การพัฒนาผลิตภัณฑ์พอกหน้าโดยใช้สมุนไพรไทยเป็นส่วนประกอบ

โดย: รริน อิ่มเกษร,วรัฒม์ วัชรปรีชากุล    ปีการศึกษา: 2544    กลุ่มที่: 21

อาจารย์ที่ปรึกษา: อ้อมบุญ วัลลิสุต , พรรณวิภา กฤษฎาพงษ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ผลิตภัณฑ์พอกหน้า , สมุนไพรไทย , มะขาม , ผลิตภัณฑ์ทำให้หน้าขาว, Face Mask, Thai herbal, Tamarind ( Tamarindus indica ), Whitening agent
บทคัดย่อ:
ในปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าโดยเฉพาะอย่างยิ่งผลิตภัณฑ์ที่ทำให้ผิวหน้าสะอาดปราศจากสิ่งสกปรกที่อุดตันจนทำให้เกิดสิว และผลิตภัณฑ์ที่ทำให้สีผิวจางลงได้ กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด สำหรับในเด็กวัยรุ่น การล้างหน้าเพื่อทำความสะอาดเพียงอย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ ผลิตภัณฑ์พอกหน้าเป็นหนึ่งในวิธีที่สามารถทำความสะอาดได้ มากกว่าการล้างหน้าธรรมดา โครงการวิจัยนี้เน้นให้เกิดการนำสมุนไพรไทยที่มีการใช้มานานและหาได้ง่ายมาพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมและสะดวกต่อการใช้ในชีวิตประจำวัน จึงเลือกใช้ผลไม้ไทยคือ มะขาม เนื่องจากมีกรดผลไม้หลายชนิด อยู่ในปริมาณมาก สามารถสกัดและวิเคราะห์ปริมาณกรดรวมได้โดยวิธีไม่ซับซ้อนนัก แล้วคำนวณในรูปกรด Tartaric เนื่องจากเป็นกรดที่มีปริมาณมากสุด ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำโดยใช้น้ำสกัดกรดผลไม้จากผลิตภัณฑ์มะขามที่มีอยู่ในท้องตลาด ผสมลงในตำรับครีมพอกหน้าพื้นซึ่งทดลองเตรียมขึ้นจำนวน 3 สูตร และคัดเลือกสูตรที่มีความสามารถในการลอกออกจากผิวได้ดีที่สุดมีการหดตัวปานกลาง และใช้เวลาในการแห้งพอสมควร มาใส่สารสกัดจากมะขาม และทำการทดสอบประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ ในการลดรอยย่นบนใบหน้า ทำให้สีผิวจางลง และเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหน้า ในอาสาสมัครสุขภาพดี ทั้งเพศหญิงและชาย อายระหว่าง 20 ถึง 30 ปี จำนวน 20 คน โดยเปรียบเทียบกับสภาพผิวหน้าก่อนและหลังการใช้ผลิตภัณฑ์ และครีมเบสเป็นเวลา 6 สัปดาห์ วัดสภาพผิวหน้าที่เปลี่ยนแปลงโดยเครื่อง Mexameter และ Corneometer แปลผลทางสถิติด้วยวิธี Paired T-Test ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%ได้ผลการทดลองคือ ผลิตภัณฑ์นี้สามารถลดรอยย่นบนใบหน้าได้บ้าง และที่สำคัญพบว่าความชุ่มชื้นของผิวเพิ่มขึ้น 14% ค่าความแดงของใบหน้าลดลง 18.29% ผิวหน้าขาวขึ้น 2.36% อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อเทียบกับการใช้ cream base แสดงว่าครีมพอกหน้ามะขามสามารถลดความแดงของผิวชั้นนอก,ทำให้ผิวหน้าขาวขึ้นและความชุ่มชื้นของใบหน้าเพิ่มขึ้น
abstract:
At present, face nourishing preparations especially cleansing products which can eliminate dirt and acne, including lightening products are very much needed in cosmetic business. For teenagers, washing face may not be sufficient and face mask is another option that render cleaner skin than normal washings. This project intended to make use of a common and abundant medicinal plants by developing the herbal preparation which is convenient and suitable for everyday use. Tamarind was the plant of choice due to its high content of fruit acids and ease in extraction. The acid content can be calculated in term of tartaric acid which is the most abundant acid. A commercial tamarind product was used to prepare the acidic extract which can blended into the selected face mask base. The chosen base was selected from 3 formulas using the following criteria: best peeling off, medium contraction and moderate drying time. The efficiency of tamarind face mask was evaluated on healthy volunteers from both female and male age between 20 – 30 years old. The comparison of skin conditions between before and after using this product and the base for 6 weeks were made. The difference in skin conditions were measured by Mexameter and Corneometer. Statistical analysis was done by paired – T- test ( alpha = 0.05 ). The results indicated that this product can lighten the skin by 2.36 %, increase the skin hydration by 14 % and significantly reduced skin erythma. In conclusion, the Tamarind face mask can reduced erythma of outer layer skin, lighten the skin and increase the skin hydration.
.