การพัฒนาสูตรแลคติกแอซิดแบทีเรียเพื่อเป็นสารเสริมชีวนะ

โดย: ฐานีรัชต์ บัวทอง,มานะ ชูบรรจง    ปีการศึกษา: 2542    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์ , อารมณ์ พงษ์พันธุ์ , ยุพิน รุ่งเวชวุฒิวิทยา    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: แลคติกแอซิดแบคทีเรีย,สารเสริมชีวนะ,สารเพิ่มปริมาณ,สารต้านการออกซิเดชั่น, Lactic Acid Bacteria, Probiotics, diluent, antioxidant
บทคัดย่อ:
เป็นการพัฒนาตำรับของแลคติกแอซิดแบคทีเรียเพื่อเป็นสารเสริมชีวนะ ให้สามารถเก็บ รักษาได้นานยิ่งขึ้นในรูปแบบของแคปซูล โดยใช้ผลไม้ชนิดต่างๆเป็นสารเพิ่มปริมาณ ได้แก่ กล้วย น้ำว้า ฝรั่ง ฟักทอง และข้าวโพด เพาะเลี้ยงเชื้อแบคทีเรีย Lactobacillus fermentum 71 ในอาหาร เลี้ยงเชื้อ TGE agar เป็นเวลา 24 ชั่วโมง ให้ได้เชื้อความเข้มข้น 1014 CFU/mL แล้วนำเชื้อที่ได้ มาเตรียมตำรับเป็นจำนวน 8 ตำรับ โดยแบ่งเป็น 2 สภาวะ คือสภาวะที่ไม่มีสารต้านการออกซิเด ชั่นและสภาวะที่มีสารต้านการออกซิเดชั่น จากนั้นทำการประเมินผลโดยการหาปริมาณแบคทีเรีย ที่ยังคงรอดชีวิตในสูตรตำรับต่างๆ แล้วเปรียบเทียบการลดลงของแบคทีเรียในสูตรตำรับต่างๆ พบว่าการลดลงของแบคทีเรียในสภาวะที่มีสารต้านการออกซิเดชั่น มีการลดลงน้อยกว่าสภาวะ ที่ไม่มีสารต้านการออกซิเดชั่นในทุกตำรับ การใช้สารเพิ่มปริมาณชนิดต่างๆ พบว่าในสภาวะที่มี สารต้านการออกซิเดชั่น ตำรับที่ผสมผงฟักทองมีการลดลงของแบคทีเรียน้อยที่สุด (จาก 5.6x109 CFU/capsule เป็น 4.1x109 CFU/capsule) รองลงมา คือตำรับที่ผสมผงฝรั่ง ,ผงกล้วย และผงข้าวโพด ตามลำดับ ในสภาวะที่ไม่มีสารต้านการออกซิเดชั่น ตำรับที่ผสมผงฝรั่งมีการลดลง ของแบคทีเรียน้อยที่สุด (จาก 8.2x109 CFU/capsule เป็น 4x109 CFU/capsule) รองลงมา คือตำรับที่ผสมผงข้าวโพด,ผงฟักทอง,และผงกล้วย ตามลำดับ
abstract:
Formulation of Lactic Acid Bacteria (LAB) capsule as Probiotics was developed for longer shelf life. In this study, dosage form were prepared by using fruit powders e.g. banana, guava, pumpkin, and corn starch as diluents. Lactobacillus fermentum 71 was grown in TGE agar incubated at 37C for 24 hours . Cells were harvested and suspended in 20% skim milk containing 1% sodium glutamate to be 1014 CFU /mL. Eight formulations were divided into 2 group, with and without antioxidant, which was ascorbic acid. The number of survival in all formulations were counted weekly for 11 weeks. The results found that the formulations containing antioxidant could preserve bacteria better than the ones without antioxidant. In the presence of antioxidant, the survivors in formulations containing pumpkin, guava, banana, or corn starch decreased from 5.6x109 , 5.8x109 7x109 , 1.8x1010 CFU/capsule to 4.1x109, 4x109 , 5.1x109, 7x109 CFU/capsule, respectively. In condition without antioxidant, the survivors in formulations containing banana, pumpkin, guava or corn starch decreased from 2.9x1010 , 3.1x1010, 8.2x109, 2.9x1010 CFU/capsule to 1.8x109 , 3.8x109, 4x109 , 4.3x109 CFU/capsule respectively.
.