การพัฒนาตำรับไวตามินซีจากสมุนไพร

โดย: เสาวนิตย์ ดาวรัตนชัย,อรวรรณ จันทร    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 18

อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , ลีณา สุนทรสุข , ฤดี เสาวคนธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: มะขามป้อม, ไวตามินซี , Emblic myrobolan, Vitamin C
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับไวตามินซีจากสมุนไพร โดยคัดเลือกสมุนไพรที่มีรายงานว่ามีปริมาณไวตามินซีมาก คือ ผลมะขามป้อม (Phyllanthus emblica Linn.) โดยการนำน้ำคั้นผลสดมาทำเป็นผงแห้งโดยวิธีทำให้แห้งแบบเยือกแข็ง (Freeze dry) เพื่อนำมาตอกเป็นเม็ด พบว่า ผงแห้งที่ได้ดูดความชื้นเร็วมาก ไม่สามารถที่จะนำไปผสมกับส่วนประกอบอื่น ๆ เพื่อตอกเป็นเม็ดได้โดยตรง จึงใช้วิธีละลายผงแห้งใน alcohol แล้วใช้เป็นสารช่วยยึดเกาะในตำรับ โดยเลือกชนิดและปริมาณของสารช่วยเพิ่มปริมาณแตกต่างกันไปในแต่ละตำรับจำนวน 4 สูตรตำรับ ซึ่งพบว่าต้องใช้สารช่วยเพิ่มปริมาณจำนวนมาก เพื่อให้สามารถทำเป็น granule ได้ จากนั้นนำไปตอกเป็นเม็ดในสภาวะที่มีการควบคุมความชื้น (ความชื้นสัมพัทธ์ 40% อุณหภูมิ 25 0ซ) เมื่อสุ่มตัวอย่างมาประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า ทุกตำรับได้ยาเม็ดที่มีผิวเนียนเรียบ สีน้ำตาลเหลือง รสฝาด น้ำหนักเม็ดยาในแต่ละตำรับอยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับได้ตาม BP ปริมาณไวตามินซีในแต่ละตำรับมีค่าใกล้เคียงกัน แต่สูตรตำรับที่ใช้แป้งข้าวโพดอย่างเดียวเป็นสารช่วยเพิ่มปริมาณนั้น เม็ดยาแตกได้ง่าย และมีความกร่อนสูง หลังจากเก็บไว้นาน 1 สัปดาห์ใน dessicator พบว่ารสชาติ กลิ่น และปริมาณไวตามินซีจากทุกตำรับไม่เปลี่ยนแปลง แต่สีของเม็ดยาไม่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะจากสูตรตำรับที่ใช้แป้งข้าวโพดอย่างเดียว จะเห็นได้ชัดเจนที่สุด หลังจากเก็บไว้นาน 1 เดือน พบว่าเม็ดยาที่ได้ในแต่ละสูตรดูดความชื้นทำให้เม็ดยามีน้ำหนักและความเหนียวเพิ่มขึ้น
abstract:
The aim of this project is to develop vitamin C preparation using a medicinal plant containing high vitamin C, Emblic myrobolan (phyllanthus embica Linn.).The extract prepared by compressing fresh fruits was freeze-dried. The fresh extract and the freeze-dried powders were analyzed for vitamin C content. The freeze-dried powders were very hygroscopic and could not be prepared by direct compression method. So, 95% ethyl alcohol was used for dissolving the powders and this thickening solution was used as binder in the formulae. Four formulae containing different diluents were prepared to make wet granules for compression at 25 0C and 40% relative humidity. The tablets showed yellow-brownish color, smooth surface, and astringent taste. The weight of each tablet is acceptable according to B.P. Amount of vitamin C in each formula was not much different when analyzed by Iodiometry method. The formula that contains only cornstarch as the diluent showed high fragility and friability. After one week storage in a dessicator, it was found that taste, flavor and vitamin C content in each formula was not much changed but the color of the tablet was not homogenous especially the formula using only corn starch. After one month, weight and stickness of the tablet of every formula were increased due to hygroscopy.
.