การพัฒนาระบบลิควิด คริสตัล ลาเมลลา สาหรับใช้ทางผิวหนัง

โดย: นางสาวมิ่งขวัญ สาสนทาญาติ,นางสาวเมธาวี เสรีชวโรจน์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 18

อาจารย์ที่ปรึกษา: วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ลิควิด คริสตัล ลาเมลลา, วิตามินอี, เสถียรภาพ, Liquid crystal lamella, Vitamin E, Stability
บทคัดย่อ:
งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิตามินอีในรูปแบบของระบบลิควิด คริสตัล ลาเมลลา สาหรับใช้ทางผิวหนัง โดยทาการศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อคุณสมบัติของลิควิด คริสตัล ลาเมลลา เช่น เปอร์เซ็นของสารก่ออิมัลชัน ชนิดของน้ามัน อุณหภูมิในการเตรียม และทาการศึกษาความคงตัวของลิควิด คริสตัล ลาเมลลาที่เตรียมได้ที่ 4 °C, 25 °C และ 40 °C และศึกษาชนิดของน้ามันต่อการปลดปล่อยของวิตามินอีออกจากระบบลิควิด คริสตัล ลาเมลลา เทียบกับอิมัลชัน ในการศึกษานี้ ลิควิด คริสตัล ลาเมลลา เตรียมจากน้ามัน 3 ชนิดที่มีโครงสร้างที่แตกต่างกันได้แก่ mineral oil, caprylic/ capric triglyceride และ isononyl isononanoate และ Olivem®1000 เป็นสารก่ออิมัลชัน จากผลการทดลองพบว่า อุณหภูมิในการเตรียมมีผลต่อการเกิด ลิควิด คริสตัล ลาเมลลา ชนิดของน้ามันมีผลต่อขนาดอนุภาคของ ลิควิด คริสตัล ลาเมลลา โดยลิควิด คริสตัล ลาเมลลา ที่เตรียมจาก caprylic/capric triglyceride มีขนาดอนุภาคเล็กที่สุด นอกจากนี้ชนิดของน้ามันยังมีผลต่อพฤติกรรมการไหลของ ลิควิด คริสตัล ลาเมลลา ที่เตรียมได้ การเพิ่มวิตามินอีในตารับทาให้ขนาดอนุภาคใหญ่ขึ้น ในการศึกษาความคงตัวในสภาวะเร่งพบว่า ลิควิด คริสตัล ลาเมลลา มีการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะที่สภาวะ 40 °C ในด้าน สี กลิ่น รูปร่าง พีเอช และปริมาณวิตามินอี ในการศึกษาการปลดปล่อยของวิตามินอีจาก ลิควิด คริสตัล ลาเมลลา พบว่าระบบลิควิด คริสตัล ลาเมลลา สามารถกักเก็บวิตามินอีได้ดี จึงไม่พบการปลดปล่อยวิตามินอีออกมา
abstract:
The aim of this study was to develop vitamin E-loaded liquid crystal lamella for topical delivery system. The formulation parameters including oil types, percent emulsifier as well as the production temperature were evaluated. All formulations were stored at 4 °C, room temperature and 40 °C for long-term physical and chemical stability. In vitro drug release of liquid crystal lamella prepared from different oil structures was performed. In this study, three different oil structures were chosen to prepare liquid crystal lamella including mineral oil, caprylic/ capric triglyceride and isononyl isononanoate. Olivem®1000 was selected as an emulsifier. The results indicated that the production temperature strongly affected the lamella structure formation. The mean particle size of liquid crystal lamella depended on the oil structure. The liquid crystal lamella that composed of caprylic/capric triglyceride showed the smallest particle size among all formulations tested. Moreover, oil structure also influenced on rheological behavior of liquid crystal lamella. Incorporation of vitamin E into liquid crystal lamella increased the particle size. Regarding the long-term accelerated stability, it was found that the appearance, odor, size, and pH of all developed formulations changed, especially at 40 °C. For in vitro release study, no vitamin E were released from all formulations.
.