การพัฒนาตำรับยาอมเม็ดแข็งจากสารสกัดผักคราดหัวแหวน

โดย: นางสาวพิมลพรรณ พงษ์กล่ำ,นางสาวภาวินี ลีลานุวิทย์    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 14

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , จันทร์เพ็ญ วิวัฒน์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ยาอมเม็ดแข็ง, สารสกัดดอกผักคราดหัวแหวน, ฤทธิ์ต้านจุลชีพ, Lozenge, alcoholic extract of Spilanthes acmella, antimicrobial activity
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ในการ พัฒนาตำรับยาอมเม็ดแข็งที่มีสารสกัดผักคราดหัวแหวนเป็นส่วนประกอบ การทดลองโดยการสกัดแยกผักคราดหัวแหวนส่วนดอก ใบ และลำต้นด้วยเอทานอลที่ความเข้มข้นร้อยละ 70ด้วยวิธีการหมักและกรองและทำให้สารสกัดเข้มข้นด้วยเครื่องระเหยภายใต้ความดันต่ำ จากนั้นนำสารสกัดแต่ละส่วนมาตรวจสอบทางพฤษเคมีเบื้องต้นพบว่าสารสกัดจากทั้ง 3 ส่วนมีสารกลุ่มแอลคาลอยด์ ฟลาโวนอยด์ แทนนิน และโพลีฟีโนลิกเป็นส่วนประกอบเมื่อนำสารสกัดส่วนดอกใบและลำต้นมาทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพโดยวิธี disc diffusionและ broth dilutionพบว่าฤทธิ์ต้านจุลชีพของสารสกัดส่วนดอกต่อ Streptococcus pyogenesและ Staphylococcus aureusมีค่า MBC(minimum bactercidal concentration)ต่อแบคทีเรียทั้งสองมีค่าเป็น40 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร แต่สารสกัดส่วนใบและส่วนลำต้นไม่พบฤทธิ์ต้านจุลชีพ การพัฒนาตำรับยาอมเม็ดแข็งพื้นทำโดยการเตรียมด้วยซูโครสและคอร์นไซรัปที่อัตราส่วน 2:1, 2:2 และ 2:3 พบว่ายาอมเม็ดแข็งที่เตรียมด้วยซูโครสและคอร์นไซรัปที่อัตราส่วน 2:3มีลักษณะทางกายภาพที่ดีกว่าตำรับอื่น เมื่อนำสารสกัดดอกผักคราดหัวแหวนร้อยละ 1, 2,3 และ 4 มาพัฒนาตำรับยาอมเม็ดแข็งร่วมกับ benzalkonium chloride ร้อยละ 0.1 พบว่าความเข้มข้นที่เหมาะสมของสารสกัดส่วนดอกที่ทำให้ยาอมเม็ดแข็งมีความแข็งตัวที่ดี คือ ตำรับที่มีสารสกัดดอกผักคราดหัวแหวนร้อยละ 1 และ 2จากผลการทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพของตำรับยาอมสารสกัดดอกผักคราดหัวแหวนร้อยละ 1 และ 2 พบว่าตำรับยาอมเม็ดแข็งไม่สามารถเสริมฤทธิ์ต้านจุลชีพของ benzalkonium chloride ร้อยละ 0.1 ที่มีในตำรับได้
abstract:
The aim of this special project is to develop the lozenges of paracress (Spilanthes acmella Murr.) extract. Flowers, leaves and stems of dry paracress were separately extracted with 70% ethanol. The extracts were then concentrated using a rotary evaporator. The extracts were then preliminarily evaluated for phytochemical constituents. It was found that all extracts contained alkaloid, flavonoids, tannin and polyphenolic compounds. Furthermore, all extracts were tested for antimicrobial activity by disc diffusion method and broth dilution method. The result revealed that the minimum bactericidal concentration (MBC) of the flower extract against Streptococcus pyogenes and Staphylococcus aureus was equal and had a value of 40 milligram/milliliter. However, the stem extract and the leaf extract didn’t have antimicrobial activity. The lozenges were developed by preparing by using sucrose and corn syrup ratio at 2:1, 2:2 and 2:3.The formulation of sucrose and corn syrup at 2:3 showed the best physical characteristics. Paracress lozenges were then prepared containing 1%, 2%, 3% and 4% by weight of the flower extracts to enhance antimicrobial activity of 0.1% benzalkonium chloride in the preparation. Only 1% and 2 % of the flower extracts were found to produce hard lozenges. The paracress lozenges were subsequently tested for antimicrobial activity. The results indicated that the paracress lozenges of 1% and 2% of the flower extracts couldn’t enhance antimicrobial activity of 0.1% benzalkonium chloride in the preparation.
.