เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


คลอโรฟีลล์มีประโยชน์จริงหรือ?


พนิดา ใหญ่ธรรมสาร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 87,154 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 09/01/2558
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว
https://tinyurl.com/y9gaaxul
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/y9gaaxul
 

คลอโรฟีลล์เป็นสารสีเขียวที่พบได้ในพืชผักทั่วไปและในสาหร่ายสีเขียว (chlorella) สารคลอโรฟีลล์ในธรรมชาติจะอยู่ในรูปของคลอโรฟีลล์ที่ละลายในน้ำมัน ส่วนคลอโรฟีลล์ที่นำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร จะเป็นสารสังเคราะห์ที่มีชื่อว่า โซเดียมคอปเปอร์คลอโรฟีลลิน (Sodium copper chlorophyllin) ซึ่งเป็นการดัดแปลงโครงสร้างคลอโรฟีลล์ตามธรรมชาติ ทำให้ได้สารคลอโรฟีลลินที่ยังคงมีสีเขียวอยู่ แต่มีความคงตัวและสามารถละลายน้ำได้ดี สามารถนำมาผสมในอาหารและเครื่องดื่มได้
การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาพบว่า คลอโรฟีลล์ ยา และผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนผสมของคลอโรฟีลล์ มีฤทธิ์ยับยั้งเนื้องอกที่เต้านม ช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งตับ ช่วยเพิ่มจำนวนและประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว ช่วยลดกลิ่นตัว กลิ่นของอุจจาระ และกลิ่นของปัสสาวะ ช่วยให้รอยแผลบริเวณผิวหนังซึ่งเกิดจากการฉายแสงเพื่อรักษามะเร็งหายเร็วขึ้น และช่วยขับสารพิษ อย่างไรก็ตาม การได้รับคลอโรฟีลล์มากเกินไปอาจเกิดการสะสมและมีผลเสียต่อตับและไตได้
สำหรับข้อมูลด้านความปลอดภัย PDR (Physicians, Desk Reference) for Health มีข้อกำหนดดังนี้
ข้อห้ามใช้: ห้ามใช้ในผู้ที่มีอาการแพ้หรือไวต่อสิ่งกระตุ้นที่มีคลอโรฟีลล์และคลอโรฟีลลินเป็นส่วนประกอบ
ข้อควรระวัง: การรับประทานคลอโรฟีลล์และคลอโรฟีลลินเสริมนั้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้ในหญิงตั้งครรภ์และมารดาที่ให้นมบุตร
ผลข้างเคียง: การรับประทานคลอโรฟีลล์และคลอโรฟีลลินเสริม อาจทำให้ปัสสาวะและอุจจาระมีสีเขียว ลิ้นเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเกือบดำ อาจทำให้เกิดอาการท้องเสีย นอกจากนี้ยังพบรายงานการเกิดอาการแพ้สารคลอโรฟีลลิน โดยอาจพบผื่นแพ้ขึ้นตามตัว มีอาการเวียนศีรษะ เหงื่อออกมากและความดันโลหิตลดลงอย่างรวดเร็วได้
ขนาดที่ใช้: โดยทั่วไปขนาดที่นิยมใช้เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารคือ 100 มก./วัน
ในอเมริกากำหนดความปลอดภัยของสารคลอโรฟีลลินในผลิตภัณฑ์ เสริมอาหารหรือใช้เป็นสีผสมอาหารได้ไม่เกิน 300 มก./วัน สำหรับผู้ใหญ่ ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 2 ขวบขึ้นไป สามารถรับประทานคลอโรฟีลลินได้ในขนาด 90 มก./วัน
จากข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวกับคลอโรฟีลล์ และคลอโรฟีลลิน จะเห็นได้ว่าคลอโรฟีลล์มีประโยชน์พอสมควร แต่ในการบริโภคนั้นต้องคำนึงถึงปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น ความปลอดภัย ความจำเป็นที่ต้องใช้คุณภาพและราคา เป็นต้น ซึ่งหากสามารถบริโภคผักใบเขียวได้ คงไม่จำเป็นที่จะต้องบริโภคคลอโรฟีลล์ที่เป็นสารสังเคราะห์ แต่ถ้าหากมีความจำเป็นต้องใช้ ควรใช้ในขนาดที่เหมาะสม และสังเกตความผิดปกติที่อาจเกิดขึ้น เพื่อสุขภาพของตัวท่านเอง
อ่านข้อมูลเกี่ยวกับคลอโรฟีลล์เพิ่มเติมได้ใน จุลสารข้อมูลสมุนไพรฉบับปีที่ 24 ฉบับที่ 2
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Eaton DC, Pooler JP. Renal Functions, Basic Processes, and Anatomy. In: Eaton DC, Pooler JP, editors. Vander’s Renal Physiology. 8th ed. New York: McGraw-Hill [serial online]. 2013 [cited 2014 November 5]. Available from: http://accessmedicine.mhmedical.com/content.aspx?bookid=505&Sectionid=42511980.
-->

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


กว่าจะมาเป็นยา 17 วินาทีที่แล้ว
ยาดมมีอันตรายหรือไม่ 33 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้