การศึกษาลักษณะทางโครมาโทกราฟีของสมุนไพรไทย

โดย: ดวงรัตน์ ชูวิสิฐกุล,สุภาวดี องอาจชัย    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 16

อาจารย์ที่ปรึกษา: ลีณา สุนทรสุข , อ้อมบุญ วัลลิสุต    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: สมุนไพรไทย , ทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี , ไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี, Thai medicinal plants, HPLC, TLC
บทคัดย่อ:
ปัจจุบันสมุนไพรไทยได้รับความนิยมในการนำมาใช้รักษาโรคเนื่องจากมีประสิทธิภาพ มีความปลอดภัยและเป็นการลดการนำยาเข้าจากต่างประเทศ ดังนั้นขั้นตอนการควบคุมคุณภาพวัตถุดิบสมุนไพรจึงมีความสำคัญมากในกระบวนการพัฒนายาสมุนไพรไทย โครงการพิเศษนี้ศึกษาลักษณะทางโครมาโทกราฟิคของสารสกัดแอลกอฮอลจากตัวอย่างสมุนไพรไทยที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาจำนวน 10 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย อินทนิลน้ำ (Lagerstroemia speciosa), กะทกรก (Passiflora foetida), สำมะงา (Clerodendrum inerme), หนาดใหญ่ (Blumea balsamifera), กรดน้ำ (Scoparia dulcis), ขี้กาลาย (Tricosanthes bracteata), ครอบฟันสี (Abutilon indicum), พลูคาว (Houttuynia cordata), บอระเพ็ดพุงช้าง (Stephania suberosa) และ สบู่เลือด (Stephania pierrei) การศึกษานี้ใช้เทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี (thin layer chromatography, TLC) และไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโทกราฟี (high performance liquid chromatography, HPLC) การศึกษาลักษณะทางโครมาโทกราฟิคของสมุนไพรไทยทั้ง 10 ชนิด ด้วยเทคนิคทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี โดยใช้เฟสคงที่คือ ซิลิกา เจล เอฟ 254 และ ระบบเฟสเคลื่อนที่ 2 ระบบ คือ คลอโรฟอร์ม : เมทานอล, 8 : 2 และ 9 : 1 พบว่า ระบบเฟสเคลื่อนที่ระบบที่ 2 มีความเหมาะสมสำหรับสมุนไพรไทยทั้ง 10 ชนิดมากกว่าระบบที่ 1 สำหรับเทคนิคไฮเพอร์ฟอร์มานซ์ลิควิดโครมาโทกราฟีได้ศึกษาในสมุนไพรไทย 3 ชนิด คือ กะทกรก (จากจังหวัดชลบุรีและประจวบคีรีขันธ์), อินทนิลน้ำ และสำมะงา บนคอลัมน์รีเวอส์เฟส (C18) โดยการตรวจวัดการดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตที่ความยาวคลื่น 215 นาโนเมตร ปัจจัยที่มีผลต่อการแยกสารสมุนไพร ได้แก่ ความเป็นกรดด่างและความเข้มข้นของกรดฟอสฟอริค ชนิดของตัวทำละลายอินทรีย์ และอัตราการไหลของเฟสเคลื่อนที่ จากการศึกษาพบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการแยกสารสกัดจากสมุนไพร คือ ระบบเฟสเคลื่อนที่แบบเกรเดียน ของอะซิโตไนไตร์ในน้ำ ซึ่งประกอบด้วย 1 เปอร์เซ็นต์ 0.1นอร์มัล กรดฟอสฟอริค โดยใช้อัตราการไหลของเฟสเคลื่อนที่ 0.7 มิลลิลิตรต่อนาที
abstract:
Currently utilization of drugs from Thai medicinal plants is an issue of interest nation wide because of their efficacy and safety. Additionally, they help in reducing the importation of expensive drugs from aboard. Quality control of the raw materials is an indispensable step, prior to making use of the medicinal plants. This work has been devoted to the study of the chromatographic behaviors of ten Thai medicinal plants containing pharmacological activities. These plants include Lagerstroemia speciosa, Passiflora foetida, Clerodendrum inerme, Blumea balsamifera, Scoparia dulcis, Tricosanthes bracteata , Abutilon indicum, Houttuynia cordata, Stephania suberosa and Stephania pierrei. Thin layer chromatography (TLC) was performed on the ethanolic extract using silica gel F 254 as adsorbent and mixtures of chlorofrom and methanol, 8:2 and 9:1, as solvent systems, the studies showed that the latter (9:1) solvent system provided the better results than the former (8:2). Three Thai medicinal plants, Plassiflora foetida (Prajuabkerekun and chonburi), Lagerstroemia speciosa and Clerodendrum inerme were further studied by high performance liquid chromatography (HPLC) on a C18 column. Factors affecting separation of constituents in the plants were pH of the mobile phase and concentration of phosphoric acid, the type of organic modifier and the flow rate of mobile phase. The optimum conditions were the gradient of acetonitrile in water containing 1% of 0.1N phosphoric acid with a flow rate of 0.7 ml/min and a detection wavelength at 215 nm.
.