การพัฒนาสเปรย์ไฮโดรเจลที่ไวต่ออุณหภูมิ ของยาลิโดเคน

โดย: นางสาวชลวสา วทนะศิลป์, นางสาวอาณิมา ศิริชัย    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 12

อาจารย์ที่ปรึกษา: อัญชลี จินตพัฒนกิจ , วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ลิโดเคน, สเปรย์พ่นปาก, ไฮโดรเจลที่ไวต่ออุณหภูมิ, พอลอกซาเมอร์ 407, พอลอกซาเมอร์ 188, Lidocaine, Oral spray, Thermosensitive hydrogel, Poloxamerer 407, Poloxamer 188
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อพัฒนาตารับยาลิโดเคน (lidocaine HCl) รูปแบบสเปรย์ไฮโดรเจลที่เปลี่ยนสภาพเป็นเจลได้ที่อุณหภูมิในช่องปาก เพื่อนาไปใช้บรรเทาอาการปวดจากภาวะเยื่อบุช่องปากอักเสบในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการฉายแสงและ/หรือได้รับยาเคมีบาบัด โดยการศึกษานี้ใช้ poloxamer 407 (P407) และ poloxamer 188 (P188) เป็นสารก่อเจลในตารับ พบว่าเมื่อความเข้มข้นของ P407 เพิ่มขึ้น จะส่งผลให้อุณหภูมิในการก่อเจลลดต่าลง และความหนืดของไฮโดรเจลเพิ่มขึ้น เมื่อคงความเข้มข้นของ P407 ในตารับไว้ การเพิ่มความเข้มข้นของ P188 มีผลทาให้อุณหภูมิในการก่อเจลสูงขึ้น นอกจากนี้สารละลายไฮโดรเจล P407:P188 ยังมีรูปแบบการไหลเป็นแบบซูโดพลาสติกแบบไม่ขึ้นกับเวลา (time-independent pseudoplastic flow) ผลของความหนืดที่อุณหภูมิ 8°C จะแปรผันตามความเข้มข้นของ poloxamer ในตารับ แต่ที่อุณหภูมิ 30 และ 36°C (อุณหภูมิในช่องปาก) ความหนืดของสารละลายไฮโดรเจลจะแปรผันตามอุณหภูมิในการก่อเจล ยิ่งสารละลายไฮโดรเจลมีอุณหภูมิในการก่อเจลต่า จะมีความหนืดสูงมากขึ้น ดังนั้นจึงพิจารณาเลือกตารับจากความเข้มข้นของสารละลายไฮโดรเจล P407:P188 ที่มีอุณหภูมิในการก่อเจลใกล้เคียงกับอุณหภูมิในช่องปาก คือ 36°C รวมทั้งมีความหนืดและพฤติกรรมการไหลที่เหมาะสมสาหรับรูปแบบสเปรย์ (oral spray) คือ ตารับที่ประกอบด้วย P407 ความเข้มข้น 16%w/w และ P188 ความเข้มข้น 2%w/w ทั้งนี้ยังทาการศึกษาอิทธิพลของยาลิโดเคนที่ความเข้มข้น 2%w/w เมื่อเติมลงในตารับ พบว่ายาดังกล่าวให้อุณหภูมิในการก่อเจลลดลงอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ (P<0.05) แต่ไม่มีผลต่อความสามารถในการฉีดพ่น และความหนืด (P>0.05) นอกจากนี้ยังได้ทาการศึกษาความคงตัวของตารับเบื้องต้น โดยทาการเก็บรักษาที่อุณหภูมิตู้เย็น (4°C), อุณหภูมิห้อง (30°C) และสภาวะเร่ง (40°C) เป็นเวลา 2 เดือน พบว่าที่อุณหภูมิตู้เย็นเป็นสภาวะที่เหมาะสมที่สุดสาหรับการเก็บรักษา
abstract:
This special project aimed to develop lidocaine thermosensitive hydrogel spray for relieving pain from oral mucositis in cancer patients treated with radiation and/or chemotherapy. The gel forming agent used in this study was poloxamer 407 (P407) and poloxamer 188 (P188). It was found that increasing the P407 concentration reduced the gelation temperature and increased the viscosity of hydrogel. At the same concentration of P407, an increasing in P188 concentration increased the gelation temperature of the mixture. All hydrogels showed time independent pseudoplastic flow behavior. At 8°C, the viscosity of hydrogels was dependent on the poloxamer concentration. On the other hand, at 30°C and 36°C (oral temperature), the viscosity of hydrogel depended on gelation temperature. The lower the gelation temperature, the higher the viscosity was obtained. As a result, the suitable hydrogel containing 16%w/w P407 and 2%w/w P188 was selected based on the gelation temperature, viscosity and rheological behavior which were suitable for preparing oral spray. The addition of 2%w/w lidocaine significantly decreased the gelation temperature of hydrogel (P<0.05) but did not affect sprayability and viscosity (P>0.05). From preliminary stability study at 4°C, 30°C and 40°C for 2 months, 2% w/w lidocaine thermosensitive hydrogel spray stored at 4°C showed the highest stability compared to other storage conditions.
.