การพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้านออกซิเดชั่นจากดอกกุหลาบ

โดย: นายวรวัฒน์ ใจอ้าย, นางสาวสิริวิมล สังข์หล่อ    ปีการศึกษา: 2557    กลุ่มที่: 27

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปองทิพย์ สิทธิสาร , ปิยนุช โรจน์สง่า    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: ดอกกุหลาบ, สารสกัดนํ้าต้มกลีบดอกกุหลาบ, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่น, ลิโปโซม, ครีมสารสกัดนํ้าต้มกลีบดอกกุหลาบ, Rose, Rosa chinensis Jacq water extract of rose petals , Antioxidant, Liposome, Water extract of rose petals extract cream
บทคัดย่อ:
สารสกัดนํ้าต้มของกลีบดอกกุหลาบถูกนำไปทำให้แห้งด้วยวิธีที่แตกต่างกัน คือ freeze drying, spray drying และการระเหยแห้งบน water bath มีการควบคุมคุณภาพของสารสกัดโดยการศึกษาลักษณะทางสเปคโตรสโคปีโดยวิธี infrared(IR) spectroscopy พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิดมีลักษณะ IR fingerprint ที่คล้ายคลึงกันโดยแสดงพีคที่ตำแหน่งเฉพาะเจาะจง 6 ตำแหน่ง นอกจากนี้เมื่อศึกษาลักษณะทางพฤกษเคมีโดยวิธี thin layer chromatography (TLC) ตรวจสอบโดยนํ้ายาเฉพาะเจาะจง พบว่าสารสกัดทั้ง 3 ชนิด มี TLC fingerprint ที่คล้ายคลึงกันโดยมีแถบสารที่ตรงกับสารมาตรฐาน gallic acid เมื่อทำการวิเคราะห์ปริมาณฟีโนลิกรวมในสารสกัดโดยวิธี วิธี Folin-Ciocalteu พบว่า ปริมาณฟีโนลิกรวมในสารสกัดอยู่ในช่วง 2.4-2.6 mg% gallic acid equivalent (GAE) และมีปริมาณฟลาโวนอยด์รวม อยู่ในช่วง 0.16-0.39 mg% quercetin equivalent (QE) เมื่อทดสอบโดยวิธี aluminium chloride เมื่อทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นด้วยวิธี 1,1–diphenyl–2–picryhydrazyl (DPPH) scavenging assay พบว่าสารสกัดทุกชนิดแสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชั่นได้แรงเทียบเท่ากันคือ มีค่า EC50 เท่ากับ 8 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตามพบว่าวิธี freeze drying ให้สารสกัดที่มีปริมาณสูงที่สุดคือ ร้อยละ 5.64 โดยนํ้าหนักและมีลักษณะทางกายภาพที่ดี จึงถูกเลือกเพื่อพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ครีมสารสกัดนํ้าต้มกลีบดอกกุหลาบ ทั้งแบบธรรมดา และแบบครีมสารสกัดนํ้าต้มกลีบดอกกุหลาบรูปแบบลิโปโซมที่เตรียมด้วยวิธี thin-film hydration method มีขนาดอนุภาคประมาณ 700 d.นาโนเมตร และมีค่า zeta potential เท่ากับ -60.8mV เมื่อนำมาครีมสารสกัดนํ้าต้มกลีบดอกกุหลาบทั้งสองชนิดมาเปรียบเทียบกัน พบว่าไม่มีความแตกต่างกันของลักษณะทางกายภาพของครีมทั้งสองชนิด ทั้งเมื่อเตรียมใหม่ และเมื่อทดสอบความคงตัวโดยการตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 1 เดือน
abstract:
Decoction extracts of rose petals were dried using 3 different methods, freeze drying, spray drying and evaporation on a water bath. Quality control of the extracts was carried out by determination of spectroscopic characteristics by infrared (IR) spectroscopy. It was found that all decoction extracts of rose petals showed similar IR fingerprints with major 6 peaks at specific positions. In addition, phytochemical analysis by thin layer chromatography (TLC) with specific reagents was also conducted. The results revealed that all extracts promoted similar TLC fingerprints with the chromatographic band corresponded to standard gallic acid. Quantitative analysis of total phenolic content by Folin-Ciocalteu Method found that total phenolic contents in the extract were in the range of 2.4-2.6mg% gallic acid equivalent (GAE) while total flavonoids contents were in the range of 0.16-0.39 mg% quercetin equivalent (QE) tested by Aluminium chloride method. Antioxidant activity determined by 1,1-diphenyl-2-picryhydrazyl (DPPH) scavenging assay showed that all extracts equally exhibited strong antioxidant effect with EC50 values of 8 mg/mL. However, freeze drying method promoted the extract with the highest yield of 5.64% w/w with preferable physical appearance. Therefore, this extract was selected for development of creams with rose petals decoction extract both normal formulation and the cream with rose petals decoction extract liposomes prepared by thin-film hydration method which the particle size of 700-d. nm and a zeta potential of -60.8 mV. Comparison between 2 types of cream with rose petal decoction extract, it was found that there was no difference in physical characteristic of both cream freshly prepared and after stability test by storing at room temperature for 1 month.
.