เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ผู้บริโภคกับการตรวจสอบคุณภาพ


คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
อ่านแล้ว 21,771 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 03/07/2554
อ่านล่าสุด 1 วันที่แล้ว
https://tinyurl.com/ybmlba9c
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ https://tinyurl.com/ybmlba9c
 

ปัจจุบันจะได้ยินโฆษณาที่กล่าวถึง การตรวจสอบคุณภาพมากขึ้น บางโฆษณามีการกล่าวถึงการตรวจอาหารที่เหมือนการตรวจเอกลักษณ์อัญมณี (เพชร) ซึ่งเจ้าของสินค้าคงตั้งใจสื่อให้เห็นถึงคุณค่า ซึ่งจะเป็นจริงหรือไม่คงเป็นเรื่องที่ผู้บริโภคต้องทำความเข้าใจต่อไป

มาทำความรู้จักกับการตรวจสอบคุณภาพดีกว่า พูดอย่างง่ายๆ คุณภาพมีสองแบบคือแบบที่เห็น ด้วยตา และแบบที่ต้องตรวจโดยใช้เครื่องมือพิเศษ การดูด้วยตา จะเห็นสภาพภายนอกของสินค้า เริ่มด้วยสภาพภาชนะบรรจุ การปิดผนึก ฉลากซึ่งต้องมีรายละเอียดครบถ้วน รวมทั้งแสดง สถานที่ผลิต เลขทะเบียน(ตามที่ได้รับอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งแสดงว่ามีการตรวจสอบความถูกต้องโดยหน่วยงานของรัฐ)) สภาพตัวสินค้า รูป สี กลิ่น รส ต้องเป็นปกติ ชื่อเสียงของผู้ผลิตจะ เป็นอีกปัจจัยที่สื่อถึงคุณภาพสินค้าและนี่ก็เป็นส่วนที่ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบด้วยตนเองส่วนเนื้อในที่แท้จริงของสินค้านั้นตาเราไม่สามารถตรวจสอบได้

เนื้อในที่แท้จริงของสินค้าจะต้องใช้การตรวจสอบจากห้องปฏิบัติการ(ซึ่งเป็นหน่วยงานของผู้ผลิตที่ตรวจสอบคุณภาพการผลิต) การตรวจสอบในห้องปฏิบัติการ เป็นการทำงานของผู้เชี่ยวชาญโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม และทำการตรวจสอบคุณลักษณะเฉพาะ(เอกลักษณ์) การปนเปื้อนและปริมาณสาร เป็นการตรวจสอบคุณสมบัติทางเคมี-ฟิสิกส์ของสาร(สินค้า)

เครื่องมือที่ใช้โดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นเครื่องมือที่วัดการเกิดอันตรกิริยาของสารกับรังสีแม่เหล็กไฟฟ้า โดยเฉพาะในช่วงรังสียูวี วีสซิเบิล หรืออินฟราเรด ซึ่งจะแสดงค่าการดูดกลืน และรูปกราฟ(สเปคตรัม)

การตรวจสอบ ในห้องปฏิบัติการ โดยภาพรวมมี 2แบบ คือ แบบที่มีการทำลายตัวอย่างเช่นต้องทำการบด หรือละลายเป็นสารละลาย หรือการเกิดปฏิกิริยาให้ได้สารที่มีคุณสมบัติเฉพาะมากขึ้นเพื่อให้ได้ตัวอย่างเหมาะสมกับการวัดค่าด้วยเครื่องมือ อีกแบบคือการวัดตัวอย่างโดยตรง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพตัวอย่าง โดยอาศัยการที่แสงช่วงสัญญาณเนียร์อินฟราเรดหรืออินฟราเรดมีพลังงานเพียงพอที่จะแทรกเข้าไปในเนื้อสารตัวอย่าง โดยตัวอย่างไม่ถูกทำลายซึ่งสามารถวัดได้ทั้งตัวอย่างที่เป็นของแข็งในสภาพเป็นก้อนและผง หรือของเหลวทั้งชนิดใสและขุ่น แต่ที่สำคัญคือเนื้อสารควรสม่ำเสมอเป็นเนื้อเดียวกันแสงที่สะท้อนออกมาหลังจากผ่านตัวอย่างบางส่วน จะให้ค่าการดูดกลืนพลังงานหรือรูปกราฟซึ่งแสดงส่วนประกอบภายในตัวอย่างเป็นคุณลักษณะที่ใช้เทียบกับค่าที่กำหนด (ค่ามาตรฐาน) และนี่คือเครื่องมือที่ใช้ตรวจเอกลักษณ์อัญมณี


คุณภาพของสินค้าจะกำหนดโดยผู้ผลิต (ซึ่งประกอบด้วย 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยผลิตรับผิดชอบควบคุมกระบวนการผลิต และหน่วยห้องปฏิบัติการรับผิดชอบตรวจสอบคุณลักษณะ ทั้งสองหน่วยจึงช่วยกันผลิตสินค้าที่มีคุณภาพตามกำหนด) คุณภาพจะกำหนดทั้งรูปลักษณะที่มองเห็นได้และค่าที่ตรวจสอบโดยเครื่องมือ ซึ่งคุณลักษณะเหล่านี้จะได้จากงานวิจัยของผู้ผลิตเองหรือค่ามาตรฐานตามกฎหมาย เช่น ค่ากำหนดจากตำรายาสำหรับยาสำเร็จรูป ในการเลือกซื้อสินค้าผู้บริโภคจึงต้องตรวจสอบคุณลักษณะภายนอกที่ถูกต้องด้วยตนเอง สำหรับคุณลักษณะที่ต้องตรวจสอบโดยเครื่องมือ คงต้องมอบให้เป็นหน้าที่ของผู้ผลิต ในกรณีเช่นนี้มาตรฐานของผู้ผลิต (ซึ่งต้องได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตที่ดีหรือที่เรียกสั้นๆ ว่าจีเอ็มพี จากหน่วยงานของรัฐ)) ชื่อเสียงและผลงานในอดีตของผู้ผลิตจึงมีความสำคัญ จะช่วยให้เรามั่นใจในคุณภาพสินค้าที่ผู้ผลิตรับรอง (ส่งออกมาจำหน่าย)

ผู้บริโภคคงรู้แล้วว่า
ฉลากที่แสดงชื่อที่อยู่ของผู้ผลิตสินค้านั้นสำคัญอย่างไร

บทความโดย: รองศาสตรจารย์ ดร. พิสมัย กุลกาญจนาธร

ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

แหล่งอ้างอิง/ที่มา

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


กาแฟ…ระวังในโรคใด? 6 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้