การศึกษาการรับรู้ และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุ

โดย: นาย ศรัญยพงศ์ ไชยเส็ง,นาย โสฬส เตชะมานนท์    ปีการศึกษา: 2560    กลุ่มที่: 19

อาจารย์ที่ปรึกษา: พัชรินทร์ สุภาพโสภณ , ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ผู้สูงอายุ, การรับรู้, แผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย, ความตั้งใจใช้, ผลิตภัณฑ์สมุนไพร, elder, perception, the national herbal product roadmap, intention, herbal product.
บทคัดย่อ:
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้ป่วยสูงอายุและเพื่อศึกษาการรับรู้และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้ป่วยสูงอายุ จากอิทธิพลของแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณ โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่มาใช้บริการ ณ โรงพยายาลรามาธิบดี บริเวณพื้นที่นั่งรอยาหน้าห้องจ่ายยาชั้นที่ 1 อาคารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตน์ จำนวน 400 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา (descriptive statistics), ร้อยละ, ค่าเฉลี่ย, ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน, สถิติอ้างอิง (Inferential statistics), t-test, ANOVA, multiple regression analysis และ correlation analysis ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการรับรู้และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้ป่วยสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ อายุ ส่วนทางด้านหลักการตลาด 4P ในส่วนของ ผลิตภัณฑ์ ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุได้แก่ การที่ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีการบรรจุในบรรจุภัณฑ์สวยงามและผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่มีบรรจุภัณฑ์มีข้อมูลที่อ่านง่าย, ราคา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุได้แก่ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีราคาสูง (เกรด Premium), ช่องทางการจัดจำหน่าย ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุได้แก่ สถานที่ขายผลิตภัณฑ์ที่สะดวกต่อการเข้าถึง และในส่วนของการส่งเสริมการตลาด ปัจจัยที่ส่งผลต่อการรับรู้และความตั้งใจใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรของผู้สูงอายุ ได้แก่ การส่งเสริมการขาย (ลด/แลก/แจก/แถม) และยี่ห้อผลิตภัณฑ์ และกลุ่มตัวอย่างที่มีการรับรู้เกี่ยวกับแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทยแตกต่างกัน มีการรับรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ปัญหาอุปสรรคในการศึกษาได้แก่ ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ มักมีปัญหาเรื่องสายตาและการได้ยิน ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเก็บแบบสอบถาม, บริเวณหน้าห้องยา มีการประกาศออกลำโพงอยู่บ่อยครั้ง ทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเก็บแบบสอบถาม, ผู้ร่วมวิจัยไม่ให้ความร่วมมือในการทำการวิจัย และผู้สูงอายุมักไม่ให้ความร่วม เนื่องจากกลัวที่จะตอบแบบถาม เพราะคิดว่าตัวเองไม่ค่อยมีความรู้ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัยคือ ผู้สูงอายุร้อยละ 49.50 ยังไม่รู้จักแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงเสนอว่า ภาครัฐควรทำการประชาสัมพันธ์มากยิ่งขึ้น เพื่อให้ประชาชนทั่วไปรับทราบโดยทั่วกันถึงการมีอยู่ของแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย และรายละเอียดของแผนแม่บทแห่งชาติว่าด้วยการพัฒนาสมุนไพรไทย
abstract:
The objectives of this study are to investigate the factors that have influences on perception and intention in consuming herbal products of elder patients and to investigate the perception and intention in consuming herbal products of elder patients influencing by the National herbal product roadmap. The method of this study is quantitative research. The data was collected by 400 questionnaire and samples that used the service at the 1st floor dispensing area of Somdech Phra Deparatana Medical Center building at Ramathibodi hospital. The data was analyzed by descriptive statistics, percentage, means, standard deviation, inferential statistics, t-tests, ANOVA, multiple regression analysis and correlation analysis. The results revealed that the factors that had influences on perception and intention in consuming herbal products of elder patients had statistical significance at 0.05. They were age, marketing and 4P principle. In the aspect of the product, the factors that had influences on perception and intention in consuming herbal products of elder patients were the herbal products had a beautiful packaging, easy-reading information and price. The factors that effected perception and intention in consuming herbal products of elder patients were high-price herbal products (Premium grade) and marketing channels. The factors that effected perception and intention in consuming herbal products of elder patients was the selling stores were convenient to go. Moreover, in the aspect of marketing advancement, the factors that effected perception and intention in consuming herbal products of elder patients were sales promotion (SALE) and the product’s trademark. The samples that knew the National herbal product roadmap different herbal development differently knew the herbal products and had statistical significance at 0.05. And the National herbal product roadmap has influential of perception of herbal products. The problems of this study were that most elders usually had an eyesight and hearing problems making it difficult to collect the data from the questionnaire. At the dispensing area, there were announcements from the speakers making it difficult to collect the data from the questionnaire. Moreover, co-researchers did not cooperate well. Finally, the elders did not cooperate because they fear to answer the questionnaire as they thought they did not have knowledge. The recommendations from the result is that as around 49- 50 percent of the elders did not know the national master plan of Thai herbal development; therefore, the researchers recommended that the government sector should publicize more in order to relay the information and detail of the national master plan of Thai herbal development to people
.