การพัฒนายาเม็ดออกฤทธิ์นานอินโดเมธาซิน โดเทคนิคการทำแกรนูลเปียก

โดย: จารุนีย์ ศักดิ์วนิชล,นพรัตน์ เบญจพลพงศ์    ปีการศึกษา: 2545    กลุ่มที่: 25

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมบูรณ์ เจตลีลา , ฤดี เสาวคนธ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

Keyword: อินโดเมธาซิน, ไฮดรอกซีโพรพิลเมธิลเซลลูโลส, Indomethacin, Hydroxypropyl methylcellulose
บทคัดย่อ:
การศึกษาอิทธิพลของปริมาณสารช่วยยึดเกาะ Hydroxypropyl methylcellulose คือ Methocel® E5 และ E15 และชนิดของสารเพิ่มปริมาณ คือ dibasic calcium phosphate dihydrate และ lactose ต่ออัตราการปลดปล่อยอินโดเมธาซินออกจากเม็ดยา ศึกษาการปลดปล่อยตัวยาอินโดเมธาซินโดยใช้เครื่องทดสอบการละลายapparatus 2 (USP 24) การประเมินข้อมูลทางสถิติของอัตราเร็วของอินโดเมธาซินจากตำรับต่างๆ โดยใช้ Analysis of variance (ANOVA)ที่ p<0.01 และการจัดอันดับอัตราเร็วของตำรับต่างๆ ด้วย Multiple Comparison โดยเลือกใช้ Least Significant Different Procedure (LSD) ที่ p<0.01, 2-tailedเมื่อใช้ lactose ซึ่งละลายน้ำได้ดีเป็นสารเพิ่มปริมาณ พบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของ Methocel® มีผลหน่วงอัตราเร็วการปลดปล่อยอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถจัดอันดับอัตราเร็วในการปลดปล่อยอินโดเมธาซินได้ดังนี้ 1% E5 >1% E15 >3% E5~3% E15~5% E5~5% E15 และเมื่อใช้ dibasic calcium phosphate dihydrate ซึ่งไม่ละลายน้ำเป็นสารเพิ่มปริมาณ พบว่า การเพิ่มความเข้มข้นของ Methocel® มีผลหน่วงอัตราเร็วการปลดปล่อยอย่างมีนัยสำคัญ และสามารถจัดอันดับอัตราเร็วในการปลดปล่อยอินโดเมธาซินได้ดังนี้ 1% E5 >3% E5~1% E15 >5% E5~3% E15~5% E15 อย่างไรก็ตามอัตราเร็วในการปลดปล่อยตัวยาจากระบบที่มีสารเพิ่มปริมาณที่ไม่ละลายน้ำ จะน้อยกว่าจากระบบที่มีสารเพิ่มปริมาณที่ละลายน้ำอย่างเห็นได้ชัดเจน
abstract:
The effects of hydroxypropyl methylcellulose, namely Methocel® E5 or E15 concentration and types of filler, namely dibasic calcium phosphate dihydrate or lactose on the release rate of indomethacin from tablets were studied using USP 24 dissolution apparatus 2. An analysis of variance (ANOVA) and a multiple comparison using least significant difference procedure (LSD) were used for comparing release data of all formulations.For formulations of soluble system using lactose, it was found that the release of indomethacin was significantly decreased by the increased concentration of each Methocel®(p<0.01). The release rate of indomethacin could be ranked according to the retarding ability of Methocel® as follows : 1% E5 >1% E15 >3% E5 ≃3% E15 ≃5% E5 ≃5% E15 (p< 0.01, 2-tailed).Similarly, for formulations of insoluble system using dibasic calcium phosphate dihydrate, it was found that the release of indomethacin was significantly decreased by the increased concentration of each Methocel® (p<0.01). The release rate of indomethacin could be ranked according to the retarding ability of Methocel® as follows : 1% E5 >3% E5 ≃1% E15 >5% E5 ≃3% E15 ≃5% E15 (p< 0.01, 2-tailed). However, the insoluble filler could drastically lower the release rate of the drug when compared with the soluble filler.
.