การพัฒนาตำรับสติกแท่งของสารสกัดไพล

โดย: นางสาวณิศราพรรณ พุฒิพัชรนันทน์, นายปีติพล สวนศิริ    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 21

อาจารย์ที่ปรึกษา: นิศารัตน์ ศิริวัฒนาเมธานนท์ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , อัญชลี จินตพัฒนกิจ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: สติกแท่งไพล, สติกแท่งบรรเทาปวด, ไพล, Plai stick, analgesic stick, Plai oil
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตำรับสติกแท่งไพลบรรเทาปวด ซึ่งประกอบด้วยนํ้ามันไพล 25% ที่ทอดด้วยนํ้ามันปาล์มหรือนํ้ามันมะพร้าว โดยเมื่อนํ้ามันไพล ทั้ง 2 ชนิดมาวัดปริมาณสารเคอร์คิวมินอยด์ ซึ่งเป็นกลุ่มสารที่มีฤทธิ์บรรเทาปวด พบว่านํ้ามันไพลทั้ง 2 ชนิดมีปริมาณสารเคอร์คิวมินอยด์ โดยที่ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อนำนํ้ามันไพลทั้ง 2 ชนิดพัฒนาเป็นสติกแท่งไพลจากยาพื้นแท่งจำนวน 4 ตำรับ โดยกลุ่ม soft opaque stick มี 3 ตำรับ ได้แก่ simple lip-balm base, water-repellant base, absorption lip-balm base และตำรับ hard stick base ได้ทำการประเมินลักษณะภายนอกและสมบัติทางกายภาพของตำรับที่เตรียม ได้แก่ ความแข็ง stickiness จุดหลอมเหลว ความไม่เหนียวเหนอะหนะ การกระจาย บนผิว และการล้างออกได้ด้วยนํ้า พบว่าสามารถเตรียมสติกแท่งไพลได้ทุกตำรับ การเติมนํ้ามันไพลลงในตำรับ ทำให้ความแข็ง stickiness และจุดหลอมเหลวของยาพื้นแท่งลดลงอย่างชัดเจน เมื่อเปรียบเทียบกับยาพื้นแท่ง และจากการประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสเบื้องต้น และสมบัติทางกายภาพ พบว่ายาพื้นแท่ง soft opaque stick: water-repellant base เป็นยาพื้นที่เหมาะสมในการเตรียมสติกแท่งไพล เมื่อศึกษาความคงตัวของสติกแท่งไพลเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยทำการประเมินคุณภาพด้านประสาทสัมผัสเบื้องต้นและคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่า เมื่อเก็บที่อุณหภูมิ 30 และ 40 องศาเซลเซียส สติกแท่งไพล soft opaque stick: water-repellant base มีความใกล้เคียงกับสติกแท่งไพลในสัปดาห์ที่ 0 ยกเว้นค่า stickiness ของสติกแท่งไพล ซึ่งมีค่าลดลงเมื่อระยะเวลาการเก็บนานขึ้น
abstract:
The aim of this special project is to develop Zingiber cassumunar rhizome extract analgesic sticks containing 25% of plai oil from hot palm and coconut oil extract. The curcuminoids content of the extratcs calculated as curcumin were measured. It was found that, coconut plai oil had curcuminoids content more than plam plai oil but not statistically significant. The plai oil extract stick were developed using 4 stick bases, 3 of soft opaque stick which were simple lip-balm base, water-repellant base, absorption lip-balm base and hard stick base. Plai sticks were evaluated regarding appearance and physical properties in term of hardness, stickiness, melting point, non-greasy, spreadability, and washability. It was found that plai sticks can be prepared with 4 stick bases. Adding plai oil in the formulation significantly decreased hardness, stickiness and melting point of plai sticks compared to stick base. From primary sensory evaluation and physical properties, soft opaque stick: water-repellant base showed to be the suitable base for preparing plai sticks. So the stability of this plai stick were studied in 8 weeks. Regarding appearance and physical properties, the stabilities were evaluated every 2 weeks at 30ºC and 40ºC. The appearance and physical properties was found similar to those showed in week 0 except the stickiness which decreased when they were stored in the longer time.
.