การศึกษาและพัฒนาสารสกัดจากหญ้าฮี๋ยุ่มสาหรับใช้ทางเครื่องสาอาง

โดย: นางสาวณิชพัณณ์ มุกรัศมีพัฒน์,นางสาวณิชา ศิริสุนทรลักษณ์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 17

อาจารย์ที่ปรึกษา: วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี , พิมผกา วนสวัสดิ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: หญ้าฮี๋ยุ่ม, ต้านอนุมูลอิสระ, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์ไทโรซิเนส, ฤทธิ์ต้านเอนไซม์คอลลาจีเนส, Centotheca lappacea (L.) Desv., antioxidant, anti-tyrosinase, anti-collagenase
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่ม และพัฒนาตารับครีมของสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มเพื่อใช้ทางผิวหนัง ผลการทดสอบพบว่าสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วย 70% โพรพิลีนไกลคอล มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระมากที่สุดเมื่อเทียบกับสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วย 30% และ 50% โพรพิลีนไกลคอล โดยมีค่า IC50 เท่ากับ 56.02 และ 199.62 mg/ml เมื่อทาการทดสอบด้วยวิธี DPPH และ ABTS assay ตามลาดับ การวิเคราะห์ปริมาณสารสาคัญพบว่าสารสกัดฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วย 70% โพรพิลีนไกลคอล มีปริมาณฟีนอลลิกรวม (0.42 mg gallic acid/g extract) และปริมาณฟลาโวนอยด์รวม (0.24 mg catechin/g extract) มากที่สุด ดังนั้นสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วย 70% โพรพิลีนไกลคอล จึงถูกนามาศึกษาฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนสและฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส ผลการทดสอบพบว่าฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์คอลลาจีเนสมีค่า IC50 เท่ากับ 30.78 mg/ml ขณะที่ฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนสไม่สามารถระบุหาค่า IC50 ได้ ผลการทดสอบความเสถียรภาพที่สภาวะจัดเก็บ 4, 25 และ 40 องศาเซลเซียส ระยะเวลา 3 เดือน ของสารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วย 70% โพรพิลีนไกลคอล ทดสอบด้วยวิธี DPPH พบว่ามีความคงตัวดี ผลการทดสอบเสถียรภาพของครีมที่มีส่วนผสม 2% สารสกัดหญ้าฮี๋ยุ่มที่สกัดด้วย 70% โพรพิลีนไกลคอล พบว่ามีความคงตัวดีทุกสภาวะของการจัดเก็บ
abstract:
The aim of this study was to evaluate the bioactivities of Repair grass (Centotheca lappacea (L.) Desv.) extracts and to formulate this extract in a cream form for topical use. The obtained results showed that 70% PG Repair grass extract had maximum antioxidant activity as compared to 30% and 50% PG Repair grass extracts. The IC50 of 70% PG Repair grass extract was 56.02 and 199.62 mg/ml determined by DPPH and ABTS assays, respectively. Furthermore, this extract also showed the highest total phenolic (0.42 mg gallic acid/ g extract) and total flavonoid contents (0.24 mg catechin/ g extract). As a result, 70% PG Repair grass extract was subjected for evaluating anti-tyrosinase and anti-collagenase activities. 70% PG Repair grass extract inhibited the activity of collagenase with the IC50 of 30.78 mg/ml but the anti-tyrosinase IC50 could not be observed. The stability of 70% PG Repair grass extract was determined by evaluating the antioxidant effect by DPPH assay after 3 months of storage at 4, 25 and 40 °C compared to initial. The obtained results indicated that antioxidant activity of 70% PG Repair grass stored at 4, 25 and 40 °C was significantly not different compared to initial. Based on stability data, cream containing 70% PG Repair grass at the concentration of 2% was stable at all storage conditions.
.