การออกแบบวิธีการทดสอบคุณสมบัติการเกาะติดเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มของไคโตแซนนาโนพาติเคิลในหลอดทดลอง

โดย: นางสาวพิมผกา สันธิ,นางสาววรญา พรหมแปงธา    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: จิระพรรณ จิตติคุณ , อัญชลี จินตพัฒนากิจ , ศุภโชค มั่งมูล    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: ไคโตแซน, นาโนพาติเคิล, กระพุ้งแก้มหมู, การยึดเกาะเยื่อเมือก, สารเรืองแสง, Chitosan, Nanoparticle, Porcine buccal mucosa, Mucoadhesive, Fluorescence
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบวิธีการทดสอบคุณสมบัติในการเกาะติดเนื้อเยื่อเมือกสำหรับระบบนำส่งยาแบบอนุภาค โดยใช้ไคโตแซนนาโนพาติเคิล และเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มสุกรเป็นอนุภาคต้นแบบ และเนื้อเยื่อต้นแบบ ตามลำดับ การศึกษานี้เริ่มจากการติดสารเรืองแสงบนไคโตแซน และเตรียมนาโนพาติเคิลโดยวิธี ionotropic gelation กับไตรโพลีฟอสเฟต (TPP) ศึกษาคุณสมบัติการเกาะติดเนื้อเยื่อ โดยบ่มเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มสุกรขนาด 1?1 ซ.ม. ในหลอดทดลองที่มีความลาดเอียง 30 องศา ด้วยไคโตแซนนาโนพาติเคิล หลังจากนั้นทำการชะด้วยสารละลายจำลองน้ำลาย เป็นเวลา 2 ชั่วโมง วัดปริมาณนาโนพาติเคิลที่เกาะบนเนื้อเยื่อโดยวัดปริมาณสารเรืองแสงในสารละลายจำลองน้ำลายที่เวลาต่างๆ และตรวจสอบการเกาะติดของอนุภาคบนเนื้อเยื่อด้วยเครื่อง Fluorescent Microscope จากการศึกษาพบว่า อัตราส่วนของไตรโพลีฟอสเฟตต่อไคโตแซนที่เหมาะสมในการเตรียมนาโนพาติเคิลคือ 0.7 : 1 โดยนาโนพาติเคิลที่เตรียมได้มีขนาดอนุภาคเฉลี่ย 158 นาโนเมตร และมีประจุที่ผิวเฉลี่ย 25.2 มิลลิโวลต์ จากการทดสอบคุณสมบัติในการยึดเกาะเนื้อเยื่อ พบว่าไคโตแซนนาโนพาติเคิลสามารถยึดเกาะเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มในปริมาณ 4.98 มิลลิกรัม/ตารางเซนติเมตร และสามารถยึดเกาะเนื้อเยื่อเป็นเวลา 2 ชั่วโมง จากผลการทดลองที่ได้สามารถสรุปได้ว่า วิธีการทดสอบคุณสมบัติการเกาะติดเนื้อเยื่อกระพุ้งแก้มนี้ สามารถนำไปประยุกต์เพื่อศึกษาการเกาะติดเนื้อเยื่อของระบบนำส่งยาแบบอนุภาคอื่นๆต่อไป
abstract:
This special project aimed to design the evaluation method of mucoadhesive properties for particulate drug delivery systems using chitosan nanoparticles and porcine buccal mucosa as model particle and model tissue, respectively. Firstly, chitosan was labelled with fluorescent dye. Chitosan nanoparticle was then prepared based on ionotropic gelation with tripolyphosphate (TPP). The mucoadhesion was studied by incubating buccal mucosa (1?1 cm) mounted in a 30? sloping test chamber with chitosan nanoparticles. After washing tissue with simulated saliva fluid for 2 hours, the quantity of nanoparticles adhered on buccal mucosa was determined by amount of fluorescence in simulated saliva fluid at predetermined time interval. The adhesion of nanoparticles on buccal mucosa was also confirmed by fluorescent microscopic techniques. It was found that an optimal ratio of chitosan: TPP for preparing nanoparticles was 0.7: 1. Chitosan nanoparticles had a size of 158 nm containing 25.2 mV of surface charge. From mucoadhesion studies, the amount of chitosan nanoparticles adhered on buccal mucosa was 4.98 mg/cm2, and the adhesion was prolonged up to 2 hours. Based on results obtained, it could be concluded that this evaluation method would be a potential technique for mucoadhesion study of chitosan particulate drug delivery systems
.