahidol.ac.th; mupyserviceplan2018@gmail.com; supattra.kon@mahidol.ac.th; anuwat_asut@hotmail.co.th  โทรศัพท์ :- ภาควิชาเภสัชกรรม : คุณพิณพิศ แสงเภา หรือ คุณพูนทรัพย์ มี้เจริญ โทรศัพท์/โทรสาร 02-644-8694

ค่าลงทะเบียน:

ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561 7,500.00 THB
   

ข้อมูลการโอนเงินค่าลงทะเบียน :


ค่าลงทะเบียน - สมัครและโอนเงินค่าลงทะเบียน 7,500 บาท (รวมค่าเอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่าง) - กรุณาสมัคร และโอนเงินภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561 การสมัครและชำระเงินค่าลงทะเบียน สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-465768-1 ชื่อบัญชี ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับพยาบาล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan หรือ fax ใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) ทางโทรสารหมายเลข 0-2644-4536 (ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ)

ดาวน์โหลดเอกสาร :

- กำหนดการการฝึกอบรมระยะสั้น HF_พยาบาล_12062018 หากเปิดไฟล์นี้ไม่ได้คลิกที่นี่ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 20/6/2561 14:33น.
- ขอประชาสัมพันธ์และเชิญชวนร่วมการฝึกอบรมระยะสั้น เรื่อง การดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับพยาบาลวิชา หากเปิดไฟล์นี้ไม่ได้คลิกที่นี่ ปรับปรุงล่าสุดเมื่อวันที่ 20/6/2561 14:33น.
   


 
https://tinyurl.com/yd7s983s



 



ท่านที่สมัครผ่านทางโทรสาร หรือทางไปรษณีย์ ชื่อของท่านจะปรากฏบนเว็บไซต์ภายใน 3 วันทำการ
หากชื่อท่านไม่ขึ้นในเวลาดังกล่าวโปรดติดต่อเจ้าหน้าที่




รายชื่อผู้ที่ลงทะเบียนเสร็จสมบูรณ์
 
โปรดตรวจสอบชื่อ-นามสกุลของท่านให้ถูกต้อง ระบบจะใช้ชื่อที่ปรากฎนี้จัดทำประกาศนียบัตร/วุฒิบัตร(ถ้ามี) หากผิดพลาดโปรดแจ้ง supattra.kon@mahidol.ac.th เพื่อแก้ไข

และ หากท่านประสงค์นำรถเข้ามาจอด โปรด Download และ Print บัตรจอดรถ โดยคลิกที่ปุ่ม "บัตรจอดรถ" หลังชื่อของท่าน

บริการที่จอดรถเป็นสิทธิ์พิเศษสำหรับผู้ลงทะเบียนผ่านระบบ Online เท่านั้นโดยทางคณะจะจัดเตรียมที่จอดรถไว้ให้

สำหรับผู้ลงทะเบียนช่องทางอื่น ท่านสามารถนำรถเข้ามาจอดในคณะได้ โดยทำการแลกบัตรกับ รปภ.
ทั้งนี้ที่จอดรถอาจไม่เพียงพอสำหรับท่าน โปรดเดินทางด้วยระบบขนส่งสาธารณะ

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง บัตรจอดรถ  
1 C133-0001 นางสาว ทิพวรรณ วิภา******** ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561 online
2 C133-0002 คุณ วันวิสา สายแ***** ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561 mail




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ส่งหลักฐานการโอนเงินแล้ว(รอตรวจสอบ)

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน ช่องทาง ต้องชำระ  




รายชื่อผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ส่งหลักฐานการชำระฯ หรือ ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน

  รหัสลงทะเบียน ชื่อ-นามสกุล ประเภทลงทะเบียน  
1 C133-0003 Cash Loan Cash Loan Cash****** (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB
2 C133-0004 Online Payday Loan Online Payday Loan Onli*************** (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB
3 C133-0005 Easy Payday Loan Easy Payday Loan Easy************* (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB
4 C133-0006 Cash Advance Cash Advance Cash********* (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB
5 C133-0007 A Payday Loan A Payday Loan A Pa********** (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB
6 C133-0008 Online Loans Online Loans Onli********* (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB
7 C133-0009 Best Payday Loan Best Payday Loan Best************* (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB
8 C133-0010 Get A Loan Get A Loan Get ******* (online) ค่าลงทะเบียนภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ.2561
7500.0 THB



วิธีชำระค่าลงทะเบียน (ชำระตามยอดที่ท่านได้ลงทะเบียนไว้)

ค่าลงทะเบียน
- สมัครและโอนเงินค่าลงทะเบียน 7,500 บาท (รวมค่าเอกสาร อาหารกลางวัน และอาหารว่าง)
- กรุณาสมัคร และโอนเงินภายในวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2561
การสมัครและชำระเงินค่าลงทะเบียน
สมัครพร้อมชำระเงินโดยโอนเงินเข้าบัญชีธนาคารไทยพาณิชย์ สาขารามาธิบดี บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เลขที่บัญชี 026-465768-1 ชื่อบัญชี ระบบการดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลวสำหรับพยาบาล โปรดกรอกใบสมัคร online ทาง www.pharmacy.mahidol.ac.th/conference พร้อม scan หรือ fax ใบโอนเงินชำระค่าลงทะเบียน (ใบ pay in) ทางโทรสารหมายเลข 0-2644-4536 (ในวันประชุมโปรดนำใบนำฝากธนาคารตัวจริงมาด้วยเพื่อตรวจสอบ)
 
วิธีการส่งหลักฐานการชำระเงินค่าลงทะเบียนหลังจากที่ท่านได้ชำระผ่านเคาเตอร์ธนาคาร/ATM แล้ว

1. เขียนรหัสลงทะเบียนของท่าน เช่น C001-0399 และชื่อ-นามสกุลของผู้ลงทะเบียน เช่น นายประชุม วิชาการ ด้วยปากกาสีเข้ม ลงในใบสลิป (หากท่านชำระเป็นหมู่คณะ ให้เขียนรหัสลงทะเบียนลงใน Slip ให้ครบทุกคน) จากนั้น
2. เตรียมไฟล์ข้อมูลสำหรับส่งหลักฐานการโอนเงิน (สลิป) ผ่านระบบ Online โดยมีวีธีเตรียมไฟล์ดังนี้
 
2.1
ทำการ สแกน (Scan) ใบสลิป แล้วบันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg หรือ .pdf หรือ .tif หรือ .bmp
2.2
ทำการถ่ายรูปของใบสลิป ด้วยกล้อง Digital/มือถือ บันทึกเป็นไฟล์ชนิด .jpg สำหรับวิธีนี้ต้องถ่ายให้เห็น รายละเอียดที่สำคัญได้ชัดเจน อาทิ เลขที่บัญชีที่โอน วันเวลาที่โอน จำนวนเงินที่โอน เป็นต้น
3. ทำการส่งไฟล์หลักฐาน (Upload) เข้ามายังระบบ โดยทำได้โดย เลือกชื่อของท่าน(ด้านบนนี้) จากนั้น คลิกที่ปุ่มส่งหลักฐาน แล้วทำตามขั้นตอนตามที่ระบบแจ้งไว้ เมื่อทำการส่งไฟล์เรียบร้อยแล้ว สถานะของท่านจะเปลี่ยนเป็น รอการตรวจสอบ
4. รอการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่ โดยเข้าไปยังหน้าจอตรวจสอบรายชื่อ ของงานประชุมนี้ เมื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบแล้ว ว่าท่านจ่ายค่าธรรมเนียมจริง เจ้าหน้าที่จะเปลี่ยนสถานะท่านเป็น เสร็จสมบูรณ์ซึ่งหมายถึงท่านสามารถเข้าร่วมงานนี้ได้แล้ว
   

หมายเหตุ: สำหรับผู้ลงทะเบียนที่ยังไม่ได้ชำระค่าลงทะเบียน ท่านสามารถยกเลิกการลงทะเบียนได้ทันที โดยการคลิก link ภายใน E-mail ที่ทางเราส่งให้
(หากไม่พบ E-Mail ดังกล่าวใน Inbox โปรดตรวจสอบใน Folder junk หรือ spam ด้วย)


**



ฟ้ารั่ว ฝนปรอย กับโรคเมลิออยโดสิส
ผู้ช่วยอาจารย์ เภสัชกร ธีรวิชญ์ อัชฌาศัย ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะเ...
ยาที่ผู้หญิงพึงระวัง
เภสัชกร สุรศักดิ์ วิชัยโย ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทย...
การพัฒนาอนุภาคนาโนและระบบนำส่ง ตอนที่ 2
ศ.ดร.อำพล ไมตรีเวช, ศ.ดร.ณรงค์ สาริสุต, ภญ.ดวงมณี มณีโรจน์ภักดี, ภญ.วสุ วิ...
Drugs that should be avoided in patients with dementia
Associate Professor Chuthamanee C Suthisisang BPharm, PhD Department of Pharmacology, Faculty of Pharmacy, Mahidol University. Title image from : http://images.indianexpress.c...



ระบบ MUPY E-Registration Service พัฒนาโดย: งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2554