การพัฒนาตำรับเครื่องดื่มสมุนไพรชงละลาย

โดย: สิริลักษณ์ โรจน์สุธี,สุกัลยา ยิดนรดิน    ปีการศึกษา: 2543    กลุ่มที่: 20

อาจารย์ที่ปรึกษา: ฤดี เสาวคนธ์ , วันดี กฤษณพันธ์ , วิมล ศรีศุข    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: เครื่องดื่มสมุนไพร, สมุนไพรชงละลาย, herbal drink, instant herbal, herb powder
บทคัดย่อ:
จากการศึกษาการพัฒนาตำรับเครื่องดื่มสมุนไพรชงละลาย 2 ชนิด คือ ดอกกระเจี๊ยบและดอกเก๊กฮวยโดยนำสารสกัดด้วยน้ำของสมุนไพรแต่ละชนิดมาเติมตัวพา(carrier) 2 ชนิด คือ Maltodextrin (Glucidex®) และ Lactose ในปริมาณ ร้อยละ 16.7 โดยน้ำหนัก จำนวน 4 ตำรับ แล้วนำมาทำเป็นผงแห้งโดยวิธี Spray drying นำผงแห้งที่ได้มาศึกษาความคงตัวโดยทดลองเก็บในภาชนะบรรจุ 2 ชนิดคือ ซอง Aluminium foil และ ซองพลาสติก (ซองยา) ที่ปิดสนิทเป็นเวลา 2 เดือน ที่อุณหภูมิห้องและสภาวะเร่ง(45oซ ความชื้นสัมพัทธ์ 75%) โดยประเมินความคงตัวจากสี ลักษณะผงแห้ง น้ำหนักของผงแห้งที่เปลี่ยนแปลงเนื่องจากการดูดความชื้น การละลาย รวมทั้งการพิจารณาลักษณะของ TLC (Thin Layer Chromatography) ของผงแห้งเทียบกับสารสกัดและผงแห้งที่เวลาตั้งต้น จากการทดสอบความคงตัวดังกล่าวพบว่าผงแห้งกระเจี๊ยบ และผงแห้งเก๊กฮวยสูตรผสม Lactose ใน Aluminium foil มีความคงตัวดีที่สุด สำหรับการตรวจสอบคุณภาพทางเคมีของสารสกัดที่ได้ในแต่ละสูตรและที่ศึกษาความคงตัวที่สภาวะต่างๆโดยวิธี TLC พบว่าทุกสูตรตำรับยังมีสารสำคัญอยู่คงเดิม ส่วนการประเมินความชอบโดยนำผงที่มีการเติมสารช่วยดังกล่าวมาชงเป็นเครื่องดื่มและเติม Aspartame ซึ่งเป็นสารให้ความหวาน ทดสอบโดยผู้ประเมิน 50 คน ด้วยวิธี 9-Point Hedonic Scale พบว่ากระเจี๊ยบสูตรผสม Maltodextrin และ สูตรผสม Lactose ได้คะแนนเฉลี่ยความชอบเท่ากับ 5.88 (“เฉยๆ” ถึง ”ชอบเล็กน้อย”) และ 6.12 (“ชอบเล็กน้อย”ถึง”ชอบปานกลาง”) ตามลำดับ ส่วนเก๊กฮวยสูตรผสม Maltodextrin และสูตรผสม Lactose ได้คะแนนเฉลี่ยความชอบเท่ากับ 5.16 และ 5.26 (“เฉยๆ” ถึง ”ชอบเล็กน้อย”) ตามลำดับ และเมื่อทำการวิเคราะห์ผลการประเมินความชอบโดยใช้ Z–test ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 พบว่าในแต่ละสูตรของกระเจี๊ยบและเก๊กฮวยไม่มีความแตกต่างกันทางสถิติ
abstract:
A formulation development of an instant herbal drink from water extract of two herbs, Hibiscus subdariffa Linn. and Chrysanthemum indicum Linn. was carried out. The herbal extracts were separately mixed with 16.7 % w/w of each carrier, Maltodextrin (Glucidex®) or Lactose, then spray dried. A stability test of a dried powder formulation in a sealed plastic and aluminium foil pouches were performed at room temperature and at accelerated condition (45 oc 75%RH) for a period of 2 months. Change in physical properties of powder such as color, weight, solubility, TLC (Thin Layer Chromatography) patterns were used as an indicator for stability evaluation. The result revealed that dried powder of both herbs with Lactose in a sealed aluminium foil pouches had good stability. The TLC patterns of each formulation at different conditions remained unchanged. The preference test of the instant herbal drink formulations sweetened by aspartame was also carried out among 50 panelists, using 9 – Point Hedonic Scale method. It was shown that the mean scores of Hibiscus subdariffa Linn. with maltodextrin and lactose were 5.88 (“neither like nor dislike” to “like slightly”) and 6.12 (“like slightly“ to “like moderately”), respectively. The mean scores of Chrysanthemum indicum Linn. with maltodextrin and lactose were 5.16 and 5.26 (“neither like nor dislike” to “ like slightly” ), respectively. The analysis of preference test by Z-test method showed that at 5% level 0f significance ,there was no significantly different among tested herbal extract formulations.
.