การพัฒนาผลิตภัณฑ์ทารอบดวงตาโดยใช้สารแกมมาโอไรซานอล

โดย: กรหยก ศักดิ์ดารินทร์กุล,บุญธรี ฟูตระกูล    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 20

อาจารย์ที่ปรึกษา: อ้อมบุญ วัลลิสุต , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: รำข้าว, แกมมาโอไรซานอล, ความหมองคล้ำ, ความชุ่มชื้น, การทดสอบการระคายเคืองและการแพ้ , rice bran, gamma oryzanol, darkness, skin hydration, skin irritation and sensitization
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ทารอบดวงตาโดยใช้สารแกมมาโอไรซานอลจากรำข้าว ผู้วิจัยได้ศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและความคงตัวของอิมัลเจลพื้น 4 ตำรับ และคัดเลือกหนึ่งตำรับที่เหมาะสมมาใช้ในการเตรียม 2%แกมมาโอไรซานอล จากนั้นศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพและความคงตัวของอิมัลเจลรำข้าว พร้อมทั้งทดสอบการระคายเคืองและการแพ้บนผิวหนังบริเวณต้นแขนด้านใน ในอาสาสมัครสุขภาพดีทั้งเพศหญิงและชาย อายุ 20-30 ปี จำนวน 23 ราย ไม่พบการระคายเคืองและการแพ้ในอาสาสมัครรายใด จากนั้นจึงทดสอบประสิทธิภาพอิมัลเจลรำข้าวในการลดความหมองคล้ำและเพิ่มความชุ่มชื้นบริเวณรอบดวงตาเทียบกับอิมัลเจลพื้น ในอาสาสมัครชุดเดิม เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์ โดยวัดผลความหมองคล้ำและความชุ่มชื้นของผิวหนังบริเวณรอบดวงตาที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเครื่อง Mexameter และ Corneometer ตามลำดับ วิเคราะห์ผลทางสถิติโดยใช้ paired t-test ที่ แอลฟ่า = 0.05 จากการทดลองพบว่า อิมัลเจลรำข้าวสามารถลดความหมองคล้ำได้ 2.06 % และเพิ่มความชุ่มชื้นได้ 19.71 % จากการวิเคราะห์ผลทางสถิติพบว่าสภาพผิวดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญเพื่อเป็นการใช้ประโยชน์วัตถุดิบรำข้าวในประเทศจึงได้นำรำข้าวที่มีในตลาดมาทดลองสกัดสารแกมมาโอไรซานอล และพัฒนาวิธีวิเคราะห์โดยเปรียบเทียบสารสกัดกับสารมาตรฐานแกมมาโอไรซานอลด้วยวิธี TLC พบว่าแสดงผลบนแผ่น TLC เหมือนกัน และตรวจวัดปริมาณสารแกมมาโอไรซานอลที่สกัดได้ด้วยวิธี HPLC พบว่าสารสกัดที่สกัดได้เองมีปริมาณแกมมาโอไรซานอลมากกว่าน้ำมันรำข้าวที่มีจำหน่ายในท้องตลาด ประมาณ 4 เท่า จึงน่าจะมีความเป็นไปได้ที่จะนำรำข้าวที่มีในประเทศมาพัฒนาสกัดสารแกมมาโอไรซานอลเพื่อใช้ทดแทนสารสกัดจากต่างประเทศ
abstract:
The purpose of this special project is aimed at development of gamma oryzanol eye preparation from rice bran. Four emulgel base preparations were tested for physical properties and stability. One suitable emulgel was selected to prepare the product which contained 2% gamma oryzanol. Clinical test was conducted in 23 volunteers both males and females aging between 20-30 years old. The studies of skin irritation and sensitization revealed no reaction in all volunteers. Next step, the comparison of emulgel base preparation and rice bran emulgel were conducted by applying around the eyes of the same volunteers for 6 weeks. Changes of darkness and skin hydration were detected by Mexameter and Corneometer. Statistical analysis was done by paired t-test at alpha = 0.05. The results showed that the rice bran emulgel could reduce the darkness by 2.06% and increase skin hydration by 19.71%. Statistical analysis showed significant improvement when compared with the skin conditions before the experiment. The extraction of gamma oryzanol from rice bran were performed and analysed by HPLC method. It was found that the prepared rice bran oil contained 4 times gamma oryzanol higher than the commercial product. Therefore,There is high possibility to prepare gamma oryzanol from Thai rice bran to substitute imported product.
.