• ช่วยเหลือ |
  • หน้าแรก |
  • งานวิจัย |
  • งานสมุนไพร |
  • งานตำรับยา        
  •  
     
     

      


    ได้รับทุนอุดหนุนการวิจัย
    ประเภทแผนงานหรือชุดโครงการ แผนงานวิจัยการอนุรักษ์พันธุกรรมและพัฒนาพืชสมุนไพรเพื่อใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน
    (Research program on the Conservation and the Development of Medicinal Plants for Human Resources)
    pyrtk@mahidol.ac.th
    Last update 11/03/2010 11:35:00  




    หนุมานประสานกาย
    บทนำ

               ประกอบด้วยข้อมูล ทั้งหมด 3 ด้าน ได้แก่ ข้อมูลงานวิจัย ข้อมูลสมุนไพรแต่ละชนิด ข้อมูลตำรับยา ข้อมูลงานวิจัยรวบรวมงานวิจัยสมุนไพรไทยจากวารสารในประเทศ ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ ปริญญาโท เอก สำหรับวารสารต่างประเทศเก็บเฉพาะ งานที่ทำวิจัยสมุนไพรจากประเทศไทยเท่านั้น
                การค้นข้อมูลของงานวิจัย ค้นได้จากชื่องานวิจัย ภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ ชื่อผู้นิพนธ์ และปีที่ตีพิมพ์งานวิจัย ส่วนรายละเอียดสมุนไพรสามารถค้นจากชื่อภาษาไทย โดยพิมพ์ส่วนใดส่วนหนึ่งเท่านั้น สำหรับงานตำรับยา ค้นจากชื่อตำรับ สรรพคุณแผนไทย และ หนังสืออ้างอิง ทุกข้อมูลสามารถเชื่อมโยงถึงกันได้ เช่นตำรับยาที่ได้ เชื่อมโยงถึงข้อมูลของสมุนไพรแต่ละชนิดที่เป็นส่วนประกอบในตำรับ ส่วนงานวิจัยสามารถเชื่อมโยงข้อมูลกับสมุนไพรที่นำมาวิจัย ในทางกลับกันการค้นข้อมูลสมุนไพรก็สามารถเชื่อมโยงงานวิจัยของสมุนไพรแต่ละตัวได้ สรุปได้ดังนี้

                ข้อมูลการวิจัยสมุนไพร รวบรวมจากวารสารการวิจัยในประเทศ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2525-2545 มี รายงานการวิจัยจากวารสาร 83 วารสาร ปริญญานิพนธ์ วิทยานิพนธ์ปริญญาโท และเอก จากมหาวิทยาลัย 9 มหาวิทยาลัย รวมทั้งหมด 2,553 เรื่อง
                ข้อมูลสมุนไพรเดี่ยว ประกอบด้วยสมุนไพรประมาณ 1,459 ชนิด แต่ละชนิดประกอบด้วยรายละเอียดดังนี้ ชื่อวิทยาศาสตร์ และวงศ์ ลักษณะพืช ข้อมูลการใช้ จาก ตำรายาไทย และ ตำรายาพื้นบ้าน รูปเฉพาะส่วนใบ ดอก ผล ทั้งต้น ส่วนที่ใช้ และอื่นๆ ประกอบด้วยสมุนไพรทั้งหมด 1,556 ชนิด
                ข้อมูลตำรับยา ประกอบด้วย สรรพคุณของตำรับ และส่วนประกอบ ขนาดที่ใช้ ข้อควรระวังและอื่นๆ 267 ตำรับ จากตำรายา 5 เล่ม ได้แก่
                    ตำรายาพระโอสถพระนารายณ์
                    ตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีประกาศ
                    คัมภีร์มหาโชติรัตน์ เล่ม 1-3

                วัตถุประสงค์ของการวิจัย
           1. เพื่อรวบรวมข้อมูลทางพฤกษศาสตร์ ข้อมูลสรรพคุณเฉพาะตัวในตำรายาแผนโบราณ เกี่ยวกับสมุนไพรที่พบในประเทศไทย รวมถึงข้อมูลการวิจัยที่รายงานในวารสารและงานวิจัยที่ได้รับทุนจากแหล่งเงินทุนต่างๆ
           2. เพื่อรวบรวมตำรับยาจากหนังสือ สมุดข่อย ปรือ ใบลาน หรือจากการจดบันทึก
           3. เพื่อจัดสร้างฐานข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ ข้อมูลถูกต้อง รวดเร็ว บริการแก่ผู้สนใจชาวไทย
           4. เพื่อสนับสนุนการวิจัยของนักวิจัยชาวไทย ทำให้สามารถค้นคว้าข้อมูลสมุนไพรที่เคยมีการใช้ในโรคต่าง ๆ ได้ถูกต้องรวดเร็ว และประหยัดเวลา

                ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
           1. ประชาชนได้รับข้อมูลที่ถูกต้องตรงกันในเรื่องชื่อและชนิดสมุนไพร
           2. ผู้ผลิตสามารถใช้ชื่อและชนิดสมุนไพรที่ถูกต้อง กำหนดมาตรฐานที่ตรงกันกับเกษตรกร
           3. นักวิจัยประหยัดเวลาในการคัดเลือกชนิดพืชมาทำวิจัย และสามารถค้นข้อมูลวิจัยของต่างประเทศได้ถูกต้อง
           4. การพัฒนาสมุนไพรเป็นไปอย่างรวดเร็ว และถูกต้องยิ่งขึ้น

                หน่วยงานที่รับผิดชอบงานวิจัยและที่อยู่
       สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
       ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

                คณะนักวิจัย
       รองศาสตราจารย์รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โทรศัพท์ 02-6448677-91 ต่อ 5545
       รองศาสตราจารย์ยุวดี วงษ์กระจ่าง ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       ศาสตราจารย์ ดร.วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
       รองศาสตราจารย์ ดร. สมภพ ประธานธุรารักษ์ ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


     
     
     
    จำนวนผู้เข้าชม  3088  คน สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ