การพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำลายเทียมสำหรับผู้ป่วยภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย

โดย: นางสาวสตฤณยา ทองวิลาศ,นายสรรพกิตติ์ รอดเชื้อจีน    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 17

อาจารย์ที่ปรึกษา: วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล , อัญชลี จินตพัฒนากิจ , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: น้ำลายเทียม, ภาวะปากแห้ง, ภาวะน้ำลายน้อย, มะเร็งศีรษะและลำคอ , Artificial saliva, Xerostomia, Hyposalivation, Head and neck cancer
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์น้ำลายเทียมที่มีความเสถียรภาพ มีคุณสมบัติการยึดเกาะเยื่อเมือกได้ดี และให้ความชุ่มชื้นแก่ช่องปากในผู้ป่วยที่มีภาวะปากแห้งน้ำลายน้อย ที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยมะเร็งศีรษะและลำคอที่ได้รับการฉายรังสี โดยสารก่อเจลใช้ในการศึกษานี้ คือ คาร์โบพอล 974P NF และ ไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส และจากการศึกษาพบว่า คาร์โบพอล 974P NF 1.5%, ไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส 1.5% และ คาร์โบพอล 974P NF 0.5% ผสมกับไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส 0.5% มีลักษณะเนื้อเจลและความหนืดเหมาะสมที่สุด ใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์ Biotène Oral balance® gel โดยลักษณะผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้เป็นเจลใสและไม่มีสี ค่า pH อยู่ในช่วง 6.0-7.0 ซึ่งเป็นค่า pH ที่อยู่ในช่วงเดียวกับน้ำลายในมนุษย์ และผลการทดสอบเชื้อพบว่าผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนด Microbial Enumeration Test ของ USP 40 และจากการศึกษาสมบัติการยึดเกาะเยื่อเมือกด้วยวิธี mucin particle method พบว่า ตำรับมีคุณสมบัติการยึดเกาะเยื่อเมือกสูงสุดคือ คาร์โบพอล 974P NF 1.5% รองลงมาคือ คาร์โบพอล 974P NF 0.5% ผสมกับไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส 0.5% และไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส 1.5% ตามลำดับ และจากการศึกษาคุณสมบัติการให้ความชุ่มชื้นโดยทำการทดสอบในหลอดทดลองกับกระพุ้งแก้มหมู พบว่า ตำรับที่ให้ความชุ่มชื้นสูงสุด คือ คาร์โบพอล 974P NF 0.5% ผสมกับไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส 0.5% รองลงมาคือ คาร์โบพอล 974P NF 1.5% และไฮดรอกซีเอทิลเซลลูโลส 1.5% ตามลำดับ โดยตำรับที่เตรียมได้มีพฤติกรรมการไหลแบบนอนนิวโทเนียน เมื่อนำไปทดสอบความเสถียรภาพ ที่ระยะเวลา 28 วัน พบว่าทุกตำรับมีความคงตัวทางกายภาพที่ดี เมื่อเก็บที่อุณหภูมิต่างๆ (4ºC, 30ºC และ 40ºC)
abstract:
This special project aimed to develop artificial saliva gels with high stability, mucoadhesive properties and providing highly moisture content for treatment of chemotherapy-induced and/or radiation therapy-induced xerostomia in head and neck cancer patients. Carbopol 974P NF and hydroxyethylcellulose were used as gelling agents in this study. Various artificial saliva gels were prepared and it was found that the suitable concentration of polymers which provided the similar viscosity and texture to benchmark product (Biotène Oral balance® gel) was 1.5% Carbopol 974P NF, 1.5% hydroxyethylcellulose and the combination of 0.5% Carbopol 974P NF and 0.5% hydroxyethylcellulose. After preparation, the appearance of artificial saliva gels was clear and colorless with the pH in the range of 6.0-7.0. The microbiological examination was conducted according the Microbial Enumeration Test regarding USP 40 and all preparations were passed. The mucoadhesive effect was evaluated by mucin particle method. The artificial saliva gel prepared from 1.5% Carbopol 974P showed the highest mucoadhesive properties, followed by that prepared from the combination of 0.5% Carbopol 974P NF and 0.5% hydroxyethylcellulose, and 1.5% hydroxyethylcellulose, respectively. Based on in vitro moisturization study using porcine buccal as a model, the artificial saliva gel prepared from the combination of 0.5% Carbopol 974P NF and 0.5% hydroxyethylcellulose polymers provided the highest moisture content, followed by that prepared from 1.5% Carbopol 974P NF and 1.5% hydroxyethylcellulose, respectively. The rheological behavior of all developed artificial saliva gels was Non-Newtonian. All preparations were stable after storage at different conditions (4ºC, 30ºC and 40ºC) for 28 days.  
.