การเตรียมยาน้าแขวนตะกอนแคปโตพริล ชนิดรับประทานสาหรับผู้ป่วยเฉพาะราย จากยาเม็ดแคปโตพริล

โดย: นายณัฐชนน สถาปนพิทักษ์กิจ, นางสาวมณฑิตา ปรกติ    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: จิรพงศ์ สุขสิริวรพงศ์ , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ยาน้าแขวนตะกอน, ยาเตรียมสาหรับผู้ป่วยเฉพาะราย, แคปโตพริล, Oral suspension, Extemporaneous preparation, Captopril
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาความคงตัวทางเคมีและกายภาพของยาน้าแขวนตะกอน แคปโตพริลชนิดรับประทานสาหรับผู้ป่วยเฉพาะรายความแรง 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตรเก็บรักษาที่ 2-8oC และ 30oCจากผลการศึกษาโดยเปรียบเทียบการใช้ MC, CMC หรือ xanthan ผสมกับ syrup อัตราส่วน 50:50 โดยปริมาตร กับการใช้ syrup เป็นกระสายยาตารับที่ใช้ CMC มีค่า pH มากที่สุด และมีปริมาณแคปโตพริลคงเหลือน้อยที่สุด ตารับที่ใช้ MC และCMC มีจานวนครั้งในการกลับขวดมากกว่าและปริมาณยาเหลือน้อยกว่าตารับที่ใช้ xanthan และsyrup เมื่อเปรียบเทียบปริมาณ CMC และ xanthan ในตารับ โดยผสมกับ syrup อัตราส่วน 15:85, 30:70 และ 50:50 โดยปริมาตร พบว่าการเพิ่มปริมาณ CMC มีผลเร่งการเสื่อมสลายของแคปโตพริลเมื่อเก็บที่ 2-8oC ขณะที่เมื่อเพิ่มปริมาณ xanthan ในตารับมีผลลดจานวนครั้งในการกลับขวดแต่ไม่มีผลต่อความคงตัวของยา การเติมสารเพิ่มความคงตัวได้แก่ citric acid (CA), vitamin C 4 (V4) และ 5 (V5) มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ในตารับที่ใช้ MC, CMC, xanthan และ syrup เป็นกระสายยา พบว่าการเติม CA, V4 และ V5 มีผลลดค่า pH ของตารับ แต่ CA ทาให้ pH ของตารับลดลงมากที่สุดและเพิ่มจานวนครั้งในการกลับขวด ตารับที่ใช้ CMC พบว่าการเติม CA, V4 และ V5 ชะลอการเสื่อมสลายของแคปโตพริลการเติม V4 และ V5 ลงในตารับที่ใช้ MC จะช่วยชะลอการเสื่อมสลายของตัวยา ขณะที่การเติม CA,V4 และ V5 ไม่มีผลชะลอการเสื่อมสลายของตัวยาในตารับที่ใช้ xanthan และ syrup เป็นกระสายยาและทุกตารับเมื่อเก็บที่ 2-8oC มีความคงตัวดีกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ30oCตารับที่ใช้ syrup ร่วมกับการเติม CA, V4 หรือ V5 มีปริมาณแคปโตพริลคงเหลือมากกว่า 90% นานที่สุดคือ 90 วัน เมื่อเก็บไว้ที่อุณหภูมิ 2-8oC ในขวดสีชา
abstract:
The aim of this special project was to study the physical and chemical stability of extemporaneous preparation of captopril oral suspension. A 1 mg/mL captopril oral suspension was prepared and stored at 2-8oC and 30oC. By comparing the formulations containing CMC, MC or xanthan mixed with syrup at 50:50 by volume and those using only syrup as a vehicle, the results found that the formulation consisting of CMC had the highest pH and the lowest amount of drug remaining. The MC and CMC formulations required more number of redispersibility and less drug content than the xanthan and syrup formulations. To compare the concentration of CMC and xanthan in the formulation by varying the ratios of CMC or xanthan and syrup at 15:85, 30:70 and 50:50 by volume the results revealed that higher concentration of CMC accelerated the drug degradation at 2-8oC.Meanwhile the increased concentration of xanthan decreased the number of redispersibility but did not affect the chemical stability of drug. The addition of various stabilizers such as citric acid(CA), vitamin C 4(V4) and 5(V5) mg/mL in the formulations containing CMC, MC, xanthan and syrup as vehicles decreased pH of formulation. CA dramatically declined the pH value of formulation and increased the number of redispersibility. Moreover, the addition of CA, V4 and V5 in CMC formulations and V4 and V5 in MC formulations could decrease the drug degradation whereas the added stabilizers had no effect on drug stability of xanthan and syrup formulations. All formulations were more chemically stable when stored at 2-8oC as compared to 30oC. The amount of captopril in the formulations using syrup and CA, V4 or V5 remained over 90% as long as 90 days whenstored in amber bottles at 2-8oC.
.