การพัฒนาตำรับแชมพูสมุนไพรขจัดรังแค

โดย: พลอยพรรณ โชติปทุมวรรณ, ศศิกานต์ ปัญญาดี    ปีการศึกษา: 2552    กลุ่มที่: 27

อาจารย์ที่ปรึกษา: วันดี กฤษณพันธ์ , แม้นสรวง วุฒิอุดมเลิศ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: แชมพูขจัดรังแค, รังแค, น้ำมันตะไคร้, Malassezia furfur, antidandruff shampoo, dandruff, lemongrass oil, Malassezia furfur
บทคัดย่อ:
การทดลองนี้เป็นโครงการต่อเนื่องจากโครงการพิเศษปี 2551 เรื่องแชมพูสมุนไพรขจัดรังแค ซึ่งพบว่าน้ำมันตะไคร้มีฤทธิ์ในการยับยั้งเชื้อ Malassezia furfur ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเกิดรังแคได้ดี แต่ยังพบปัญหาด้านความคงตัวของตำรับแชมพู ดังนั้นการทดลองในโครงการนี้ จึงมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตำรับแชมพูดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและความคงตัวที่ดี เพื่อสามารถนำไปใช้ผลิตในเชิงอุตสาหกรรมเพื่อการค้าได้ต่อไป การทดลองนี้ได้ทดสอบลักษณะทาง Thin layer chromatography (TLC) ของน้ำมันตะไคร้เทียบกับสารมาตรฐาน citral และพบว่าน้ำมันตะไคร้มีสารที่มีค่าRf 0.38 ซึ่งเท่ากับสารมาตรฐานดังกล่าว และได้ทำการหาค่าMIC ซึ่งเป็นค่าความเข้มข้นของน้ำมันตะไคร้น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ M. furfur ได้โดยวิธี broth dilution ซึ่งพบว่ามีค่าเท่ากับ 6.3 µl/ml ต่อมาได้มีการตั้งตำรับแชมพูน้ำมันตะไคร้ที่ความเข้มข้นต่างๆ ได้แก่ 1%, 2%, 3%, 4% และ 5% โดยน้ำหนัก รวมทั้งมีการพัฒนาตำรับแชมพูพื้นให้ได้ตำรับแชมพูน้ำมันตะไคร้ที่มีความคงตัวที่ดี โดยมีการทดสอบแชมพูน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้นต่างๆ เมื่อเก็บที่สภาวะปกติ (28-30 องศาเซลเซียส) และสภาวะเร่งที่อุณหภูมิ 45 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่าตำรับแชมพูน้ำมันตะไคร้ความเข้มข้น 2% โดยน้ำหนัก มีความคงตัวดีที่สุด มีลักษณะทางกายภาพที่ดี สีเหลือง ใส ไม่เกิดการแยกชั้น และมีประสิทธิภาพที่ดีในการยับยั้งเชื้อ M. furfur โดยมีค่าMICของตำรับแชมพูที่เตรียมใหม่, ตำรับที่เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง (28-30 องศาเซลเซียส) และที่สภาวะเร่ง (45 องศาเซลเซียส) เป็นระยะเวลา 6 สัปดาห์เท่ากับ 75, 75 และ18.75 µl/ml ตามลำดับ
abstract:
This experiment extended from the 2008 special project “Antidandruff herbal shampoo” which resulted that lemongrass oil is potential to inhibit Malassezia furfur, a main fungus causing dandruff problem in human. However, the herbal shampoo had a stability problem. Thus, this special project focused on improving the stability and efficacy of the herbal shampoo for commercial application. The lemongrass oil was analyzed by thin layer chromatography (TLC), compared with citral reference standard. The results showed that the oil contains one main spot with the same Rf value (0.38) of citral. The minimal inhibitory concentration (MIC), which is the minimum concentration that could inhibit M. furfur, of lemongrass oil was determined by broth dilution method. The results showed that the MIC of the oil was 6.3 µl/ml. To determine a suitable concentration of lemongrass oil incorporated into the developed shampoo bases, various concentrations of lemongrass oil in the shampoo, i.e. 1, 2, 3, 4 and 5% w/w were formulated. The stability test was determined by storage the shampoo formulae at room temperature (28-30 OC) and at accelerated temperature (45 OC) for 6 weeks. The results showed that the 2% w/w lemongrass oil shampoo gave the best stability with good appearance, homogenous, clear yellow color, and still had the good inhibitory activity against M. furfur. The MICs of the freshly prepared shampoo , the shampoo kept at room temperature (28-30 OC) and at accelerated temperature (45 OC) for 6 weeks were 75,75 and 18.75 µl/ml, respectively.
.