เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เมล็ดเจีย/เมล็ดเชีย (Chia seed) ลดน้ำหนักได้ ?


พนิดา ใหญ่ธรรมสาร สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก: http://www.voicevale.com/portfolio/chia-...hispanica/
อ่านแล้ว 36,345 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 05/05/2560
อ่านล่าสุด 17 นาทีที่แล้ว
https://tinyurl.com/ycdffzk3
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/ycdffzk3
 
"Sitting Kills, Moving Heals” (นั่งมรณา เคลื่อนไหวรักษา)"
เจีย หรือ เชีย เป็นพืชในกลุ่มเครื่องเทศวงศ์เดียวกับกะเพรา หรือ มินต์ มีชื่อทางพฤกษศาสตร์ชื่อว่า Salvia hispanica L. วงศ์ Lamiaceae ลักษณะลำต้นสูงประมาณ 4 - 6 ฟุต เป็นพืชให้เมล็ดเล็กๆ มีสองสี คือดำและขาว เปลือกนอกเมล็ดพองตัวได้เหมือนเมล็ดแมงลัก ซึ่งปัจจุบันมีผู้นิยมบริโภคเมล็ดเจียกันมาก จากข้อมูลการศึกษาวิจัยพบว่าในเมล็ดเจียมีกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัว อัลฟาไลโนเลนิก (α-linolenic acid : ALA) หรือโอเมก้า-3 อยู่ร้อยละ 62.48 และมีกรดไลโนเลอิก (linoleic acid : LA) หรือโอเมก้า-6 อยู่ร้อยละ 22.43 ของกรดไขมันทั้งหมดในเมล็ดเจีย นอกจากนี้ยังมีแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกเนเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ อีกด้วย ในกระแสช่วงนี้มีผู้นิยมบริโภคเมล็ดเจียเพื่อลดน้ำหนักซึ่งจากการศึกษาวิจัยทางคลินิก พบว่าการรับประทานเมล็ดเจียขนาด 35 - 40 ก./วัน สามารถลดความระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาล ระดับไขมันในเลือด และลดน้ำหนักได้ แต่การศึกษายังมีไม่มากพอที่จะสรุปได้อย่างชัดเจน

ภาพจาก : https://www.123rf.com/photo_26904787_seeds-of-the-chia-plant-salvia-hispanica.html
ซึ่งงานวิจัยในเรื่องของการลดน้ำหนักนั้นเป็นการศึกษาในผู้ที่เป็นโรคอ้วน และผู้ที่มีน้ำหนักเกิน โดยให้รับประทานเมล็ดเจียบดเป็นผง 35 ก./วัน นาน 12 สัปดาห์ พบว่าที่ผู้เป็นโรคอ้วนน้ำหนักลดลงมากกว่าผู้ที่มีน้ำหนักเกินเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก และกลุ่มที่ได้รับเมล็ดเจียรอบเอวลดลง ในขณะที่อีกหนึ่งการศึกษาให้รับประทานเมล็ดเจีย 50 กรัม/วัน นาน 12 สัปดาห์ ในผู้ที่มีน้ำหนักเกิน พบว่าไม่สามารถลดน้ำหนักได้ แต่มีผลทำให้ระดับ ALA ในเลือดสูงขึ้น จะเห็นได้ว่าการศึกษายังให้ผลไม่ไปในทิศทางเดียวกันอาจต้องการศึกษาเพิ่มเติม อย่างไรก็ตามการรับประทานเมล็ดเจียมีข้อควรระวังเช่นกัน คือ ผู้ที่ปัญหาเกี่ยวกับระบบกระเพาะอาหารและลำไส้ อาจทำให้เกิดอาการท้องอืดเพราะเส้นใยอาหารที่พองตัวในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 25 นอกจากนี้เนื่องจากเมล็ดเจียมีกรดไขมันชนิดโอเมก้า-3 สูง ดังนั้นต้องหยุดรับประทานในผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัดและไม่ควรรับประทานในผู้ที่มีประวัติการใช้ยาแอสไพริน หรือผู้ที่มีภาวะฮีโมฟิเลีย (haemophilia) หรือภาวะที่เลือดแข็งตัวช้า เลือดไหลไม่หยุด เพราะจะทำให้เลือดหยุดยาก จากข้อมูลทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นหากผู้บริโภคต้องการรับประทานเมล็ดเจียเพื่อช่วยในเรื่องการลดน้ำหนัก คงต้องรับประทานในปริมาณที่กำหนดไว้ ควบคู่ไปกับการเลือกและควบคุมอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของทุกคน
อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ จุลสารข้อมูลสมุนไพร ปีที่ 34 ฉบับที่ 2
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://articles.mercola.com/sites/articles/archive/2013/06/23/vernikos-sitting-kills.aspx.
  2. Reddy S. The Price We Pay for Sitting Too Much. Wall Street Journal, Sep. 28, 2015.
  3. Hagger-Johnson G, Gow AJ, Burley V, Greenwood D, Cade JE. Sitting time, fidgeting, and all-cause mortality in the UK women’s cohort study. Am J Prev Med 2016;50(2):154–160.
  4. Coenen P, Willenberg L, Parry S, Shi JW, Romero L, Blackwood DM, et al. Associations of occupational standing with musculoskeletal symptoms: a systematic review with meta-analysis. Br J Sports Med. DOI: 10.1136/bjsports-2016-096795
-->

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


มะระขี้นก 19 วินาทีที่แล้ว
23 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้