ผลของแหล่งคาร์บอนในสูตรอาหารต่อการขยายพันธุ์ขมิ้นชัน โดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

โดย: ชุติมา วรรณทอง,จรกฏ ประเสริฐศักดิ์    ปีการศึกษา: 2542    กลุ่มที่: 20

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมภพ ประธานธุรารักษ์ , วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล , พร้อมจิต ศรลัมพ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
โครงการนี้เป็นการศึกษาจุลทรรศน์ลักษณะ, การตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้น และรงคเลขผิวบางของหัวกวาวเครือขาว จากการศึกษาพบว่าหัวกวาวเครือซึ่งเป็นรากสะสมอาหาร (tuberous root) มีลักษณะทางกายวิภาคที่มีการเรียงตัวเป็น 3 ชั้น ชั้นนอกสุดเป็นเนื้อเยื่อพื้นผิวประกอบด้วย cork cell หลายชั้น ต่อมาเป็นชั้น cortex ประกอบด้วย เซลล์ parenchyma ซึ่งเป็นแหล่งสะสมอาหารจำพวกแป้งและผลึก calcium oxalate ชั้นในสุดเป็นชั้น stele ประกอบด้วยแนวท่อลำเลียงเรียงตัวตามแนวรัศมีสลับกับ เซลล์ parenchyma ชนิดปฐมภูมิ พบเม็ดแป้งมีลักษณะค่อนข้างกลมขนาด 5-20 ไมโครเมตร มี hilum รูปดาว และผลของจุลทรรศน์ลักษณะของหัวจากต่างแหล่งจะไม่มีความแตกต่างกัน ส่วนการตรวจสอบทางเคมีเบื้องต้นโดยวิธีของ Farnsworth (1966) พบว่าประกอบด้วยสารที่มีโครงสร้างเป็น steroid, สารกลุ่ม flavonoids, สารกลุ่ม phenolic compounds และสารที่เรืองแสงสีเขียวเหลืองภายใต้แสงอุลตร้าไวโอเล็ตคลื่นยาว (366 nm) การตรวจสอบโดยวิธีรงคเลขผิวบาง ใช้ silica gel GF254 เป็น adsorbent และ chloroform:methanol (7:3 และ 9:1) เป็น solvent system โดยมีตัวตรวจสอบเป็นแสงอุลตร้าไวโอเล็ตคลื่นสั้น (254 nm) และคลื่นยาว (366 nm) และสารพ่น Anisaldehyde/H2SO4 พบว่าหัวกวาวเครือจากต้นเดียวกันมีรูปแบบ TLC chromatogram ที่เหมือนกัน แต่มีความแตกต่างกันในเชิงปริมาณ ส่วนหัวกวาวเครือจากต่างแหล่งมีความแตกต่างกันทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ
abstract:
Transverse section of Pueraria candollei var. mirifica tuberous root consisted of dermal tissue, cortex, and stele. Dermal tissue was made up of many layers of cork cells. Cortex consisted of parenchymatous cells containing strach granules and calcium oxalate crystals. Stele was composed of vascular tissues alternating with bands of non-lignified parenchyma. Starch granules were nearly spherical and 5-20 micromatres in diameter. Each granule had a stellate hilum. No different microscopic characters were observed among P. candollei var. mirifica tuberous roots from different sources. Phytochemical screening (Farnsworth, 1966) revealed that the samples might contain steroids, flavonoids, phenolic compounds, and chromophores. Thin–layer chromatography study was performed using silica gel GF254 as adsorbent. Solvent system was composed of chloroform and methanol (9:1 and 7:3). The detection methods were performed under UV short and long wave and spray reagent (Anisaldehyde/H2SO4). The result demonstrated that P. candollei var. mirifica tuberous roots from the same plant showed the same pattern of TLC chromatograms, with different intensities of colors, fluorescence, and quenching. Some differences in both qualitative and quantitative determinations could be observed among P. candollei var. mirifica tuburous roots collected from different sources.
.