การเตรียมยาเม็ดโพแทสเซียมคลอไรด์ชนิดควบคุมการปลดปล่อยด้วยระบบออสโมติก

โดย: นรินทร์ เทิดภาปิยะนาค,บริวัฒน์ พายัพทิศารักษ์    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 16

อาจารย์ที่ปรึกษา: ณัฐนันท์ สินชัยพานิช , อำพล ไมตรีเวช , พจนีย์ สุริยะวงค์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: โพแทสเซียมคลอไรด์, ยาเม็ดออสโมติกปั๊ม. เซลลูโลสอะซิเตท, โพลีเอธิลลีนไกลคอล, potassium chloride, osmotic pump, cellulose acetate, polyethylene glycol
บทคัดย่อ:
ยาเม็ดออสโมติกปั๊มเป็นรูปแบบยารับประทาน ซึ่งสามารถปลดปล่อยยาในร่างกายโดยมี ลักษณะจลนศาสตร์อันดับศูนย์ ยาเม็ดแกนซึ่งสามารถละลายน้ำได้นั้นถูกเคลือบด้วยเยื่อเลือก ผ่าน เพื่อให้ยาสามารถผ่านออกมาได้ ในการเตรียมยาเม็ดออสโมติกปั๊ม สามารถสร้างช่องเปิด โดยการเจาะรูด้วยวิธีที่เหมาะสม โดยที่ในการศึกษานี้ได้เตรียมยาเม็ดแกนโพแทสเซียมคลอไรด์ ด้วยวิธีตอกโดยตรง ซึ่งโพแทสเซียมคลอไรด์ที่ใช้นอกจากจะเป็นตัวยาสำคัญแล้วยังเป็นสารก่อ แรงดันออสโมติกอีกด้วย ทำการตอกยาด้วยเครื่องตอกอัตโนมัติชนิดสากเดียว โดยใช้สากหน้าโค้ง ขนาด 10.5 มิลลิเมตร ให้ได้น้ำหนักยาเม็ดเท่ากับ 600 มิลลิกรัม จากการประเมินยาเม็ดแกน พบว่า ความแข็งเฉลี่ย 23.8 กิโลกรัม, ความกร่อน ร้อยละ 0.27 และผลการวิเคราะห์ของความ สม่ำเสมอของตัวยาและปริมาณของตัวยาสำคัญ เท่ากับ ร้อยละ 10.8 และ ร้อยละ 94.9 ของ ปริมาณที่ระบุ ตามลำดับ ซึ่งถือว่าเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของ USP30 ทำการเคลือบยาเม็ด แกนด้วยสารละลายเซลลูโลสอะซิเตท ในอะซีโตนความเข้มข้นร้อยละ 3 โดยน้ำหนักต่อปริมาตร ให้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นร้อยละ 2, 3 และ 4 โดยน้ำหนัก สารละลายสำหรับเคลือบนั้นยังประกอบไป ด้วยโพลีเอธิลลีนไกลคอล ความเข้มข้น ร้อยละ 10 และ 20 ของปริมาณเซลลูโลสอะซิเตทที่ใช้ สำหรับเป็นพลาสทิไซเซอร์ในตำรับ ซึ่งผลการทดสอบการละลายที่เวลา 2 ชั่วโมงพบว่ายาเม็ด ออสโมติกปั๊มไม่มีการแตกตัวและมีค่าการปลดปล่อยตัวยาอยู่ในช่วงระหว่างร้อยละ 1.8 – 33.7 ตำรับส่วนใหญ่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานการปลดปล่อยของ USP30 จากการศึกษาแสดงนี้ แสดงให้เห็นว่าอัตราการปลดปล่อยยาที่ลดลงสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของความหนาของชั้นฟิล์ม ในขณะที่การเพิ่มขึ้นของปริมาณโพลีเอธิลลีนไกลคอลจะส่งผลให้อัตราการปลดปล่อยยาเพิ่มขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้นี้สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาหาสูตรตำรับที่เหมาะสมต่อไป
abstract:
Osmotic pump tablets are oral solid forms which can provide zero-order drug release in the body. To prepare the osmotic pump tablets, the soluble cores are coated with semi-permeable membranes and they were drilled with CO2-Laser equipment to form the drug delivery orifice. In this study, core potassium chloride tablets were prepared by direct compression method. Potassium chloride was used as active drug and also as osmogent. The 600-mg core tablets were compressed by single punch tablet machine using of 10.5 mm concaved tooling. The core tablets were evaluated for physical properties, it was found that the average hardness and friability were 23.8 kg and 0.27%, respectively. The value of weight variation and the assay of the drug content of core tablet were10.8% and 94.9 of the labeled amounts, respectively, which conformed USP30 requirements. Core tablets were coated with 3% w/v cellulose acetate (CA) in acetone to achieve 2%, 3% and 4% weight increase. The coating solution also comprised PEG as plasticizer at the concentration of 10% and 20% with respect to CA contents. After 2 hours of the dissolution test, the coated tablets did not disintegrate and the amount of drug release was in the range of 1.8 – 33.7%. Most of the formulations met the USP30 requirement for drug release. The present study showed that the drug release decreased with the increase in film thickness while the increase in PEG resulted in the increased drug release. The further study should be carried out in order to obtain appropriate formulation.
.