การศึกษาความคงตัวของยาเหน็บทวารหนัก ไดอาซีแพมที่บรรจุผงแห้งพอลิเมอริกไมเซลล์ ที่มียาไดอาซีแพมผสมอยู่

โดย: นางสาวกนิษฐา นาราพานิช, นางสาววันวิสาข์ สิริรตวรรณ    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 10

อาจารย์ที่ปรึกษา: จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์ , ดวงดาว ฉันทศาสตร์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ไดอาซีแพม, ยาเหน็บทวารหนัก, พอลิเมอริกไมเซลล์, ความคงตัว, diazepam, suppository, polymeric micelles, stability
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคงตัวของยาเหน็บทวารหนักที่บรรจุไดอาซีแพมรูปแบบผง (DZ) และพอลิเมอริกไมเซลล์ (DZ-PMs) เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8 C ที่ระยะเวลาต่างๆ เปรียบเทียบกับที่เวลาเริ่มต้น โดยใช้ยาเหน็บพื้น 2 ชนิด คือ ชนิดชอบไขมัน (AM:BM) อัตราส่วน 1:3, 1:1 และ 3:1 และชนิดละลายน้า (PEG4000:PEG400) อัตราส่วน 1:1 และ 3:1 ยาเหน็บแต่ละแท่งบรรจุตัวยาให้มีปริมาณ DZ 5 และ 10 มิลลิกรัม จากการศึกษาความคงตัวของยาเหน็บที่เวลาต่างๆ ได้แก่ ความคงตัวทางกายภาพและเคมีและการละลายของยา DZ จากยาเหน็บ พบว่า ลักษณะภายนอกและความสม่าเสมอของน้าหนักยาเหน็บ ไม่เปลี่ยนแปลงจากที่เวลาเริ่มต้น จากการวิเคราะห์ปริมาณยาคงเหลือในยาเหน็บ พบว่า สูตรตารับ PEG4000:PEG400 มีปริมาณยาคงเหลืออยู่ในช่วง 93.17-100.22% เมื่อเก็บไว้นาน 180 วัน และสูตรตารับ AM:BM อยู่ในช่วง 94.66-104.15% เมื่อเก็บไว้นาน 90 วัน จากผลการทดสอบการละลาย DZ จากยาเหน็บที่เก็บไว้ที่เวลาต่างๆ เปรียบเทียบกับยาเหน็บหลังเตรียมเสร็จ พบว่า ยาเหน็บสูตรตารับ PEG 4000:PEG400 มีอัตราและปริมาณการละลายยาจากยาเหน็บเพิ่มขึ้นเมื่อเก็บไว้นาน 180 วัน ในขณะที่อัตราและปริมาณการละลายยาของสูตรตารับ AM:BM ที่บรรจุ DZ ไม่แตกต่างจากที่เวลาเริ่มต้นเมื่อเก็บไว้นาน 90 วัน อย่างไรก็ตามยาเหน็บที่บรรจุ DZ-PMs มีอัตราการละลายยาลดลง แต่ปริมาณการละลายยาเพิ่มขึ้น และ DZ-PMs มีผลเพิ่มอัตราและปริมาณการละลายยามากกว่า 1.9 และ 4.1 เท่าตามลาดับ เมื่อเปรียบเทียบกับสูตรตารับที่บรรจุ DZ
abstract:
The aim of this special project was to investigate the stability of rectal suppository containing diazepam powder (DZ) and lyophilized DZ-loaded polymeric micelle (DZ-PMs) when storing at 2-8 C for the designated time comparing with the initial time. Two types of suppository base were used in this study, namely lipophilic (AM:BM) base at the weight ratios of 1:3, 1:1 and 3:1 and water-soluble (PEG4000:PEG400) base at the weight ratios of 1:1 and 3:1. The amount of DZ loaded in each suppository was 5 and 10 mg. The prepared suppositories were investigated for the physical and chemical stability and the dissolution of DZ. From the results, the appearance and uniformity of mass of all suppositories remained unchanged as compared to those at initial time. The %drug remaining of PEG4000:PEG400 formulations was 93.17-100.22% after storing for 180 days and that of AM:BM formulations was 94.66-104.15% after 90-day storage at 2-8 C. From the dissolution results of DZ-loaded suppositories after storing for the designated period, the dissolution rate and extent of DZ from DZ-loaded PEG4000:PEG400 formulations increased after storage for 180 days while those of AM:BM formulations containing DZ were almost constant after storage for 90 days. However, The dissolution rate of AM:BM containing DZ-PMs decreased but their extent of drug dissolution increased. Additionally, the DZ-PMs enhanced the dissolution rate and extent of DZ by 1.9 and 4.1 folds, respectively, as compared to the corresponding DZ-loaded formulation.
.