การศึกษาฤทธิ์ต้านการชักของสารสกัดลำดับส่วนจากเมล็ดชุมเห็ดไทย

โดย: รัตนา ตรีรัตน์ตระกูล,สุมนมาลัย ธะกอง    ปีการศึกษา: 2540    กลุ่มที่: 23

อาจารย์ที่ปรึกษา: นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ , รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
สารสกัดด้วยน้ำ (F001) ที่ได้จากเมล็ดชุมเห็ดไทยมีฤทธิ์ต้านการชักในหนูถีบจักรโดยใช้วิธี Pentylenetetrazol latency test (PTZ latency test) ในขนาดยา 1000 มก./น้ำหนักตัว1 กก. ทำให้F001 บริสุทธิ์ขึ้นโดยการสกัดลำดับส่วนด้วยตัวทำละลายต่างๆ กัน ได้แก่ dichloromethane, butanol, methanol ทำให้ได้สารสกัดลำดับส่วน F002, F003, F004 ตามลำดับ และสารสกัดส่วนที่เหลือ (F005) สารสกัด F005 เมื่อนำไปตกตะกอนด้วยเอทิลแอลกอฮอล์ จะได้ตะกอน (F006) และสารละลายซึ่งเมื่อทำให้แห้งโดยวิธี lyophilization จะได้สารสกัด F007 นำสารสกัดลำดับส่วนทั้งหมดไปทดสอบฤทธิ์ต้านการชัก พบว่าสารสกัดลำดับส่วน F001 และ F004 -F007 มีฤทธิ์ต้านการชักได้ดีพอๆ กัน ส่วนสารสกัด F003 มีฤทธิ์ไม่ดีนักและ F002 ไม่มีฤทธิ์ต้านการชักในขนาดยาเดียวกัน จากการศึกษาสารประกอบทางเคมีโดยใช้วิธี thin-layer chromatography และ proton nuclear magnetic resonance พบว่า สารประกอบเคมีในสารสกัด F001, F004, F005, F006 และ F007 เป็นสารกลุ่ม polysaccharides ในขณะที่ สารสกัด F002 และ F003 เป็นสารกลุ่ม unsaturated compound
abstract:
The water extract (F001) from Chum-het-thai seed, it showed the active antiepileptic activity in mice by using Pentylenetetrazol latency test (PTZ latency test) at the dose of 1000 mg/kg. F001 was further purified by fractionated extraction with various solvents namely dichloromethane, butanol and methanol. These extraction yield F002, F003, F004 and respectively with the residue (F005). F005 was precipitated by ethylalcohol and the precipitate was called F006 and the filtrate which was dried by lyopilization was named F007. All of these fractions were tested for antiepileptic activity. F001, F004, F005, F006 and F007 had equipoten antiepileptic effects, whereas F003 was far less potent and F002 was showed that it has no effect. The result from the thin-layer chromatography and proton nuclear magnetic resonance revealed that the chemical constituents in F001, F004, F005, F006 and F007 were polysaccharides and F002 and F003 were unsaturated compounds.
.