การพัฒนาสบู่สมุนไพรต้านเชื้อPropionibacterium acne

โดย: ณัฐพันธุ์ ตันตินฤพงษ์,ตุลาภรณ์ ม่วงแดง    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 17

อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , พจนีย์ สุริยะวงค์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: Propionibacterium acnes , Staphylococcus aureus , สิว, สบู่เหลว,เหงือกปลาหมอดอกขาว,สำมะงา,ตำลึง,บัวบก,เสม็ดขาว,มังคุด, Propionibacterium acnes, Staphylococcus aureus, Acne, Liquid soap, Acanthus ebractea-tus, Clerodendrum inerme ,Coccinia grandis ,Centella asiatica ,Melaleuca leucadendra var. minor, Mangosteen
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับสบู่เหลวสมุนไพรที่มีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ Propionibacterium acnes และ Staphylococcus aureus ที่เป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดสิวและการเกิดฝีหนองตามลำดับ โดยทำการทดลองหาฤทธิ์ต้านเชื้อของสารสกัดสมุนไพร 6 ชนิดได้แก่ ใบเหงือกปลาหมอดอกขาว ใบตำลึง ใบสำมะงา เปลือกผลมังคุด ใบเสม็ดขาว ใบและก้านบัวบก พบว่าสารสกัดน้ำจากใบสำมะงา และสารสกัดแอลกอฮอล์ของเปลือกมังคุด ใบและก้านบัวบก และใบเสม็ดขาว มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ S. aureus ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้สารสกัดแอลกอฮอล์ของเปลือกมังคุดและใบเสม็ดขาวมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อ P. acnes ด้วย โดยที่สารสกัดจากเปลือกมังคุดได้ผลดีกว่าใบเสม็ดขาว แต่สารสกัดทั้งสองให้ผลต้านฤทธิ์กันในการยับยั้งเชื้อ P. acnes ดังนั้นจึงเตรียมเป็นสบู่เหลวสมุนไพรของสารสกัดแต่ละชนิด แล้วทำการทดสอบฤทธิ์เปรียบเทียบกับโฟมล้างหน้า TEA TREE ®พบว่าสบู่เหลวสมุนไพรที่ประกอบด้วยสารสกัดแอลกอฮอล์จากเปลือกมังคุด ร้อยละ 0.15 สารสกัดแอลกอฮอล์จากใบเสม็ดขาวร้อยละ 0.24 และ 1.18 มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อ S. aureus และ P. acnes เล็กน้อย และเมื่อตั้งสบู่เหลวทิ้งไว้เป็นเวลา 1 เดือน พบตะกอนที่ก้นภาชนะ ซึ่งอาจเกิดจากสารสกัดที่ได้ส่วนใหญ่ละลายในแอลกอฮอล์ ไม่ละลายน้ำ แต่ในตำรับสบู่เหลวมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ในปริมาณสูงจึงทำให้มีตะกอนเกิดขึ้น เมื่อพัฒนาตำรับสมุนไพรทั้งสองในรูปของโลชั่น และทำการทดสอบฤทธิ์ในการต้านเชื้อ P. acnes และ S. aureus พบว่าโลชั่นที่ประกอบด้วยสารสกัดจากเปลือกมังคุดร้อยละ 0.75 และ สารสกัดจากใบเสม็ดขาวร้อยละ 1.18 มีฤทธิ์ในการต้านเชื้อมากกว่าโลชั่นพื้นเล็กน้อย ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาตำรับสมุนไพรนี้อย่างต่อเนื่องโดยการปรับเปลี่ยนวิธีการสกัด ทำการหาสมุนไพรอื่นที่เสริมฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ ตั้งตำรับสบู่เหลวขึ้นใหม่ หรือพัฒนาตำรับในรูปครีมและโลชั่น ฯลฯ ให้มีคุณสมบัติทางกายภาพ เคมี และชีวภาพให้ดียิ่งขึ้นต่อไป
abstract:
The objective of this project was to develop an effective antimicrobial herbal liquid soap for Propionibacterium acnes and Staphylococcus aureus which are the major cause of acne and skin abscess,respectively. Six herbs were selected and extracted for the antimicrobial tests : Acanthus ebracteatus(I), Clerodendrum inerme (II), Coccinia grandis (III), Centella asiatica (IV), Melaleuca leucadendra var. minor (V) and mango-steen (VI). The results showed that water extracts of (II) and alcoholic extracts of (IV),(V) and (VI) could inhibit S. aureus effectively, and the alcoholic extracts of (V) and (VI) could also inhibit P. acnes. However, the extract of VI showed better results than the extract of V. Combined extract of V and VI was tested against P. acnes and showed antagonism effect. The herbal extract liquid soaps were then formulated and tested against P.acnes and S.aureus compared with TEA TREE ®facial foam. The results revealed that 0.15% mangosteen liquid soap and 0.24% and 1.18% M. leucadendra var. minor liquid soaps showed slightly inhibition against P. acnes and S. aureus. After one month storage, the liquid soaps showed some particle which could be caused by the precipitation of water insoluble compounds contained in the extracts. However, the 0.75% mangosteen lotion and 1.18% M. leucadendra var.minor lotion showed inhibition against P. acnes and S. aureus slightly, as compared to the control. Therefor, further study should be performed in order to improve a good quality product.
.