การพัฒนาสูตรตำรับครีมสมุนไพรที่ทำให้ผิวขาวและชะลอความแก่

โดย: ชวภณ วารีบุญมา, โรสนียา ยะขุ    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 22

อาจารย์ที่ปรึกษา: เอมอร โสมนะพันธุ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ครีมสมุนไพร, เมลานิน, ไทโรซิเนส, ชะลอความแก่, สารต้านอนุมูลอิสระ, มะหาด, ทับทิม, Herbal cream, tyrosinase, melanin, anti-aging, antioxidant, Artocarpus lakoocha Roxb., Punica granatum Linn.
บทคัดย่อ:
การพัฒนาตำรับครีมหน้าขาวและชะลอความแก่ ที่มีส่วนผสมของสารสกัดสมุนไพร ในการวิจัยนี้ได้คัดเลือกสมุนไพรไทย 2 ชนิด ได้แก่ มะหาด (Artocarpus lakoocha Roxb.) และทับทิม (Punica granatum Linn.) โดยนำแก่นมะหาดมาสกัดด้วย 70 % เอทานอล และ เอทิลอะซิเตต ตามลำดับ ส่วนเปลือกผลทับทิมสกัดด้วย 95 % เอทานอล ทำเป็นผงแห้ง เปรียบเทียบกับสารสำคัญมาตรฐาน โดยวิธี TLC จากนั้นนำมาทดสอบฤทธิ์ยับยั้งไทโรซิเนส โดยที่สารสกัดมะหาด และสารสกัดทับทิมมีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส 91.51 % และ 87.26 % ตามลำดับ และทดสอบฤทธิ์ ยับยั้งอนุมูลอิสระของสารสกัดทั้ง 2 ชนิด ด้วยวิธี DPPH Scavenging Assay พบว่า สารสกัดมะหาด และสารสกัดทับทิม สามารถยับยั้งสารได้ 89.18 % และ 97.22 % ตามลำดับ และทำการเตรียมครีม โดยแบ่งออกเป็น 2 ตำรับ คือ ตำรับที่ 1 มีสารสกัดมะหาด และสารสกัดทับทิม 1 % และตำรับที่ 2 มีสารสกัดมะหาด และสารสกัดทับทิม 2 % เมื่อนำครีมมาทดสอบความคงตัวทางกายภาพที่อุณหภูมิห้อง (25-30 C), ตู้เย็น (4 C), ตู้อบ (45 C) เป็นเวลา 4 สัปดาห์ และวิธี Heating and Cooling 6 รอบ (ที่อุณหภูมิ 4 C และ 45 C สลับกันอุณหภูมิละ 48 ชั่วโมง) พบว่าครีมที่เตรียมมีสีเข้มขึ้น กลิ่นหอมจางลง แต่ ไม่แยกชั้น ส่วนการดูดซึมของครีมคงเดิม หลังจากนั้นนำไปทดสอบประสิทธิภาพในการทำให้ หน้าขาวและชะลอความแก่ ในอาสาสมัคร 20 คน โดยให้อาสาสมัครทาครีมที่มีส่วนผสมของสมุนไพรทั่วใบหน้าในตอนเช้าและก่อนนอน เป็นเวลา 4 สัปดาห์ ประเมินผลของผลิตภัณฑ์จากคุณลักษณะภายนอก ความพึงพอใจหลังใช้เกี่ยวกับการทำให้หน้าขาวและการลดลงของริ้วรอย โดยใช้แบบสอบถาม ผลการประเมินพบว่า ตำรับที่ 1 มีความพึงพอใจปานกลาง 66.67 % และ 83.33 % ตามลำดับ ส่วนตำรับที่ 2 มีความพึงพอใจมาก 71.43 % และ 57.14% ตามลำดับ
abstract:
The aim of this project is to develop a skin lightening and anti-aging cream containing herbal extracts with tyrosinase inhibiting and antioxidant properties.The herbs selected for present study were Artocarpus lakoocha Roxb. and Punica granatum Linn. The heartwood of Artocarpus lakoocha Roxb.was extracted with 70% ethanol and ethylacetate and the fruit rind of Punica granatum Linn.was extracted with 95% ethanol.Both extracts were tested for their activity in inhibiting mushroom tyrosinase enzyme and Artocarpus lakoocha Roxb. showed activity at 91.51% and Punica granatum Linn. at 87.26%. For antioxidant activity by DPPH scavenging assay, extracts of Artocarpus lakoocha Roxb. showed activity at 89.18% and Punica granatum Linn.at 97.22%.Two cream formulations were developed; the first formula containing 1% of extracts and the second formula containing of 2% of extracts. They were then evaluated for their physical properties and stability using an accelerated method (45C) for 4 weeks and heating (45C) and cooling (4C) method (6 cycles of alternate 4C and 45C). The results showed all formulations had good physical properties and stability but the color of the creams became darker under all conditions. The creams were tested on 20 volunteers who were instructed to apply the cream on their face in the morning and before bedtime for 4 weeks. The volunteers satisfaction score was evaluated by a questionnaire about their satisfaction with the physical properties and skin lightening and antiwrinkle effects after using the creams. Most subjects were “fairly satisfied” with the the first formula (66.67 % and 83.33 %) and were “satisfied” with second formula (71.43 % and 57.14%).
.