พฤกษเคมีและฤทธิ์ต้านออกซิเดชันของสารสกัดที่ได้จากวัตถุดิบเมล็ดและต้นอ่อนจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชของเพกา

โดย: นายนรุตม์ ผลวัฒนะ, นายพริษฐ์ เพชรประดับ    ปีการศึกษา: 2559    กลุ่มที่: 27

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปองทิพย์ สิทธิสาร , ปิยนุช โรจน์สง่า , สมนึก บุญสุภา    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

Keyword: เพกา, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, พฤกษเคมี, ฤทธิ์ต้านออกซิเดชัน, ฟีนอลิกรวม, ฟลาโวนอยด์รวม, Oroxylum indicum (L. Vent.), Pheka, Plant tissue culture, Phytochemistry, Antioxidant activity, Total phenolic, Total flavonoid
บทคัดย่อ:
สารสกัดเอทานอลเมล็ดเพกาถูกเตรียมจากตัวอย่างเมล็ดที่ระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกันที่ได้จากเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชและจากวัตถุดิบพืช สารสกัดทั้งหมดถูกนาไปศึกษาทางพฤกษเคมี และทดสอบฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในหลอดทดลอง รวมถึงวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์ จากการศึกษาทางพฤกษเคมีโดยใช้เทคนิครงคเลขผิวบาง (thin layer chromatography, TLC) พบว่าสารทั้งหมดประกอบด้วยสารกลุ่มฟีนอลิกและฟลาโวนอยด์ โดยสารสกัดส่วนใหญ่ยกเว้นสารสกัดราก มีแถบสารตรงกับสารมาตรฐาน chrysin การศึกษาฤทธิ์ต้านออกซิเดชันโดยวิธี DPPH assay ของสารสกัดเมล็ดเพกาที่ระยะการเจริญเติบโตที่แตกต่างกัน พบว่าสารสกัดส่วนใหญ่แสดงฤทธิ์ต้านออกซิเดชันในหลอดทดลอง สารสกัดเมล็ดเพกาที่ระยะการเจริญเติบโต 7 วัน มีฤทธิ์ต้านออกซิเดชันมากที่สุด โดยมีค่า EC50 เท่ากับ 68.96 ± 0.36 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร การวิเคราะห์ปริมาณสารสาคัญในสารสกัดเมล็ดเพกาโดยใช้วิธีการทางสเปคโตรโฟโตเมตรีพบว่า สารสกัดเมล็ดเพกาที่ระยะการเจริญเติบโต 5 วัน มีปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมมากที่สุด คือ 7.79 ± 1.02 % gallic acid equivalent (GAE) ในสารสกัด และสารสกัดจากวัตถุดิบเมล็ดเพกามีปริมาณฟลาโวนอยด์รวมมากที่สุด คือ 5.31 ± 0.73 % quercetin equivalent (QE) ในสารสกัด ฤทธิ์ในการต้านออกซิเดชันในหลอดทดลองของสารสกัดเมล็ดเพกา มีความสัมพันธ์ปานกลางกับปริมาณสารประกอบฟีนอลิกรวมและปริมาณฟลาโวนอยด์รวม (สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ มากกว่า 0.8) การศึกษานี้เป็นแนวทางในการพัฒนาวัตถุดิบจากเมล็ดเพกา เพื่อการใช้ประโยชน์ทางการแพทย์และเภสัชกรรมในอนาคต
abstract:
Ethanolic extracts of Oroxylum indicum seeds were prepared from seed samples at different growth stages obtained from plant tissue culture technique and plant raw materials. All extracts were phytochemically studied and determined for in vitro antioxidant activity and quantitative analyzed for total phenolic and total flavonoid contents. From phytochemical study test by thin layer chromatography (TLC), it was found that all extracts contained some phenolics and flavonoids. Most extracts, except the root extracts promoted chromatographic bands corresponded to standard chyrsin. Antioxidant activity determination by DPPH assay of extracts from seed samples at different growth stages revealed that most extracts promoted in vitro antioxidant effects. The extract from the seeds at day 7th growth stage exhibited the highest antioxidant effect with EC50 value of 68.96 ± 0.36 μg/ml. Quantitative analysis of phytochemical contents in O. indicum seed extracts by spectrophotometric methods showed that extract from the seeds at day 5th growth stage contained the highest total phenolic content of 7.79 ± 1.02 % gallic acid equivalent (GAE) in extract while the extract from seed raw material contained the highest flavonoids content of 5.31 ± 0.73 % quercetin equivalent (QE). In vitro antioxidant activities of O. indicum seed extracts have moderate correlation to total phenolic or total flavonoid contents (correlation coefficient higher than 0.8). This study is guideline for development of raw materials from the seeds of O. indicum for medicinal and pharmaceutical utilization in the future.
.