การศึกษาและพัฒนาดอกกันภัยมหิดลสาหรับใช้ทางเครื่องสำอาง

โดย: นางสาวปริณดา ก่อเศรษฐการ,นางสาวปวรรณรัตน์ คาสิงห์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 16

อาจารย์ที่ปรึกษา: วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย , ศรุต นิธิธนากุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: สารสกัดดอกกันภัยมหิดล, ฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส, ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจิเนส, ปริมาณฟีนอลลิกรวม, ปริมาณฟลาโวนอยด์รวม, การทดสอบความคงตัว, Afgekia mahidolae flower extract, antioxidant, anti-tyrosinase, anti-collagenase, total phenolic content, total flavonoid content, stability
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดดอกกันภัยมหิดลและพัฒนาตารับเจลเพื่อใช้ทางผิวหนัง ดอกกันภัยมหิดลถูกสกัดด้วยตัวทาละลายผสมระหว่างโพรพิลีนไกลคอลและน้า (30%, 50% และ 70%) นาสารสกัดมาทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี DPPH และ ABTS ทดสอบฤทธิ์ anti-tyrosinase ทดสอบฤทธิ์ anti-collagenase และหาปริมาณ total phenolic content และ total flavonoid content นอกจากนี้ได้ทาการทดสอบทางจุลชีววิทยาและหาค่า water activity ของสารสกัดดอกกันภัยมหิดล จากผลการทดสอบพบว่าสารสกัดดอกกันภัยมหิดลที่สกัดด้วย 70% PG มีฤทธิ์ทางชีวภาพดีที่สุดเมื่อเทียบกับการสกัดด้วย 30% และ 50% PG ผลการทดสอบฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของ 70% PG จากวิธี DPPH และ ABTS มีค่า IC50 เท่ากับ 2.99 และ 1.29 mg/ml ตามลาดับ การวิเคราะห์ปริมาณ total phenolic content และ total flavonoid content พบว่าสารสกัดดอกกันภัยมหิดลที่สกัดด้วย 70% PG มีปริมาณมากที่สุดเท่ากับ 0.74 mg gallic acid/g extract และ 0.54 mg catechin/g extract ตามลาดับ จากนั้นนาสารสกัดดอกกันภัยมหิดลที่สกัดด้วย 70% PG มาทาการศึกษาฤทธิ์ในการยับยังการทางานของเอนไซม์ collagenase และเอนไซม์ tyrosinase จากผลการทดสอบพบว่าฤทธิ์ในการยับยั้งการทางานของเอนไซม์ collagenase มีค่า IC50 เท่ากับ 0.38 mg/ml ขณะที่การยับยั้งการทางานของเอนไซม์ tyrosinase ไม่สามารถระบุหาค่า IC50 ได้ ผลการทดสอบเสถียรภาพของสารสกัดดอกกันภัยและเจลที่มีส่วนผสม 2% สารสกัดดอกกันภัยมหิดลพบว่ามีความคงตัวดีเมื่อเก็บไว้ที่ อุณหภูมิ 4, 25 และ 40 องศาเซลเซียส ตลอดระยะเวลา 3 เดือน
abstract:
The aims of this study were to evaluate the bioactivities of Akgekia mahidolae flower extracts and to formulate this flower extract in a gel form for topical use. Akgekia mahidolae flower were extracted by using three different ratios of propylene glycol (PG) and water (30%, 50% and 70% PG). The bioactivity assays included antioxidant property by DPPH assay and ABTS assay, anti-tyrosinase assay and anti-collagenase. Bioactive compounds which are total phenolic and total flavonoid contents were determined. Ther results reveal that Akgekia mahidolae extract in 70% PG exhibited the highest activity to scavenge the DPPH and ABTS radicals with the IC50 value of 2.99 and 1.29 mg/ml, respectively. In addition, this flower extract also exhibited the highest total phenolic and total flavonoid contents as compared to 30% and 50% PG Afgekia mahidolae flower extracts. As a result, 70% PG Afgekia mahidolae flower extract was selected for investigating anti-tyrosinase and anti-collagenase activities. The results showed that 70% PG Afgekia mahidolae flower extract inhibited remarkable the activity of collagenase with the IC50 of 0.38 mg/ml. However, the anti-tyrosinase IC50 could not be detected. According to stability results, all Afgekia mahidolae flower extracts and gel containing 2% Afgekia mahidolae flower extract (70% PG) were stable after 3-month storage at 4, 25 and 40 °C.
.