วีธีตรวจสอบเบื้องต้นเพื่อหาปริมาณสารให้ความหวาน (รูปสตีวิโอไซด์ และรีบาวดิโอไซด์ เอ) จากหญ้าหวานต่างแหล่งปลูก

โดย: นางสาวปราง อินทฤทธิ์,นางสาววุฒิพร เอี่ยมกำแพง    ปีการศึกษา: 2555    กลุ่มที่: 22

อาจารย์ที่ปรึกษา: พิสมัย กุลกาญจนาธร , สลินทิพย์ จารุสินธนากร    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชเคมี

Keyword: หญ้าหวาน, Thin Layer Chromatography, Stevioside, Rebaudioside A, SteviarebaudianeBertoni, Thin Layer Chromatography, Stevioside, Rebaudioside A
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้ จัดทำขึ้นเพื่อพัฒนาวิธีตรวจสอบหาปริมาณสารให้ความหวานในรูปของสตีวิโอไซด์ (Stevioside)และรีบาวดิโอไซด์ เอ (Rebaudioside A) จากใบหญ้าหวานแห้ง ซึ่งต้องเป็นวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว โดยวิธีโครมาโตกราฟีแบบชั้นบางและเครื่องเดนซิโตมิเตอร์ (Thin Layer Chromatography(TLC) - Densitometry) โดยเฟสเคลื่อนที่ที่ใช้ในการแยกสารคือ เอทิลอะซิเตท: เอทานอล: น้ำ ในอัตราส่วน 20:5:3 และใช้สารละลายอะนิซาลดีไฮด์ ในการตรวจสอบสารสตีวิโอไซด์และรีบาวดิโอไซด์ เอ ที่ความยาวคลื่น 540 นาโนเมตร ทำการประเมินความถูกต้อง พบว่าร้อยละของการคืนกลับของสตีวิโอไซด์และรีบาวดิโอไซด์ เอ เท่ากับ 97.87(ค่าสัมพันธ์การเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.18)และ เท่ากับ 97.93 (ค่าสัมพันธ์การเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.69) ตามลำดับ ความแม่นยำของการวิเคราะห์ภายในวันเดียวกัน และต่างวันกัน คำนวณได้จากค่าสัมพันธ์การเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า สตีวิโอไซด์มีค่าเท่ากับ0.71-3.50และ 2.51-2.93ตามลำดับและ รีบาวดิโอไซด์ เอ มีค่าเท่ากับ0.54-2.62และ 2.36-3.34ตามลำดับ ความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง(สตีวิโอไซด์ y=561.15x + 2039.5 r2=0.9916; รีบาวดิโอไซด์ เอ y = 357.3x+6616.5 r2=0.9905)เมื่อสกัดใบหญ้าหวานแห้งด้วยเอทานอล(95%)ที่มีอุณหภูมิ 80?C เป็นเวลา 4 ชั่วโมงและนำสารสกัดที่ได้มาวิเคราะห์หาปริมาณจากการทดลองพบว่าใบหญ้าหวานที่นำมาสกัด มีปริมาณของสตีวิโอไซด์ 3.25มิลลิกรัม และรีบาวดิโอไซด์ เอ 3.60มิลลิกรัม ซึ่งคิดเป็น 0.01% ของปริมาณใบหญ้าหวานแห้ง
abstract:
The aim of this special project is to develop a simple and rapid method for determination the content of stevioside and rebaudioside A, the sweetening substances in dried leaves of SteviarebaudianeBertoni. By using Thin Layer Chromatography-Densitometry (TLC-densitometry), the TLC conditions were composed of ethyl acetate: ethanol: water (20: 5: 3) as mobile phase, then reacted with anisaldehyde reagent for visualization and detected at 540 nm. This method was validated for accuracy (mean recovery of stevioside and rebaudioside A were 97.87% (%RSD 0.18) and 97.93% (%RSD 0.69 ) respectively), For Intra-day precision results were 0.71-3.50%RSD for stevioside and 0.54-2.62%RSD for rebaudioside A. For Inter-day precision results were2.51-2.93 %RSD for stevioside and 2.36-3.34for rebaudioside A . The linearity for stevioside was y=561.15x + 2039.5, which r2=0.9916 and forrebaudioside A was y = 357.3x+6616.5 which r2=0.9905. The extraction of active sweeteners was done by maceration with ethanol at 80?c for 4 hours, and the extract was identifed and quantitated. The content of Stevioside and Rebaudioside A in dried stevia leaves were 3.25 mg and 3.60 mg, respectively, which were about 0.01% w/w.
.