ฤทธิ์ลดการอักเสบของสารสกัดเถาวัลย์เปรียง ในหนูแรท

โดย: นางสาวรวิพร วิบูลย์กิจวรกุล, นางสาวณัฏฐภัทร์ภร เพ็งโตวงษ์    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 24

อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , สุจิตรา ทองประดิษฐ์โชติ , ยุวดี วงษ์กระจ่าง , นิศารัตน์ ศิริวัฒนาเมธานนท์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: เถาวัลย์เปรียง, ฤทธิ์ลดการอักเสบ, หนูแรท, Genistein, Derris scandens, anti-inflamation, rat, Genistein
บทคัดย่อ:
เถาวัลย์เปรียงเป็นสมุนไพรที่มีใช้มาเป็นเวลานานสาหรับแก้ปวดเมื่อยทั้งรูปแบบยากินและทาภายนอก การศึกษาฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของสารสกัดแอลกอฮอล์และน้าของเถาวัลย์เปรียงพบว่ามีฤทธิ์ลดอาการอักเสบเมื่อให้โดยการกิน แต่การใช้พื้นบ้านได้นาเถาวัลย์เปรียงมาทอดในน้ามันมะพร้าว ใช้ทานวดบริเวณที่มีอาการ โดยยังไม่มีการพิสูจน์ฤทธิ์ยืนยัน ดังนั้นโครงการพิเศษนี้จึงจัดทาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ลดอาการอักเสบของเถาวัลย์เปรียงโดยการทาภายนอก โดยเตรียมสารสกัดด้วยตัวทาละลายต่างๆ ได้แก่ เฮกเซน[ก], 80% เอทานอล[ข], 50% เอทานอล[ค] และน้า[ง] ทดสอบฤทธิ์ต้านการอักเสบในหูของหนูแรทที่เหนี่ยวนาให้อักเสบด้วย Ethyl-phenlypropiolate (EPP) และศึกษาปริมาณ genistein ในสารสกัด ด้วยวิธี Densitometry ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดด้วย 50% เอทานอลและสารสกัดด้วยน้า ขนาด 0.5, 1 และ 2 มก./หู มีฤทธิ์ลดการบวมได้อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติ และสารสกัดขนาด 2 มก./หู สามารถลดอาการบวมได้ดีที่สุด โดยสารสกัดด้วย 50% เอทานอลขนาด 2 มก./หู สามารถลดการบวมของใบหูหนูแรทเท่ากับ 41.35 ± 6.43%, 61.04 ± 3.73%, 71.25 ± 2.42% และ 85.65 ± 1.66% ในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 และ 4 หลังทาสารสกัดตามลาดับ และสารสกัดด้วยน้าขนาด 2 มก./หู สามารถลดการบวมของใบหูหนูแรทเท่ากับ 42.54 ± 0.76%, 74.49 ± 2.25%, 80.61 ± 1.45% และ 84.80 ± 1.85% ในชั่วโมงที่ 1, 2, 3 และ 4 หลังทาสารสกัดตามลาดับ สารสกัดด้วยเฮกเซนและสารสกัดด้วย 80% เอทานอลไม่มีฤทธิ์ลดอาการอักเสบ และพบว่าปริมาณสาร genistein ในสารสกัดด้วยน้าและสารสกัดด้วย 50% เอทานอลมากกว่าสารสกัดด้วย 80% เอทานอลและสารสกัดด้วยเฮกเซน (53.30, 26.26 , 17.32 และ 13.92% โดยน้าหนัก ตามลาดับ) ซึ่งสอดคล้องกับผลของฤทธิ์ต้านอาการอักเสบ
abstract:
Derris scandens has been used for a long time to relieve muscle pain by taking orally or external application. Previous pharmacological studies showed the antiinflammatory effect of alcoholic and water extracts of this plant when administered orally. But in folkloric medicine, the stem extract prepared by deep frying in coconut oil is used topically. Up till now there is no evidence to support its efficacy. This project aimed to study on the antiinflammatory activity of Derris scandens extract applied topically using Ethyl-phenlypropiolate (EPP) induced ear edema in rat. Active substance is also determined. The extracts were prepared using various solvent e.g. hexane [A], 80% ethanol [B], 50% ethanol [C], and water [D]. The result showed that 50% ethanol extract and water extract at dose 0.5,1 and 2 mg/ear significantly reduced rat‘s ear edema and the highest dose demonstrated the best reduction of inflammation. The percent inhibition of 50% ethanol extract at the dose 2 mg/ear was 41.35 ± 6.43%, 61.04 ± 3.73%, 71.25 ± 2.42% and 85.65 ± 1.66% at 1, 2, 3, and 4 hour after application, respectively. And those of water extract at the maximum dose were 42.54 ± 0.76%, 74.49 ± 2.25%, 80.61 ± 1.45% and 84.80 ± 1.85% at 1, 2, 3 and 4 hour, respectively. Whereas, extract A and extract B had no anti-inflammatory activity. The genistein content in extract D and extract C were higher than extract B and extract A (53.30, 26.26, 17.32 and 13.92% w/w respectively) which conformed to their anti-inflammatory activity.
.