เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองสำหรับสตรีวัยทอง (menopause)


รองศาสตราจารย์ วิมล ศรีศุข ภาควิชาอาหารเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 72,787 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 02/02/2553
อ่านล่าสุด 8 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/yagbrjqj
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/yagbrjqj
 

สำหรับสตรีวัยทอง คือ ผู้หญิงในช่วงหมดประจำเดือน มักจะสืบเสาะค้นหาผลิตภัณฑ์อาหารที่จะช่วยเสริมสุขภาพในช่วงอายุนี้ อาการที่น่ารำคาญที่สุด คือ อาการร้อนวูบวาบ ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองเป็นอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความสนใจ ถั่วเหลืองเป็นพืชที่มีประโยชน์เป็นที่ยอมรับกันมานานหลายพันปีในสมัยก่อนยุคคริสตกาล เป็นที่นิยมในหมู่ชาวจีนและญี่ปุ่น ประชากรที่รับประทานถั่วเหลืองในปริมาณสูงมักจะพบโรคหัวใจและหลอดเลือด, มะเร็งเต้านม, ภาวะกระดูกพรุน น้อยกว่าประชากรที่รับประทานถั่วเหลืองในปริมาณต่ำ นอกจากนี้ยังพบว่าการรับประทานโปรตีนจากถั่วเหลืองยังมีผลลดระดับคอเลสเตอรอลในเลือดอีกด้วย ถั่วเหลืองประกอบด้วยกลุ่มสารประกอบสำคัญที่เรียกว่า ไอโซฟลาโวน (Isoflavones) จัดเป็น ฮอร์โมนเอสโตรเจนจากพืช (Phytoestrogen) ซึ่งชนิดหลักๆ คือ ไดอาไซน์(Daizein), เจนิสสไตน์(Genistein), ไกลซิไตน์(Glycitein)



ผลิตภัณฑ์ถั่วเหลืองชนิดต่างๆมีปริมาณไอโซฟลาโวนแตกต่างกันอย่างไร

วิธีสังเกตง่ายๆ คือ ผลิตภัณฑ์อาหารจากถั่วเหลืองที่เป็นรูปแบบของแข็งมักจะมีปริมาณไอโซฟลาโวนสูงกว่า ผลิตภัณฑ์ที่เป็นของเหลว ตัวอย่างเช่น แป้งถั่วเหลืองจะมีปริมาณไอโซฟลาโวนสูงกว่าน้ำถั่วเหลือง ปริมาณไอโซฟลาโวนในผลิตภัณฑ์อาหารต่างๆจากถั่วเหลืองดังแสดงในตาราง ปริมาณไอโซฟลาโวนที่แนะนำ คือ 50-100 มิลลิกรัม/วัน หากคิดแบบคร่าวๆ เทียบเท่ากับ น้ำถั่วเหลืองประมาณวันละ 2 –4 แก้ว หรือเต้าหู้ในขนาดที่กำหนดประมาณวันละ 2 –4 ก้อน

ตาราง แสดงปริมาณถั่วเหลืองในผลิตภัณฑ์อาหารบางชนิดจากถั่วเหลือง

ผลิตภัณฑ์อาหาร

ค่าเฉลี่ยปริมาณ

ไอโซฟลาโวน (มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัมอาหาร)

ซอสปรุงรส (ซอสถั่วเหลืองที่ทำจากการย่อยสลายโปรตีนพืช)

0.10

ซีอิ๊วญี่ปุ่น (ซอสที่ทำจากถั่วเหลืองและข้าวสาลี)

1.64

น้ำถั่วเหลือง (Soy milk, fluid)

9.65

เต้าหู้ เนื้อแน่น (Tofu, firm, prepared with calcium sulfate and nigari)

24.74

เต้าหู้ เนื้ออ่อน (Tofu, soft, silken)

29.24

มิโซ (เต้าเจี้ยวญี่ปุ่นบด ใช้ใส่ในซุปญี่ปุ่น) (Miso)

42.55

ใยอาหารจากถั่วเหลือง (Soy fiber)

44.43

ถั่วเหลืองแก่จัด ต้มสุก ไม่ใส่เกลือ

54.66

โปรตีนถั่วเหลืองเข้มข้น (Soy protein isolate)

97.43

ถั่วเหลืองสีเขียว แก่จัด ดิบ

151.17

แป้งถั่วเหลือง (Soy flour, full fat, raw)

171.89

ฟองเต้าหู้ดิบ (Soy milk skin or film, raw)

193.88

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด



อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้