โลชั่นสมุนไพรเพื่อผิวขาว

โดย: จิรัชดาภา ปลื้มลมัย,ศุภมาส สาทนิยม    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 14

อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , วิเชษฐ์ ลีลามานิตย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ไทโรซิเนส, เมลานิน, โลชั่นสมุนไพร, มะหาด, ชะเอมเทศ, รังไหม, กรดโคจิก, antityrosinase, melanin, herbal lotion, Artocarpus lakoocha ,Glycyrrhiza glabra , Bombyx mori , kojic acid
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันมีการนำสมุนไพรมาใช้เป็นเครื่องสำอางบำรุงผิว และช่วยทำให้ผิวขาวมากขึ้น ซึ่ง สารที่มีคุณสมบัติลดสีผิว และช่วยทำให้ผิวขาวมีหลายประเภทขึ้นอยู่กับกลไกการออกฤทธิ์ โดย กลุ่มที่นิยมใช้มาก ได้แก่กลุ่มที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ไทโรซิเนส (tyrosinase inhibitors) ซึ่งเป็นเอนไซม์เร่งปฏิริยาตั้งต้นของกระบวนการสังเคราะห์เม็ดสีเมลานิน และเป็น สาเหตุที่ทำให้ผิวมีสีคล้ำ ในการวิจัยนี้ได้ทำการคัดเลือกสมุนไพร เตรียมสารสกัด ตั้งตำรับและ ทดสอบความความคงตัวของโลชั่นสมุนไพรเพื่อผิวขาว โดยทำการคัดเลือกสมุนไพร 3 ชนิด ได้แก่ มะหาด (Artocarpus lakoocha Roxb.) ชะเอมเทศ (Glycyrrhiza glabra Linn.) และรัง ไหม (Bombyx mori) โดยนำมาเตรียมเป็นสารสกัดมะหาด สารสกัดชะเอมเทศ และสารสกัดรังไหม แล้วนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ด้วยวิธี dopachrome method พบว่าสาร สกัดดังกล่าวที่ความเข้มข้น 1 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสเท่ากับ 87.88±0.31%, 74.24±0.62% และ 5.19±0.61% ตามลำดับ (IC50 เท่ากับ 50, 140 และ>1000 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) ในขณะที่กรดโคจิกซึ่งเป็นสารมาตรฐานให้ค่าดังกล่าวเท่ากับ 83.30±0.51% (IC50 เท่ากับ 130 ไมโครกรัม/มิลลิลิตร) ที่ความเข้มข้นเดียวกัน จากนั้นนำสาร สกัดดังกล่าวมาพัฒนาเป็นตำรับโลชั่นสมุนไพรเพื่อผิวขาว พบว่าสารสกัดดังกล่าวในปริมาณ 1.03 , 0.42 และ 0.20 กรัมในโลชั่นสมุนไพร 100 มิลลิลิตรตามลำดับ ให้ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ ไทโรซิเนสเท่ากับ 98.60±0.45% ตำรับที่ได้มีสีน้ำตาล มีกลิ่นแอลกอฮอล์เล็กน้อย นอกจากนี้ เมื่อนำตำรับที่ได้ มาทดสอบความความคงตัวโดยนำไปเก็บที่อุณหภูมิห้อง (28-30 oC), ตู้เย็น (4 oC) และตู้อบ (45 oC) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ แล้วทำการตรวจสอบฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสสารสำคัญ สีและกลิ่น โดยตรวจสอบวันที่ 0, 7, 14, 21 และ 28 ของการเตรียมตำรับ พบว่าการเก็บที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียสเท่านั้น ที่ทำให้ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสมีค่าไม่ เปลี่ยนแปลงตลอดระยะเวลาการเก็บ นอกจากนี้ การตรวจสารสำคัญ สีและกลิ่น พบว่ามี ชนิดของสารสำคัญ สีและกลิ่นไม่แตกต่างกันในทุกสภาวะการเก็บตลอดระยะเวลาที่กำหนด
abstract:
At present, Herbs are popularly used in cosmetics, especially to nourish and to whiten skin. Whitening substances have many mechanisms of which is the popular found in cosmetics is a tyrosinase inhibitor group. Tyrosinase is an enzyme involving in melanin synthesis that causes dark skin. In this project, three kinds of herbs were chosen for extraction and formulation of whitening skin lotion. Artocarpus lakoocha Roxb., Glycyrrhiza glabra Linn., Bombyx mori were extracted and their extracts were tested for antityrosinase activity using dopamine method. It was found that three herbal extracts at 1 mg/mL concentration exhibited tyrosinase inhibitory activity was 87.88±0.31%, 74.24±0.62% and 5.19±0.61% (IC50 = 50, 140 and >1000 μg/mL), respectively, while the reference standard kojic acid showed the activity at 83.30±0.51% (IC50 = 130 μg/mL) at the same concentration. The herbal extracts were Artocarpus lakoocha Roxb., Glycyrrhiza glabra Linn. and Bombyx mori respectively in 100 mL of the preparation. The preparation exhibited antityrosinase activity at 98.60±045%, having a brown color with slightly alcoholic odor. In addition, the formula was evaluated for stability test within 4 weeks at 4 oC, room temperature (28-30 oC) and 45 oC, and examined for tyrosinase inhibitory activity, active ingredients, color and odor at 0, 7, 14, 21, and 28 days of the preparation. It was found that only being kept at 4 oC, the antityrosinase activity was not changed during the period examined. Furthermore, active ingredients, color and odor of the preparation were not change during the kept period at all conditions.__
.