บทบาทของพระสงฆ์ต่อการสนับสนุนการใช้สมุนไพรในชุมชนกรณีศึกษาพระรักษาโรคหอบหืด วัดชลอ นนทบุรี

โดย: สฤษฏิ์ แผนพุทธา    ปีการศึกษา: 2539    กลุ่มที่: 22

อาจารย์ที่ปรึกษา: วิชิต เปานิล , วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การศึกษานี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อต้องการทราบทัศนคติของเภสัชกรชุมชนที่มีต่อผลิตภัณฑ์ สมุนไพรที่จำหน่ายในร้านยา โดยการสร้างแบบสอบถามขึ้นเองและจัดส่งทางไปรษณีย์ไปยังกลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกของกลุ่มเภสัชกรชุมชนประมาณ 800 ชุด ขณะประเมินผลมีผู้ตอบส่งกลับมา 180 ราย มีแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์สามารถวิเคราะห์ได้ 124 ชุด ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างเป็นเพศชาย 72 คน เพศหญิง 52 คน ร้อยละ 50.8 มีอายุอยู่ในช่วง 35-44 ปี มีประสบการณ์ทำงานในร้านยาตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป ร้อยละ 57.3 ใช้เวลาในการทำงานเฉลี่ย 54.37 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แนะนำและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับยาแผนโบราณ ผลิตภัณฑ์สมุนไพรไทยและต่างประเทศ ไม่เกิน 5 ครั้งต่อสัปดาห์ ข้อมูลที่ได้จากการเรียนในคณะเภสัชศาสตร์ที่สามารถนำไปใช้ได้มากที่สุดคือสรรพคุณทางยาและสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ของสมุนไพร แหล่งความรู้เพิ่มเติมได้มาจากเอกสารทางวิชาการ และจากบริษัทผู้ผลิตมากที่สุด สำหรับความคิดเห็นของเภสัชกรชุมชนเกี่ยวกับปัญหาของผลิตภัณฑ์สมุนไพรพบว่าปัญหาหลักคืออายุการจัดเก็บสั้น ขายได้ยาก และมีความยุ่งยากในการจัดซื้อ ตามลำดับ ส่วนยาแผนโบราณปัญหาหลักที่พบคือ ไม่สามารถให้คำแนะนำกับคนไข้ได้ดีพอ ไม่คอยมีความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในตำรับ และยามีอายุการจัดเก็บสั้น ตามลำดับ จากการสอบถามความคิดเห็นของเภสัชกรถึงสาเหตุที่ทำให้ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยาแผนโบราณจำนวน 4 ชนิด พบว่าเหตุผลหลักที่ประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์สาหร่าย ชาคำฝอย และฟ้าทะลายโจร คือ มีข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ และมีคนใกล้ชิดใช้ผลิตภัณฑ์นี้อยู่ ส่วนยาสตรีชึ่งเป็นยาแผนโบราณเภสัชกรเห็นว่าประชาชนใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้เพราะ มีคนใกล้ชิดใช้ผลิตภัณฑ์นี้ และยามีสรรพคุณดีจริง จากผลการศึกษาที่ได้ทำให้ทราบถึงทัศนคติเกี่ยวกับปัญหาหลักของผลิตภัณฑ์สมุนไพรและยาแผนโบราณที่มีจำหน่ายในร้านยา และสิ่งจูงใจในการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรบางชนิดของประชาชน ซึ่งจะมีประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อไป
abstract:
The objective of this study was to know the attitude of community pharmacists towards herbal products in drug stores. Data were collected by sending self-administering questionnaires to 800 members of community pharmacist group. One hundred and eighty questionnaires were returned but only 124 were completed to analyze. Seventy-two of the respondents were male and 52 were female. Most of them were in the middle age around 35-44 years old with more than 10 years experience in drug stores. The results showed that most of these respondents sold, advised or recommended herbal products to their clients less than 5 times a week. Text books, journals and information from product distributors were the most popular sources of herbal products information. The major problems of herbal products were short shelf life time and a difficult to sell and purchase and the major problems of traditional medicine products were no suitable information of products and short shelf life time. The respondents thought that the important causes of people to consume some herbal products were the available of scientific information, the efficacy of products, and the experiences from their friends.
.