การพัฒนายาพ่นคอจากตารับยาไทย “ยาแสงหมึก”

โดย: นางสาวทิตยดา พณนันท์,นางสาวรติรัตน์ รอดอนันต์    ปีการศึกษา: 2558    กลุ่มที่: 26

อาจารย์ที่ปรึกษา: รุ่งระวี เต็มศิริฤกษ์กุล , สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร , จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ยาแสงหมึก, ฤทธิ์ต้านจุลชีพ, วิธี Microbroth dilution, Ya-Saeng-Muerk, antimicrobial activity, Microbroth dilution
บทคัดย่อ:
โครงการพิเศษนี้จัดทาขึ้นเพื่อพัฒนายาพ่นคอจากตารับยาแสงหมึกเพื่อให้มีความสะดวกในการใช้ โครงการนี้จะได้อนุรักษ์ตารับยาพื้นบ้านที่มีการใช้น้อยลงเพราะวิธีการใช้ยาที่ยาก ตารับยาแสงหมึกประกอบด้วยสมุนไพร 11 ชนิด ได้แก่ กะเพราแดง, กานพลู, พิมเสน, สันพร้าหอม, จันทน์เทศ, จันทน์ชะมด, ดอกจันทน์, ลูกจันทน์, ลูกกระวาน, หอมแดงและหมึกหอม นาสมุนไพรแห้งทุกชนิด บดรวมเป็นผง แล้วแบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกสกัดด้วยน้าอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสและส่วนที่สองสกัดด้วยเอทานอล 50% สารสกัดที่ได้ทาเป็นผงแห้งแล้วทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพโดยวิธี broth microdilution. สารสกัดด้วยเอทานอล 50% สามารถยับยั้งเชื้อได้ 4 ชนิด ได้แก่ S. pyrogenes, Streptococcus aureus ATCC 25923, Methicillin-resistant Staphylococcus aureus 20654 และ Bacillus subtilis ATCC 6633 ดังนั้น จึงนาสารสกัดที่ออกฤทธิ์มาละลายด้วย Propylene glycol(PG) 100, 90, 80 และ 70% ทดสอบฤทธิ์ต้านจุลชีพกับเชื้อ 4 ชนิดดังกล่าว เป็นเวลา 14 วัน ทั้ง 4 ตารับมีประสิทธิภาพในการยับยั้งเชื้อดีที่สุดในวันแรก แต่ฤทธิ์ลดลงในวันที่ 7 และไม่มีฤทธิ์เลยเมื่อเก็บไว้ 14 วัน นอกจากนี้พบว่ามีตารับ PG 100% ตกตะกอนในวันที่ 7 จึงต้องปรับปรุงด้านความคงตัวของสารละลายเหล่านี้ให้ดีขึ้นเพื่อการพัฒนาตารับยาพ่นคอต่อไป
abstract:
The aim of this special project is to develop a mouth spray from Ya Saeng Muerk recipe in order to provide a modern dosage form convenient to use. This recipe is composed of 11 components which are Holy basil, Clove, Patchouli, Sanprahom, Sandalwood, Kalamet, Mace, Nutmeg, Siam cardamon, Hom Deang and Muerk Hom. The components of recipe were poverized and mixed thoroughly. The powder was divided into 2 parts, a part was extracted using 50ºc water and the other was extracted with 50%ethanol Broth microdilution was used to investigate antibacterial activity of both extract. 50% ethanol extract demonstrated growth inhibitory activity against S. pyrogenes, Streptococcus aureus ATCC 25923, Methicillin-resistant Staphylococcus aureus 20654 and Bacillus subtilis ATCC 6633. So the formulations of the active extract were prepared using 100, 90, 80 or 70% propylene glycol in water as diluents. All formulations showed the antimicrobial activity at the first day of preparation, but the activity decreased at day 7 and showed no activity after keeping for 14 days. Besides, the formula using 100% PG was found precipitate in day 7. The stability of these solution and development of good product should be further studied.
.