เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 10


รองศาสตราจารย์ ดร. สมบูรณ์ เจตลีลา ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 13,957 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 04/09/2556
อ่านล่าสุด 4 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/yd8qns6o
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/yd8qns6o
 
ซองบรรจุภัณฑ์จากการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึก
ซองบรรจุภัณฑ์มีหลักการบ่งชี้ร่องรอยการแกะที่ดีและสามารถปกป้องผลิตภัณฑ์จากสิ่งแวดล้อมได้ดี ในสายการผลิตนั้นจะใช้เครื่องขึ้นรูปซอง บรรจุผลิตภัณฑ์ และปิดผนึก (f/f/s, forming, filling and sealing equipments) ทั้งในแนวตั้งหรือแนวนอนซึ่งมีหลักการทำงานแตกต่างกัน
สำหรับการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึกในแนวตั้ง ดังแสดงในรูปที่ 1 แผ่นฟิล์มจะเข้าไปอยู่เหนือปลอกขึ้นรูปทรงกระบอก (tube forming collar) และรอบๆ กระบอกบรรจุในแนวตั้ง ซึ่งผลิตภัณฑ์จะถูกหยอดลงในซองขึ้นรูป กระบอกบรรจุทำหน้าเป็นด้ามจับที่ควบคุมการเกิดซอง และเป็นที่พักพิงขณะทำการปิดผนึกตามแนวยาว ซึ่งอาจเป็นการปิดผนึกแบบครีบหรือทับซ้อน ทำให้เกิดฟิล์มรูปทรงกระบอกอย่างต่อเนื่อง ที่ด้านล่างกระบอกบรรจุดังกล่าวมีตัวปิดผนึกเคลื่อนที่เข้าออก (reciprocating sealer) จะทำการปิดผนึกตรงก้นซองที่บรรจุผลิตภัณฑ์ และส่งไปให้ใบมีดตัดตรงก้นออก ซึ่งจะเป็นส่วนปากที่ปิดผนึกของซองก่อนหน้านี้ การบรรจุใช้แรงโน้มถ่วง จึงมีประโยชน์ในการบรรจุผงยา แกรนูล ยาเม็ด และของเหลวที่มีคุณสมบัติไหลดี1

สำหรับการขึ้นรูป บรรจุ และปิดผนึกในแนวนอน ดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งจะใช้บรรจุได้ในปริมาณน้อยกว่าระบบแรก เนื่องจากการขึ้นรูปเป็นซองที่ค่อนข้างแบน ในระบบนี้แผ่นฟิล์มจะถูกทบตรงกลางระหว่างตัวปิดผนึกตามแนวตั้งที่เคลื่อนที่เข้าออก 2 ตัว ให้เป็นซองที่ถูกปิดผนึกด้านข้าง ต่อมาบรรจุผลิตภัณฑ์บนปากซอง และปิดผนึกด้านบนของซองต่อไปด้วยตัวปิดผนึกตัวบน และส่งไปตัดตรงระหว่างด้านข้างของซอง1
การจะได้ผลิตภัณฑ์มีคุณสมบัติต้านการแกะสูงขึ้น จะต้องให้มีการปิดผนึกของพื้นผิวภายในติดต่อกัน โดยใช้วัสดุที่มีขีดการปิดผนึกที่ดี ได้แก่ PE, PVA (พอลิไวนิลอะซีเตต) PVDF (พอลิไวนิลลิดีนฟลูออไรด์, Surlyn®) สามารถฉีกขาดได้เมื่อต้องการเข้าถึงผลิตภัณฑ์ ผิวของชั้นนอกจะต้องมีคุณสมบัติถูกพิมพ์ได้ดีและทนความร้อน เพราะจะต้องสัมผัสกับแท่งปิดผนึกที่ร้อน นอกจากนี้ชั้นนอกสุดจะต้องแข็งแรงเข้ากับเครื่องจักรได้ดี และขนย้ายได้ง่าย อาจใช้วัสดุอื่น ได้แก่ พอลิเอสเทอร์ และเซลโลเฟน ซึ่งมีข้อดีที่ใส ผิวมัน และต้านการเจาะ (puncture resistance)1

ผลิตภัณฑ์ที่ไวต่อความชื้นและออกซิเจนควรใช้ฟอยล์อะลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของลามิเนต ได้แก่ PE/ฟอยล์/PE หรือ พอลิเอสเทอร์/PE/ฟอยล์/PE เป็นต้น1

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Croce CP, Fischer A, Thomas RH. Packaging materials science. In: Lachman L, Lieberman HA, Kanig JL. The theory and practice of industrial pharmacy. 3rd ed. Philadelphia: Lea & Febiger, 1986: 711-732.

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


“ยา” กับอันตรายต่อไต 14 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้