การศึกษาฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดจากใบงาขี้ม้อน ลูทีโอลิน และกรดโรสมารินิก

โดย: นางสาวดาลีลา มูซอ,นายธีรยุทธ์ กิจวัลลภ    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 1

อาจารย์ที่ปรึกษา: จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล , สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , วรวรรณ กิจผาติ , ยุวดี วงษ์กระจ่าง , วีนา นุกูลการ    ภาควิชา: ภาควิชาจุลชีววิทยา

Keyword: สารสกัดใบงาขี้ม้อน, ลูทีโอลิน, กรดโรสมารินิก, ต้านแบคทีเรีย, วิธี broth microdilution, leaf extracts from Perilla frustescens (L.) britt., luteolin, rosmarinic acid, antibacterial, broth microdilution method
บทคัดย่อ:
งาขี้ม้อน มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ Perilla frustescens (L.) britt. อยู่ในวงศ์ Labiatae มีการใช้ อย่างแพร่หลายในเอเชียมาตั้งแต่อดีต งานวิจัยก่อนหน้านี้พบว่าใบงาขี้ม้อนมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียจากลูทีโอลิน และกรดโรสมารินิก โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อทดสอบฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของสารสกัดเมทานอลจากใบงาขี้ม้อนที่ได้จาก 3 แหล่ง และเปรียบเทียบกับลูทีโอลินและ กรดโรสมารินิก โดยทาการศึกษาในแบคทีเรียทั้งแกรมบวกและแกรมลบรวม 8 ชนิด โดยหาค่าความเข้มข้นต่าสุดที่สามารถยับยั้งการเจริญของเชื้อ (MIC) ด้วยวิธี broth microdilution และค่าความเข้มข้นต่าสุดที่สามารถฆ่าเชื้อ (MBC) ด้วยวิธีขีดลงบนอาหารเลี้ยงเชื้อชนิดแข็ง ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดจากใบงาขี้ม้อนแต่ละแหล่งมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแตกต่างกัน สาหรับฤทธิ์ต้าน Staphylococcus aureus ATCC 25923 และ Streptococcus pyogenes ATCC 19615 สารสกัดจากแหล่งที่ 1 มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยมีค่า MIC เท่ากับ 3.00 mg/mL และ 1.50 mg/mL ตามลาดับ ฤทธิ์ต้าน Bacillus subtilis ATCC 6633 และ Methicillin Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) DMST 20654 สารสกัดจากแหล่งที่ 1 และ 3 มีฤทธิ์ดีที่สุด โดยมีค่า MIC เท่ากันที่ 1.50 mg/mL สาหรับฤทธิ์ต้านแบคทีเรียของลูทีโอลิน พบว่ามีฤทธิ์ต้าน S. aureus ATCC 25923 และ MRSA DMST 20654 โดยมีค่า MIC เท่ากับ 0.25 mg/mL และ 0.0625 mg/mL ตามลาดับ ส่วนกรดโรสมารินิกมีฤทธิ์ต้าน B. subtilis ATCC 6633 โดยมีค่า MIC เท่ากับ 0.9766 μg/mL จากผลการวิจัยสรุปว่าสารสกัดเมทานอลจากใบงาขี้ม้อน จากทั้ง 3 แหล่ง รวมทั้ง ลูทีโอลินและกรดโรสมารินิก มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมบวก แต่ไม่มีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียแกรมลบ
abstract:
Perilla frustescens (L.) britt is a member of Labiatae family. Perilla has used widely in Asian. Previous research found that Perilla has antibacterial activity from luteolin and rosmarinic acid. The objectives of this special project is to study on antibacterial activity of methanol extracts from Perilla leaf obtained from 3 different sources and compare with luteolin and rosmarinic acid. The antibacterial activity was studied with 8 strains of gram positive and gram negative bacteria. The minimal inhibitory concentration (MIC) was determined by using broth microdilution method and the minimal bactericidal concentration (MBC) was performed by streak on solid media. The results showed that different sources of Perilla exhibit different antibacterial activities. The most activity against Staphylococcus aureus ATCC 25923 and Streptococcus pyogenes ATCC 19615 was the extract from source no.1 (MIC = 3.00 and 1.50 mg/mL, respectively). The most activity against Bacillus subtilis ATCC 6633 and Methicillin Resistant Staphylococcus aureus (MRSA) DMST 20654 was the extract from source no.1 and 3 (MIC = 1.50 mg/mL, equally). For luteolin had antibacterial activity against S. aureus and MRSA (MIC = 0.75 and 0.0625 mg/mL, respectively). While rosmarinic acid had antibacterial activity against B. subtilis (MIC = 0.9766 μg/mL). In conclusion, the antibacterial activity of methanol extracts from Perilla leaf, luteolin and rosmarinic acid exhibited against only gram positive bacteria.
.