หน่วยคลังข้อมูลยา
คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

สวัสดีครับ หมอวินิจฉัยว่าเป็นหัวใจเต้นผิดจังหวะประเภทเต้นพริ้ว หมอ รพ. เอกชนจ่ายยาเสียตังค์ หมอให้กินยา (1) Cordarone 200 mg ทาน 1 เม็ดหลังอาหารเช้าเย็น (2) Concor 2.5 Mg ทาน 1 เม็ด หลังอาหารเช้า (ตอนเกิดอาการต้องรีบหา รพ ใกล้ที่สุด จึงได้เข้าเอกชน ราคายาค่อนข้างแพง) ต่อมาจึงเข้าปรึกษา รพ. ตามสิทธิประกันสังคมเพื่อทำการรักษาด้วยการจี้ไฟฟ้า หมอเปลี่ยนยาให้เป็นยาในบัญชี ปกสค เป็น (1) Tambocor 100 mg ทาน 1 เม็ด หลังอาหารเช้าเย็น 2) Metoprolol 100mg ทานครึ่งเม็ด หลังอาหารเช้าเย็น และ (3) Warfarin 3 mg ทาน 1 เม็ด ก่อนนอน จึงอยากเรียนถามว่ายา 3 ตัวหลังที่ได้มากจาก ปกสค สามารถใช้แทน 2 ตัวแรกที่มาจาก รพ เอกชนที่เสียตังค์เองได้ไหมครับ เหตุผลที่กังวัล เนื่องจาก search หาใน google พบว่ายาที่เสียตังค์กับยาตามสิทธิ ปกสค บอกสรรพคุณไม่เหมือนกัน จึงเครียดว่าอาการหัวใจเต้นเร็วจะกลับมาอีก มิได้มีเจตนาด้อยค่ายามตามสิทธิประกันสังค์แต่อย่างใด จึงเรียนถามมาเพื่อให้หายกังวล เนื่องจากต้องทานยาตัวใหม่ของ ปกสค เพื่อทำการเตรียมตัวจี้ไฟฟ้าครับ ขอบพระคุณครับ

ถามโดย กัน เผยแพร่ตั้งแต่ 17/02/2023-13:05:39 -- 6,051 views
 

คำตอบ

การรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้ว ตามหลักการแล้ว ยาที่ใช้รักษาจะประกอบไปด้วยยาที่ควบคุมอัตราการเต้นหรือจังหวะการเต้นของหัวใจ รวมไปถึงยาที่ป้องกันการเกิดลิ่มเลือดอุดตัน จากแนวทางเวชปฏิบัติการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้วพบว่า amiodarone และ bisoprolol (Concor®) ที่ได้มาจากโรงพยาบาลเอกชน รวมไปถึง flecainide (Tambocor®) และ metoprolol ที่ได้มาจากโรงพยาบาลรัฐบาล นั้นมีข้อบ่งใช้ในการรักษาภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้วทุกตัว[1-2] และมีหลักฐานทางวิชาการสนับสนุนประโยชน์ในการป้องกันการกลับเป็นซ้ำของภาวะหัวใจห้องบนสั่นพริ้วของยาดังกล่าวได้[3] สำหรับ warfarin มีข้อบ่งใช้เพื่อป้องกันลิ่มเลือดอุดตัน ซึ่งการเลือกใช้ยาของแพทย์ในแต่ละครั้งแพทย์จะพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายจากสภาพของโรค โรคประจำตัว ปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดอาการข้างเคียง อย่างไรก็ตามหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับตัวโรคและยาที่ได้รับ สามารถสอบถามแพทย์เจ้าของโรคเพื่อให้อธิบายเหตุผลของการเลือกใช้ยาได้ตามสิทธิของผู้ป่วย

Reference:
1. Hindricks G, Potpara T, Dagres N, Arbelo E, Bax JJ, Blomström-Lundqvist C, Boriani G, Castella M, Dan GA, Dilaveris PE, Fauchier L. 2020 ESC Guidelines for the diagnosis and management of atrial fibrillation developed in collaboration with the European Association for Cardio-Thoracic Surgery (EACTS) The Task Force for the diagnosis and management of atrial fibrillation of the European Society of Cardiology (ESC) Developed with the special contribution of the European Heart Rhythm Association (EHRA) of the ESC. European heart journal. 2021 Feb 1;42(5):373-498.
2. สุรพันธ์ สิทธิสุข. แนวทางเวชปฏิบัติสำหรับดูแลผู้ป่วยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะชนิด Atrial fibrillation ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์, 2555. 1-87 หน้า
3. Lavalle C, Magnocavallo M, Straito M, Santini L, Forleo GB, Grimaldi M, Badagliacca R, Lanata L, Ricci RP. Flecainide How and When: A Practical Guide in Supraventricular Arrhythmias. J Clin Med. 2021 Apr 2;10(7):1456.

Keywords:
amiodarone, bisoprolol, Concor, flecainide, Tambocor, metoprolol, warfarin





หัวใจและหลอดเลือด

ดูคำถามทั้งหมด
 
ข่าวยาประจำสัปดาห์ล่าสุด


หน่วยคลังข้อมูลยา

447 ถ.ศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
 
ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
Copyright © 2013-2020
 
เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้