หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากได้ข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับ aspent M grl

ถามโดย mahmnung เผยแพร่ตั้งแต่ 09/11/2010-14:02:53 -- 42,907 views
 

คำตอบ

Aspent – M คือ ชื่อการค้าของยา aspirin หรือ acetylsalicylic acid โดยมีรูปแบบเป็นยาเม็ดชนิดแตกตัวในลำไส้ เนื่องจากยานี้มีหลายขนาดยา ข้อบ่งใช้จึงอาจแตกต่างกันออกไป กล่าวคือ ในขนาดยา 300 มิลลิกรัมสามารถใช้สำหรับบรรเทาอาการเจ็บปวด บวมจากภาวะอักเสบของข้อ เช่น ไขข้อกระดูกอักเสบ (osteoarthritis) ไขข้ออักเสบรูมาตอยด์ (rheumatoid arthritis) และ ไขข้อกระดูกสันหลังอักเสบ (ankylosing spondylitis) หรือใช้เพื่อบรรเทาอาการปวดจากสาเหตุอื่น ได้แก่ ปวดประจำเดือน ปวดฟัน ปวดกล้ามเนื้อ ใช้ลดไข้ตัวร้อนที่ไม่ได้มีสาเหตุจากไข้เลือดออก อีสุกอีใส หรือไข้หวัดใหญ่ โดยขนาดใช้ยาในผู้ใหญ่เมื่อมีอาการดังกล่าว คือ รับประทานครั้งละ 325 – 650 มิลลิกรัม ทุก 4 – 6 ชั่วโมง นอกจากนั้นในโรคหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลันสามารถใช้ aspirin ในขนาดยาที่สูงได้เช่นกัน คือ ขนาดยา 150-325 มิลลิกรัม เป็นต้น สำหรับขนาดยาต่ำ ( 60 และ 81 มิลลิกรัม) และใช้ระยะยาวพบว่า aspirin มีผลยับยั้งการสร้างทรอมโบเซน A2 (thromboxane A2) ในเกล็ดเลือด (platelet) ซึ่งทำให้เกิดการยับยั้งการรวมกันของเกล็ดเลือด (platelet aggregation) เป็นผลทำให้เลือดไม่แข็งตัว จึงสามารถใช้ในข้อบ่งใช้ในการรักษาโรคหรือป้องกันหลอดเลือดอุดตันได้นั่นเอง นอกจากนี้การใช้ยาในขนาดต่ำในเด็กอายุ 18 ปี อาจทำให้เกิด Reye’s syndrome ได้จึงมีการประกาศให้ aspirin ในขนาดยาต่ำเป็นยาควบคุมพิเศษเพื่อป้องกันไม่ให้พ่อแม่ใช้เพื่อการลดไข้ในเด็กนั่นเอง ผลข้างเคียงส่วนใหญ่ที่และพบบ่อย คือ การระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดโรคกระเพาะอาหารเป็นแผล กระเพาะอาหารอักเสบ ถ้ารุนแรงอาจทำให้กระเพาะอาหารทะลุ อาเจียนเป็นเลือด ถ่ายดำ จึงแนะนำให้รับประทานยาพร้อมหรือหลังอาหารทันที ควรดื่มน้ำตามมาก ๆ และหลีกเลี่ยงการใช้ในผู้ป่วยที่มีประวัติโรคกระเพาะมาก่อน

Reference:
Aspirin. In: DRUGDEX® Evaluations. [Online]. 2010 Nov 11. Available from: MICROMEDEX® Healthcare Series; 2010. [cited 2010 Nov 17].

Keywords:
-





หัวใจและหลอดเลือด

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้