ลายพิมพ์โครมาโทกราฟี และลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะละกอสายพันธุ์ต่างๆ

โดย: นางสาวมนสิการ ใจสุดา, นางสาวมนัสวี โค้วพินิจชัย    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 18

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปิยนุช โรจน์สง่า , ปองทิพย์ สิทธิสาร , สวรรยา บูรณะผลิน , มนตรี ยะสาวงษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: มะละกอ เบต้าแคโรทีน ลายพิมพ์โครมาโทกราฟี ลายพิมพ์ดีเอ็นเอ, Papaya, Beta-carotene, Chromatographic, DNA fingerprint
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลายพิมพ์ทางโครมาโทกราฟี และลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะละกอสายพันธุ์ต่างๆ ในผลสุกของมะละกอจำนวน 25 ตัวอย่างจาก 12 สายพันธุ์ ตัวอย่าง อาทิ มะละกอพันธุ์แขกดำเม็กซิโก มะละกอสายพันธุ์ปลักไม้ลาย มะละกอสายพันธุ์ครั่งเหลือง เป็นต้น ในการสกัดเบต้าแคโรทีนจากตัวอย่างเนื้อผลมะละกอใช้ตัวทำละลายอินทรีย์ ได้แก่ hexane dichloromethane และ ethyl acetate ในอัตราส่วน 4 : 16 : 80 โดยปริมาตร และศึกษาลายพิมพ์ทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี โดยใช้ solvent system 2 ระบบ ได้แก่ methanol และ acetone ในอัตราส่วน 40 : 60 โดยปริมาตร และ ethyl acetate และ hexane ในอัตราส่วน 40 : 60 โดยปริมาตร ผลการทดลองพบว่าลายพิมพ์ทินเลเยอร์โครมาโทกราฟีของมะละกอทั้ง 12 สายพันธุ์มีความคล้ายคลึงกัน โดยส่วนใหญ่พบเบต้าแคโรทีนเป็นสารหลัก ศึกษาลายพิมพ์ดีเอ็นเอของมะละกอโดยใช้เทคนิค random amplified polymorphic DNA (RAPD) จากตัวอย่างมะละกอพันธุ์ฮอนโกลตัวอย่างที่ 3 ซึ่งเป็นตัวอย่างที่มีปริมาณเบต้าแคโรทีนตํ่า และมะละกอพันธุ์ปลักไม้ลายที่มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูง โดยการสกัดดีเอ็นเอของเนื้อผลมะละกอด้วย PowerSoil DNA Isolation Kit โดยใช้ primer PYBC01 และ PYBC02 และเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอซํ้า 2-3 ครั้ง ทำให้ได้ลายพิมพ์ดีเอ็นเอที่มีความแตกต่างกันระหว่างตัวอย่างผลมะละกอที่มีปริมาณเบต้าแคโรทีนตํ่า และตัวอย่างผลมะละกอที่มีปริมาณเบต้าแคโรทีนสูง ผลการทดลองที่ได้สามารถใช้เป็นแนวทางในการสกัดและเพิ่มจำนวนดีเอ็นเอ เพื่อจำแนกสายพันธุ์และระบุยีนที่เกี่ยวข้องกับปริมาณเบต้า-แคโรทีนของมะละกอสายพันธุ์ต่างๆ จากผลการทดลองนี้ ลายพิมพ์ทินเลเยอร์โครมาโทกราฟี และลายพิมพ์ดีเอ็นจะช่วยในการควบคุมคุณภาพของมะละกอได้ต่อไปในอนาคต
abstract:
The objective of this study was to examine chromatographic and DNA fingerprints of papaya fruits from different cultivars. Twenty-five papaya samples were ripe fruits from twelve different cultivars such as Khaek Dam, Maxican, Plak Mai Lai, and Khrang Lueang. For thin-layer chromatographic (TLC) fingerprints of papaya fruits, the mixture of hexane, dichloromethane and ethyl acetate in the ratio of 4: 6: 80 v/v/v were used to extract carotenoid in papaya fruits. Two solvent systems were used including methanol and acetone in the ratio of 40: 60 v/v and ethyl acetate and hexane in the ratio of 60: 40 v/v. The carotenoid extracts from twelve different cultivars promoted TLC fingerprints with the major band corresponded to beta-carotene. Random amplified polymorphic DNA (RAPD) technique was performed to study DNA fingerprints of low beta-carotene type Hon Gold no.3 and high beta-carotene type Plak Mai Lai. PowerSoil DNA Isolation Kit was used for DNA extraction. Multiple PCR amplification of PYBC01 and PYBC02 primers discriminated between the low and high beta-carotene types of papaya. The result obtained is a preliminary study of DNA extraction and DNA amplification for either a species identification or the development of molecular markers linked to beta-carotene content in papaya. From this experiment, TLC and DNA fingerprints could be useful for the quality control of papaya fruit in the future.
.