การพัฒนาตำรับยาบ้วนปากสมุนไพร

โดย: วรางคณา ปัญจประทีป, อุษณีย์ เพียรภัทรพงศ์    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 15

อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , ชลธิชา อมรฉัตร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: สมุนไพร,น้ำยาบ้วนปาก,ฟันผุ,มังคุด, Herbal, Mouthwash, Tooth decay, Mangosteen, Garcinia mangostana
บทคัดย่อ:
จากการศึกษาพัฒนาตำรับน้ำยาบ้วนปากป้องกันฟันผุผสมสารสกัดสมุนไพร 3 ชนิดได้แก่ สารสกัดเปลือกมังคุด (Gacinia mangostana Linn.) สารสกัดใยข่อย (streblus asper Lour.)และสารสกัดชาเขียว(Camelia sinensis (L)Kuntze) พบว่าสารสกัดมังคุดที่สกัดด้วย Ethanol 80 %โดยปริมาตรเมื่อนำทดสอบด้วยวิธี Disc diffusion สามารถยับยั้งเชื้อ Streptococcus mutans ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคฟันผุได้ที่ความเข้มข้นไม่น้อยกว่า 2.5 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร(เส้นผ่านศูนย์กลางของวงใสรอบแผ่นกระดาษซับมาตรฐาน7.16 มิลลิเมตร) ส่วนสารสกัดใบข่อยและสารสกัดชาเขียวไม่สามารถยับยั้งเชื้อได้ และเมื่อนำสารสกัดมังคุดมาพัฒนาเป็นตำรับน้ำยาบ้วนปากพบว่าตำรับที่สามารถยับยั้งเชื้อดังกล่าวได้จะต้องมีปริมาณสารสกัดมังคุดไม่ต่ำกว่า 4 กรัมในน้ำยาบ้วนปาก 100 มิลลิลิตรอย่างไรก็ตามน้ำยาบ้วนปากที่เตรียมได้นั้นมีสีค่อนข้างคล้ำ สารสำคัญที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S.mutans ได้แก่สาร alphamangostin ซึ่งเป็นสารหลักในสารสกัดมังคุด ตำรับน้ำยาบ้วนปากมังคุดที่เตรียมได้มีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ S.mutans ได้ต่ำกว่าน้ำยาบ้วนปากที่จำหน่ายในท้องตลาดซึ่งมีสาร Chlorhexidine เป็นส่วนประกอบสำคัญ จากการทดลองพบว่าเมื่อผสมสารสกัดชาเขียวและ/หรือสารสกัดใบข่อยลงในตำรับน้ำยาบ้วนปากทำให้การละลายของตำรับลดลงและตำรับมีสีคล้ำมากยิ่งขึ้นเมื่อพัฒนาตำรับด้วยการเติม Peppermint oil และ Spearmint oil ทำให้ตำรับมีกลิ่นและรสชาติดีขึ้นแต่เมื่อตั้งทิ้งไว้ประมาณ 2 สัปดาห์กลิ่นและรสของตำรับจะลดลงจึงน่าจะมีการพัฒนาตำรับให้ดีขึ้นต่อไป
abstract:
The Development of anti-tooth decay mouthwash formulation containing 3 herbal extracts which were mangosteen (Garcinia mangostana Linn.) fruit rind extract, Koi (Streblus asper Lour.) leaf extract and greentea (Camellia sinensis (L.)Kuntze) extract, it was found that mangosteen fruit rind extract tested by Disc diffusion method could inhibit Streptococcus mutans, an important bacteria causing tooth decay, at a concentration more than 2.5 mg/mL (Clear zone diameter 7.16 mm). Koi and greentea extracts could not inhibited S. mutans. The mouthwash formulation containing the mangosteen extract which could inhibit S. mutans should contain not less than 4 g of the extract in 100 mL of the preparation. However, the prepared preparation had a dark brown color. The active compound against S. mutans was found to be alpha mangostin, a major component in the mangosteen fruit rind extract. The inhibiting activity against S. mutans of the mangosteen mouthwash formulation was lower than a commercial mouthwash containing chlorhexidine as an active ingredient. When greentea extract and/or Koi leaf extract were added into the preparation, the dissolution of the formulation was decreased, but the dark color of the preparation was increased. Adding peppermint and spearmint oils into the formulation, could improve the flavor and taste of the preparation. However, the flavor and taste were diminished after 2 weeks. The formulation should be further developed.
.