ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของว่านงาช้าง

โดย: นางสาวบุณฑริกา แสงวิรุฬห์,นางสาวศุภรัตน์ หน่อแดง    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 11

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาชีวเคมี

Keyword: ว่านงาช้าง, ยับยั้งเชื้อแบคทีเรีย, ยับยั้งเชื้อรา, ต้านอนุมูลอิสระ, Sansevieria cylindrica, Antibacterial, Antifungal, Antioxidative
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดจากส่วนเหนือดินของว่านงาช้าง (Sansevieria cylindrica Bojer.) ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียและเชื้อรา และฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ การทดสอบฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรียชนิดแกรมบวก แกรมลบ และเชื้อรา โดยวิธี Disc Diffusion ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดว่านงาช้างไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่ทดสอบทั้ง 5 สายพันธุ์ ได้แก่ Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes, Bacillus subtilis, Escherichia coli, Salmonella typhi และไม่มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อราที่ทดสอบทั้ง 7 สายพันธุ์ ได้แก่ Aspergillus nigra, Aspergillus parasiticus, Aspergillus flavus, Curvularia lunata, Fusarium moniliforme, Cladosporium cladosporides, Penicillium siamensis สาหรับการทดสอบฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระ โดยวิธี 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical (DPPH) ผลการศึกษาพบว่า สารสกัดว่านงาช้างมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระ โดยมีค่าความเข้มข้นของสารที่ทาให้อนุมูลอิสระลดลงครึ่งหนึ่งของปริมาณอนุมูลอิสระทั้งหมด (IC50) เท่ากับ 1989.00, 1947.73, และ 1828.36 mcg/ml จากตัวทาละลาย petroleum ether, dichloromethane, และ 95% ethanol ตามลาดับ
abstract:
The aims of this special project was to evaluate pharmacological activities of the extracts from aerial part of Sansevieria cylindrical Bojer. The pharmacological activities evaluated included antibacterial, antifungal, and antioxidative activity. Antibacterial activity was evaluated via disc diffusion method among 5 species of bacteria which are Staphylococcus aureus, Streptococcus pyogenes, Bacillus subtilis, Escherichia coli, Salmonella typhi. Antifungal activity was also evaluated via disc diffusion method among 7 species of fungi which are Aspergillus nigra, Aspergillus parasiticus, Aspergillus flavus, Curvularia lunata, Fusarium moniliforme, Cladosporium cladosporides, Penicillium siamensis. The result showed that the extracts from aerial part of S.cylindrica Bojer. had no inhibitory activities on bacteria and fungi mentioned above. Antioxidative activity was evaluated via 2, 2-diphenyl-1-picrylhydrazyl radical (DPPH) assay. The result showed that the extracts demonstrated slightly antioxidative potential with IC50 of 1989.00, 1947.73, and 1828.36 mcg/ml from the fractions of petroleum ether, dichloromethane, and 95% ethanol, respectively.
.