การศึกษาและพัฒนาสาร Chitin และอนุพันธ์ในรูป membrane เพื่อช่วยสมานแผล

โดย: ทิศา กาญจนศร,ชินีกาญจน์ วิริยะชัยพร    ปีการศึกษา: 2539    กลุ่มที่: 13

อาจารย์ที่ปรึกษา: กอบธัม สถิรกุล , Willer F. Stevens , สุวลี จันทร์กระจ่าง    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
Chitin และChitosan เป็นสาร mucopolysaccharide ซึ่งสามารถพบได้จากธรรมชาติ โดยมักพบได้ในโครงร่างแข็งของสัตว์ทะเล เช่น เปลือกกุ้ง แกนปลาหมึก ลิ่นทะเล exsoskeletol ของสัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการค้นพบ Chitosan และอนุพันธ์ ซึ้งได้มีการนำเอา Chitin,Chitosan และอยุพันธ์มาศึกษาพัฒนาใช้ทางเภสัชกรรม เช่น การศึกษาการห้ามเลือดของสาร Chitin และ Chitosan การศึกษา Chitin และ Chitosan เป็นสารก่อเจลในทางเภสัชกรรม หรือการศึกษาการสมานแผลของ Chitin ในแผลลักษณะต่างๆ เป็นต้น ในการวิจัยนี้ เป็ฯการศึกษาความสามรถในการสมานแผลในหมู่ Wistar ของ Chitosan โดยนำเอา alpha-Chitosan และ Beta-Chitosan มาพัฒนารูปแบบเภสัชภัณฑ์ ที่เป็น membrane แล้วนำมา ทดลองในหนู wistar rat เพศผู้ ใช้กลุ่มหนูทดลอง5 ตัวต่อสาร 1 ชนิด โดยกรีดหน้าท้องหนูเป็นแผลยาว 2 เซนติเมตรลึกถึงชั้น subcutaneous จำนวน 2แผลโดยให้เป็ฯแผลควบคุม 1แผล โดยใช้ cellophane membrane เปรียบเทียบผลการทดลองกับกลุ่มควบคุมอีก 1 แผลที่ใช้ alpha-Chitosan membrane หรือ Beta-Chitosan membrane การประเมินการทดลองจะดูจากการสมานแผล,ความแห้งของแผล,การเกิดแผลเป็นและการอักเสบเป็นระยะเวลา 12 วัน แล้วบันทึกผลโดยการถ่ายภาพเป็นระยะ รวมทั้งการประเมินผลทางสถิติโดยใช้แบบและใช้กลุ่มคนในการประเมิน 10 คน จากผลการทดลองพบว่า ทั้ง alpha-Chitosan และ Beta-Chitosan มีผลต่อการสมานแผลได้ โดยที่ Beta-Chitosan ทั้ง 3ความเข้มข้นคือ 1%w/v,1.5%w/vและ2%w/v ให้ผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางชีวสถิติ(P<0.05)ส่วนalpha-Chitosan ที่ความเข้มข้น 1.5%w/vและ2%w/vให้ผลต่อการสมานแผลแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางชีวสถิติ(P<0.05)แต่alpha-Chitosan ความเข้มข้น 1% W/v ให้ผลใกล้เคียงกับกลุ่มควบคุม (p ~0.05) ซึ่งผลจากการทดลองนี้ควรจะมีการศึกษาและพัฒนารูปแบบทางเภสัชภัณฑ์ของ Chitosan membrane เป็นสารสมานแผลต่อไป
abstract:
Chitin and Chitosan are mucopolysaccharide found naturally in exoskeleton(outer shell) of crustaceans such as thist of shrimp shell, cutter fish,squid pen,and in exoskeleton of invertebraes.Chitin,Chitosan and its derivatives have been studied extensively and their use have been applied to varieties of pharmaceutical purposes. Example of this applications are relasted to thd properties on blood coagulation and wound healing processes and as gel-forming agents This study focused on the wound healing property of chitosan in male Wistar rats.Powdered form of alpha-Chitosan and Beta-Chitosan was first transformed into membrand at different concentrations,i.e.,1%w/v,and1.5%w/v,and 2%w/v. Five male Wistar rats wre used in each group and each rat received two cuts on the abdomen. The cut was controlled at 2cm. long and to be deep into subcutaneous layer. One cut was designated as a control and covered with cellophane membrane,while the other cut was covered with either alpha-Chitosan and Beta-Chitosan mambrane at predetemined concentration.Evaluation was made on the completenss of wound healing, dryness of wonund ,and presentation of scar and exudate during 12-day observation.Pictures of wound were taken periodically and a group of 10 people was asked to score the pictures based on the above criteria. The results showed that both alpha-Chitosan and Beta-Chitosan had the wound healing effect. All Beta-Chitosan mambranes at 1%w/v,5%w/v and 2% w/v showed statiscally significant difference in wound healing property from the controlled group(P<0.05).alpha-Chitosan mambranes at 1.5%w/v and 2%w/v showed statiscally significant difference in wound healing property from the controlled group(P<0.05)while 1%w/v concentration had similar effect as the controlled group(P=0.05).therefore,future development of chitosan into pharmacetical mambrane for wound healing purpose is warranted.
.