การสกัดแยกไวตามินซีจากสมุนไพร

โดย: สุชาดา นิลกำแหง,อโนชา เปาชม    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 18

อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , ลีณา สุนทรสุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้ ศึกษาการวิเคราะห์ปริมาณวิตามินซีในสมุนไพรไทย โดยวิธี Iodometric method จากการตรวจสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์พบว่าสามารถนำไปวิเคราะห์ปริมาณวิตามินซีในตัวอย่างสมุนไพรได้ โดยมีค่าความถูกต้อง (accuracy) ซึ่งคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ recovery ในช่วง 98.0-105.0 เปอร์เซ็นต์ ค่าความแม่นยำซึ่งคำนวณจากเปอร์เซ็นต์ความเบี่ยงเบนมาตรฐานในช่วง 0.7-1.5 เปอร์เซ็นต์ ค่าความสัมพันธ์เส้นตรง(R2) 0.9999-1.000 ปริมาณต่ำสุดที่สามารถตรวจวัดได้ 2.2 มิลลิกรัม และปริมาณต่ำสุดที่สามารถวิเคราะห์ได้ 7.3 มิลลิกรัมวิธีดังกล่าวนำมาใช้ในการตรวจวิเคราะห์ปริมาณวิตามินซีในน้ำคั้นผลสดของสมุนไพร 6 ชนิด ได้แก่ ฝรั่ง (Psidium guajava Linn.), มะขามป้อม (Phyllanthus embica Linn.), มะนาว (Citrus aurantifollia Swing.), พริกยักษ์(Capsicum annuum Linn.), มะดัน (Garcinia schomburgkiana Pierre.), เสาวรส (Passiflora laurifolia Linn.) พบปริมาณวิตามินซีดังนี้ ฝรั่ง 80.1,มะขามป้อม 226.0,พริกยักษ์ 52.8,เสาวรส 39.1,มะนาว 10.5 และมะดัน 4.6 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมผลสด จึงนำน้ำคั้นมะขามป้อมและฝรั่งซึ่งมีวิตามินซีสูงสุดสองอันดับแรก มาทำเป็นผงแห้งโดยวิธีการทำแห้งแบบเยือกแข็ง แล้ววิเคราะห์หาปริมาณวิตามินซีในผงแห้งของฝรั่งและมะขามป้อมพบว่ามีปริมาณวิตามินซี 46.9 และ 179.8 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมผลสดตามลำดับ จากการวิเคราะห์ความคงตัวของปริมาณวิตามินซีในผงแห้งหลังจากเก็บไว้ในโถดูดความชื้นเป็นระยะเวลา 1 เดือน พบว่าในผงแห้งของฝรั่งและมะขามป้อมมีปริมาณวิตามินซี 33.8 และ 172.7 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัมผลสดตามลำดับ และจากการตรวจสอบโดยวิธี ทินเลเยอร์ โครมาโทกราฟี(Thin layer chromatography,TLC) หลังจากเก็บผงแห้งในโถดูดความชื้นเป็นระยะเวลา 2 เดือน พบว่าผงแห้งฝรั่งและมะขามป้อมยังคงมีวิตามินซีอยู่ เมื่อเทียบกับวิตามินซีมาตรฐาน
abstract:
Iodometry method was employed for determination of vitamin C in Thai medicinal plants. The method was reliable and validated with the percent recovery of 98.0 -105.0 %. The precision of the method calculated as percent relative standard deviations (%RSD) was 0.7-1.5% and the linearity (R2) was 0.9999-1.0000. The method offered good limit of detection and limit of quantitation, which were 2.2 and 7.3 mg, respectively. The method was used to determine vitamin C content in guava (Psidium guajava Linn.), emblic myrobolan (Phyllanthus embica Linn.), lemon (Citrus aurantifollia Swing.), sweet pepper (Capsicum annuum Linn.), Garcinia schomburgkiana Pierre., passion fruit (Passiflora laurifoia Linn.). The amount of vitamin C found were guava 80.1, emblic myrobolan 226.0, sweet pepper 52.8, passion fruit 39.1, lemon 10.5, Garcinia schomburgkiana 4.6 mg /100 g, respectively. Emblic myrobolan and guava juice, which contained highest Vitamin C, were freeze–dried and re-analyzed. Vitamin C in both freeze–dried samples decreased to 46.9 and 179.8 mg/100 g, respectively. Stability of the freeze–dried samples was examined by keeping the samples in a dessicator and the vitamin C content was re-analyzed during the first and second month of the storage. Results showed that after one month, vitamin C in guava and emblic myrobolan juice were 33.8 and 172.7 mg/100 g, respectively and after two month traces of Vitamin C was still existed when detected by TLC comparing to the standard.
.