รูปแบบยาเม็ดที่จำหน่ยในประเทศไทย

โดย: ประยุทธ์ จงเปาหยิน,ดุริพัธ แจ้งใจ    ปีการศึกษา: 2540    กลุ่มที่: 10

อาจารย์ที่ปรึกษา: ชะอรสิน สุขศรีวงศ์ , จุฑามณี สุทธิสีสังข์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
เนื่องจากตำรับยาที่มีจำหน่ายในประเทศไทยมีมากถึง 17,000 ตำรับ จึงมีความซ้ำซ้อนในด้านรูปแบบของยา สร้างปัญหาแก่ผู้จ่ายยาเมื่อเกิดปัญหาจากการใช้ยาไม่สามารถสืบค้นได้ว่าเป็นยาอะไรวัตถุประสงค์ของโครงการพิเศษนี้คือ เพื่อรวบรวมเม็ดยาที่มีจำหน่ายสูง 30 อันดับแรกของประเทศไทยจากร้านขายยาและโรงพยาบาลเพื่อนำมาจำแนกรูปลักษณะชองเม็ดยาตามชื่อสามัญทางยาและลักษณะทางการยภาพและจัดทำเป็นเอกสารอ้างอิง วิธีการเก็บข้อมูลแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรก ออกแบบสอบถามพฤติกรรมของผู้ซื้อยาที่ร้านขายยาจำนวน 231 รายตั้งแต่ 20 สิงหาคม - 10 กันยายน 2540 พบว่าผู้มาซื้อร้อยละ 72.94 เคยนำตัวอย่างเม็ดยามาซื้อยาด้วยตัวเอง ร้อยละ 91.67 เคยให้ผู้อื่นนำเม็ดยามาซื้อให้ ส่วนที่สอง การเก็บเม็ดยาตามโรงพยาบาลและร้านขายยา 265 ชื่อการค้า (67 ชื่อสามัญ) นำมาจัดกลุ่มตามฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและลักษณะทางกายภาพ การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าประชาชนนิยมซื้อยาโดยการนำตัวอย่างยามาขอซื้อและมีความซ้ำซ้อนทางรูปลักษณ์ของเม็ดยาที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาต่างกันเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาความสับสนในการจำแนกชนิดยาโดยการดูลักษณะภายนอกจึงควรกำหนดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหานี้
abstract:
It has been reported that more than 17000 drug products are sold in Thailand. The similarity of physical appearance often confuses drug dispenses. In addition, when adverse reaction happens, it is impossible to identify the cause. This study was conducted to realize the incidence of buying drug by showing the drug sample to the seller, and to show the similarity in physical appearance of drug product sold. The procedure was divided into 2 parts; first to find the incidence buying drug by showing the drug sample to the seller by questionaine. Two hundred and thirty one customers were interviewed . It was founded 72.94% of customers bought drug by showing the sample. 91.67% of them used to ask somebody to buy by showing the sample. Second, 67 generics or 265 tread name drugs were collected and classified by pharmacology action and by physical appearance to show the similarity. This study pointed out the problems of similarity in physical appearance of drug which might cause other problem afterworks. Some regulation should be consideration to alleviate the problems.
.