การพัฒนาสูตรตารับ PLO gel ของสารสกัดไพล

โดย: นางสาวพิชชานันท์ ศรีรัตน์ธนกิจ, นางสาวพิชชาภา พูตระกูล    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 24

อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , นิศารัตน์ ศิริวัฒนาเมธานนท์ , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , อัญชลี จินตพัฒนกิจ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ไพล,Pluronic Lecithinorganogel(PLO gel),พอลอกซาเมอร์407,เลซิตินจากถั่วเหลือง,น้ามันมะพร้าว,น้ามันปาล์ม, Zingiber cassumunar,Pluronic Lecithin organogel(PLO gel),Poloxamer407,Soy Lecithin,coconut oil,palm oil
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตารับเจลน้ามันสารสกัดไพล ที่ใช้วิธีการสกัดโดยใช้วิธีการทอดในน้ามันมะพร้าว และน้ามันปาล์ม สารสกัดที่ได้ทาการตรวจสอบปริมาณสารสาคัญด้วยวิธี UV-Vis spectrophotometry โดยใช้เคอร์คิวมินเป็นสารมาตรฐาน การพัฒนาเจลน้ามันสารสกัดไพลจะใช้รูปแบบตารับที่เป็น Poloxamer Lecithin Organogel (PLO gel) ซึ่งเป็นตารับยาใช้สาหรับภายนอกชนิดหนึ่ง ที่อยู่ในรูปแบบ Microemulsionโดยมี Poloxamer 407 เป็นสารก่อเจล และ Lecithin ทาหน้าที่เป็นสารช่วยการซึมของยาผ่านผิวหนัง ประเมินคุณสมบัติทางกายภาพเบื้องต้นของเจลน้ามันในด้านความหนืด ลักษณะทางกายภาพ ความเหนอะ และความสามารถในการล้างออก ผลการศึกษาพบว่าสารสกัดน้ามันไพลจากการทอดด้วยน้ามันมะพร้าวมีปริมาณเคอร์คิวมินเท่ากับเท่ากับ 31.19 มิลลิกรัม/100มิลลิลิตร ซึ่งมีปริมาณมากกว่าน้ามันไพลที่ได้จากการทอดด้วยน้ามันปาล์ม และความเข้มข้นของน้ามันสูงสุดที่สามารถเติมในตารับได้คือ 25%w/w ซึ่งจะสามารถแทนที่ด้วยน้ามันไพล จากการพัฒนาสูตรตารับพบว่าการเพิ่มสัดส่วนของ Soy Lecithin ในตารับไม่ทาให้สูตรตารับมีลักษณะทางกายภาพที่ดีขึ้น สัดส่วนของ Poloxamer 407 ที่ทาให้สูตรตารับมีลักษณะทางกายภาพที่เหมาะสม สามารถนาไปพัฒนาต่อได้คือที่ 12.5%w/w จากการศึกษาความคงตัวของตารับพบว่าสูตรตารับยังไม่คงตัวต่อทั้งที่สภาวะ 4 , 30 และ 40 องศาเซลเซียสหลังจากทาการศึกษาเป็นเวลา 8 สัปดาห์ เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปความหนืดของตารับลดลง ร่วมกับลักษณะทางกายภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
abstract:
This special project aimed to develop oleogel of Zingibercassumunar(Plai) rhizome extract. The extracts of Plai were prepared by frying the rhizome in coconut oil or palm oil. The extracts were analyzed by UV-Vis spectrophotometric method using curcumin as the reference standard .Oleogel of Plai extract were developed using PLO gel a microemulsion topical dosage form. PLO gel contains Poloxamer 407 as a gelling agent and Soy Lecithin as a skin permeation enhancer. Their physical properties such as viscosity , washabilty and stickywere evaluated. The Plai oil extracted by coconut oil contained 31.19 mg/100mL of curcuminoids which greater than the oil extracted by palm oil. Maximum plai oil concentration that could incorporate in formulation was 25%w/w. Increasing Soy lecithin proportion was not improve physical properties and the formulation containing 12.5%w/w of Poloxamer 407 provided appropriate physical properties,then it was selected to investigate the stability.It was found that this formula was not stable in 4 , 30 and 40 Celsius condition which demonstrate byviscosity reduction and changing of other physical properties.
.