หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อยากทราบกลไก enzyme indution ระหว่าง Phenobarbital และ pentobarbital ค่ะ และถามกลไก enzyme inhibition ระหว่าง pentobarbital กับ Chloramphenicol ค่ะ

ถามโดย mool เผยแพร่ตั้งแต่ 01/07/2013-10:06:43 -- 9,704 views
 

คำตอบ

Enzyme inhibition และ enzyme induction คือกลไกการเกิดปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาซึ่งเกิดขึ้นจากยาตัวหนึ่งไปมีผลทำให้เอนไซม์ที่ทำหน้าที่เมตาบอลิซึมยาอีกตัวหนึ่งทำหน้าที่ได้ลดลง (enzyme inhibition) หรือทำหน้าที่ได้มากขึ้น (enzyme induction) สำหรับ pentobarbital และ phenobarbital เป็นยากลุ่ม barbiturates ทั้งคู่ ซึ่งการใช้ยาทั้งสองชนิดร่วมกันนอกจากจะทำให้เพิ่มฤทธิ์กดการหายใจ (additive respiratory depressant effect) และกดระบบประสาท (additive CNS depressant effect) แล้ว การได้รับยา phenobarbital ต่อเนื่อง จะทำให้ enzyme ที่ใช้ในการทำให้ pentobarbital หมดฤทธิ์ลงมีมากขึ้น ฤทธิ์ของ pentobarbital จะลดลง เรียกว่าเกิด enzyme induction (1) ส่วน chloramphenicol เป็นยาที่มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของ enzyme ที่ใช้ในการทำให้ pentobarbital หมดฤทธิ์ ดังนั้นถ้าใช้ร่วมกันจะมีโอกาสทำให้ฤทธิ์ของ pentobarbital มีมากขึ้น เกิดพิษจาก pentobarbital ได้ง่าย เรียกว่าเกิด enzyme inhibition (2-4) Key words: phenobarbital, pentobarbital, chloramphenicol, drug interaction, ปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยา

Reference:
1. MICROMEDEX 2.0® [Database on the internet]: Truven health analytics; 2013. mobileMicromedex® , Pentobarbitol ; [cited 2013 July 3]. Available from: http://www.micromedexsolutions.com
2. Tatro DS. Drug Interaction Facts. California: Wolters Kluwer Health; 2009.
3. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP and Lance LL. Drug Information Handbook International with Canadian and International Drug Monographs. 13th.Ohio: Lexi-Comp’s; 2006.
4. Park JY, Kim KA, Kim SL. Chloramphenicol Is a Potent Inhibitor of Cytochrome P450 Isoforms CYP2C19 and CYP3A4 in Humam Liver Microsomes. Antimicrob Agents Chemother 2003: 47(11); 3464-9.

Keywords:
-





ระบบประสาท

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้