การพัฒนาผลิตภัณฑ์ตำรับน้ำมันทำความสะอาดผิวกายจากสบู่ดา

โดย: นางสาวธนวรรณ จันทิพย์วงษ์,นางสาวเนตรประวีณ์ มนัสกุลสิริ    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 22

อาจารย์ที่ปรึกษา: ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , วีณา จิรัจฉริยากูล , แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: สบู่ดา, น้ามันทาความสะอาด, การพัฒนาตารับน้ามัน, อิมัลชัน, Jatropha oil, cleansing oil, emulsion, required HLB
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ตารับน้ามันทาความสะอาดผิวกายจากสบู่ดา การศึกษานี้เริ่มจากการบีบน้ามันจากเนื้อในเมล็ดสบู่ดาที่ผ่านการกาจัดสารพิษ (ฟอร์บอลและเคอร์ซิน) ตรวจคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของน้ามัน ตรวจฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์โดยวิธี micro-broth dilution และพัฒนาตารับน้ามันทาความสะอาดผิวกาย ในการพัฒนาตารับได้ทาการศึกษาค่า required HLB และอัตราส่วนของ emulsifier ที่เหมาะสมสาหรับตารับน้ามัน 20 %w/w ซึ่งในงานวิจัยนี้เลือกใช้ polysorbate 80 และ sorbitan monooleate เป็น emulsifier รวมถึงศึกษาความสามารถในการชะล้างและปริมาณฟองของตารับซึ่งมี sodium lauryl ether sulfate (SLES) ทาหน้าที่เป็น surfactant ผลการศึกษาพบว่า จาก thin-layer chromatogram น้ามันสบู่ดามี linoleic acid และ β-sitosterol เป็นส่วนประกอบ เมื่อหาฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อจุลินทรีย์ พบว่าน้ามัน 225 μL/mL สามารถหยุดการเจริญเติบโต (MIC) ของ Staphylococcus aureus ได้ ในขณะที่น้ามัน 450 μL/mL สามารถฆ่าเชื้อ (MBC) Staphylococcus aureus ได้ จากนั้น หาค่า Required HLB ของตารับน้ามัน 20 %w/w ได้ค่า required HLB = 11.8 (polysorbate 80 : sorbitan monooleate = 7 : 3) และเมื่อใช้ emulsifier 1 %w/w มีผลทาให้ได้ตารับ emulsion ที่คงตัว จากนั้นพัฒนาตารับต่อโดยปรับปริมาณ SLES เพื่อเพิ่มปริมาณฟองและความสามารถในการชะล้าง พบว่า ปริมาณของ SLES และ Carbopol® 940 ที่ใช้ในตารับ ส่งผลต่อการแยกชั้นและความคงตัว โดย Carbopol® 940 ช่วยให้ตารับมีความคงตัวมากยิ่งขึ้น ในขณะที่ SLES จะรบกวนการทางานของ Carbopol® 940 ทั้งนี้เมื่อทาการศึกษาแล้วพบว่า emulsifier 1%, SLES 20% และ carbopol® 940 0.9% ให้ตารับน้ามันทาความสะอาดผิวกายที่คงตัว ไม่เกิดการแยกชั้น มีลักษณะทางกายภาพที่ดี มีฟองและมีคุณสมบัติในการทาความสะอาด
abstract:
The objective of this special project was to develop body cleansing oil product from Jatropha curcas. The study began with the oil extraction using hydraulic press. The seed kernel, of which the toxic substances (phorbol esters and curcin) were deprived, was used for oil extraction. The Jatropha oil was examined for the physicochemical property. The antibacterial property using micro-broth dilution and then Polysorbate 80 and sorbitan monooleate were selected to establish required HLB and the suitable amount of emulsifier for 20% w/w Jatropha oil o/w emulsion. In addition, the suitable amount of sodium lauryl ether sulfate (SLES) which was surfactant and foaming agent was found. Thin-layer chromatogram of Jatropha oil showed the presence of linoleic acid and β-sitosterol. Antibacterial activity of Staphylococcus aureus had the minimum inhibitory concentration (MIC) value of 225 μL/mL Jatropha oil and minimal bactericidal concentration (MBC) value of 450 μL/mL. The estimated required HLB of 20% w/w Jatropha oil was 11.8 (polysorbate 80 : sorbitan monooleate = 7:3) and the suitable amount of emulsifier was 1% w/w producing the stable emulsion. The stability of emulsion increased when the carbopol® 940 was added but decrease when SLES was added, The formulation with 20% w/w of SLES and 0.9%w/w of carbopol® 940 produced stable o/w emulsion which had a good physical appearance, without creaming, formed the bubbles and cleansing property.
.